JMARTรายแรกขายICO ระดมทุน660ล้าน โทเคนละ6.6บาท ใช้เงินพัฒนาสินเชื่อดิจิตอล

30 ม.ค. 2561 | 09:49 น.
JMART ส่งบริษัทลูก “ JVC” ระดมทุน ICO 660 ล้านบาท เสนอขายโทเคนละ 6.60 บาท หรือ 100 ล้านเหรียญ รอบพรีเซล 14-28 ก.พ.นี้ นำเงินใช้พัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิตอล นำร่องให้“เจฟินเทค” ที่เหลือ 200 ล้านเหรียญรองรับแผนพัฒนา DDLP ปี 2562 “อดิศักดิ์ “ ลั่นมั่นใจคุณภาพ ICO พร้อมเดินตามเกณฑ์ภาครัฐ

Jmart02 บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) เป็นบริษัทจดทะเบียนรายแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ที่ให้บริษัทเจเวนเจอร์ส จำกัด (JVC )ซึ่งเป็นบริษัทลูก ระดมทุนต่อในรูปแบบเดินหน้าระดมทุนด้วยดิจิตอล โทเคน ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (Initial Coin Offering :ICO) โดยการออกเหรียญที่เป็นสกุลเงินดิจิตอล JFin Coin เสนอขายให้กับนักลงทุนที่สนใจ

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART เปิดเผยว่า JVC ซึ่งมี JMART ถือหุ้นสัดส่วน 80% จะขาย JFin Coin ทั้งสิ้น 300 ล้านเหรียญ แต่ในแผนปีนี้จะนำมาทำ ICO เพียง 100 ล้านเหรียญ ที่หน่วยละ 6.60 บาท (ประมาณ 0.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ) คาดว่าจะได้รับเงินระดมทุนประมาณ 660 ล้านบาท

ICO จะเปิดขายพรีเซลส์ วันแรก วันที่ 14-28 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ และเปิดขายรอบ ICO จริง วันที่ 1- 31 มีนาคม 2561

[caption id="attachment_254669" align="aligncenter" width="335"] อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART[/caption]

วัตถุประสงค์ของการระดมทุนครั้งนี้เพื่อนำไปพัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิตอลที่ไม่มีตัวกลางหรือ Decentralized Digital Lendind Platform (DDLP) ช่วงเริ่มต้นจะนำเอามาใช้ในการปล่อยสินเชื่อของบริษัท เจฟินเทค จำกัด ก่อน และมีแผนจะขยายไปยังบริษัทอื่นๆทั้งนอกกลุ่ม และในกลุ่มเจมาร์ท

“การระดมทุนด้วยดิจิตอล โทเคน แบบ ICO อาจเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย แต่ก็มีหลายบริษัทที่เลือกเข้าระดมทุนด้วยวิธีนี้กันในต่างประเทศ เนื่องจากเป็นวิธีระดมทุนที่ไม่มี Dilution ผู้ถือหุ้น JVC จึงไม่ได้รับผลกระทบ และไม่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และเราเองอยากเป็นบริษัทจดทะเบียนบริษัทแรกที่นำเอาเรื่องนี้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ในฐานะที่ JMART เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แม้จะยังไม่มีกฏเกณฑ์ของหน่วยงานผู้กำกับในปัจจุบัน แต่บริษัทยินดีจะปฏิบัติตามหากก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกฏเกณฑ์เมื่อไร เราก็พร้อมจะทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพราะเชื่อว่าการระดมทุน ICO ที่มีอะไรมารองรับน่าจะสร้างความเชื่อมั่นได้ดีกว่า “

ด้านนายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JVC กล่าวเสริมว่า เงินที่ระดมทุนได้ 660 ล้านบาท สัดส่วน 75% จะนำไปใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มรวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยี่เครือข่ายบล็อกเชน พัฒนาการตรวจสอบเครดิตลูกหนี้หรือเครดิตสกอริ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนอีก 20% ระดมทุนเพื่อใช้กับงานวิจัยและแคมเปญทางการตลาด และ 5% จะไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

[caption id="attachment_254666" align="aligncenter" width="335"] ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JVC ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JVC[/caption]

ส่วนที่เหลืออีก 200 ล้านเหรียญนั้นจะเสนอขายในเดือนตุลาคมปี 2562 แยกเป็น 90 ล้านเหรียญ ขายนักลงทุนทั่วไป เพื่อระดมทุนใช้ในอนาคตในการพัฒนา DDLP และผลิตภัณฑ์บริการ ส่วนอีก 70 ล้านเหรียญล็อกเพื่อขายกลุ่ม JMART และอีก 40 ล้านเหรียญเป็นการเสนอขายให้กับทีมสมาชิก ที่ปรึกษาและพันธมิตร

“นักลงทุนที่สนใจซื้อ JFin Coin จะมีเป้าหมายที่นำโทเคนไปใช้ในระบบ และ JFin Coin เองสามารถนำไปซื้อขายในตลาดรองได้ เพราะปัจจุบันได้มีพันธมิตรตลาดรองคือ TDAX ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มซื้อขายเหรียญ Cryptocurrency ชื่อดังในประเทศไทย นอกจากนี้บริษัทจะมีการตรวจสอบความมีตัวตนของผู้เข้าซื้อ JFin Coin ผ่านระบบ KYC ของพันธมิตรอีกด้วย”

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า การระดมทุนด้วยดิจิตอลโทเคน ไม่ใช่ใคร หรือบริษัทใดจะระดมทุน ICO ก็สามารถทำได้ เนื่องจากต้องมองว่าพื้นฐานของบริษัทนั้นมีโอกาสที่จะนำเอาระบบ Blockchain เข้ามาใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจได้อย่างไร ซึ่ง JMART คือกลุ่มบริษัทที่มี Ecosystem ซึ่งเราไม่คิดจะทำ ICO ในประเทศไทยที่เดียวสุดท้าย แต่ยังมองถึงตลาดต่างประเทศด้วย

728x90-03-3-503x62-3-503x62 ต่อคำถามบนสมมุติฐาน worst case scenario นักลงทุนจะขาดทุนหรือไม่ ? เขากล่าวว่าสุดท้ายแล้วหากโครงการนี้ไม่สำเร็จ กล่าวคือการพัฒนาระบบสินเชื่อ บล็อกเซน ไม่เกิด ตนยังมั่นใจว่าเงิน 660 ล้านบาทไม่ได้สูญหายแน่ เพราะการลงทุนในระบบเทคโนโลยี่ เครดิตสกอริ่งเหล่านี้ ยังเป็นมูลค่าที่อยู่กับระบบของเจมาร์ท ซึ่งนักลงทุนที่ถืออย่างไรก็ยังมีมูลค่าและไปได้

e-book