เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

08 ก.พ. 2567 | 03:47 น.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มีการคาดการณ์ แนวโน้มและทิศทางการส่งออกข้าวไทย ปี 2567 จะอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน ลดลงจากปี 2566 ซึ่งไทย ที่ระดับ 8.76 ล้านตัน มีการปรับลดถึง 1 ล้านเกิดอะไรขึ้น ลองมาอัปเดตลาดต่างประเทศ จากกูรูข้าวในสมาคม

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย อัปเดตลาดต่างประเทศ จากกูรูข้าวในสมาคมฯ มีทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก และมีการคาดการณ์ แนวโน้มทิศทางการส่งออกข้าวไทย ปี 2567 จะอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน ลดลงจากปี 2566 ซึ่งไทย ที่ระดับ 8.76 ล้านตัน มีการปรับลดถึง 1 ล้านตัน เกิดอะไรขึ้น  แล้วแต่ละตลาด แต่ละชนิดข้าว  มีนัยสำคัญต่อการส่งออกข้าวไทย

 

  • ไทยแห้วประมูลข้าวอินโดฯ ฟาดหางราคาข้าว ในประเทศปรับตัวลดลง

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

นายวุฒิพล  หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายข้าวแบรนด์ “พนมรุ้ง” กล่าวถึงปีนี้ต้องจับตาประเทศอินเดีย ในช่วงเดือนพฤษภาคม หลังจากมีการเลือกตั้งแล้วรัฐบาลจะกลับมาส่งออกข้าวหรือไม่ ซึ่งหากรัฐบาลอินเดียปรับมีการส่งออกข้าว จะทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังการส่งออกจะเป็นอย่างไรต้องมาดูอีกครั้ง ปัจจุบันอัตราเรื่องเงินเฟ้อของอินเดียยังสูงอยู่ รัฐบาลได้พยายามกดราคาเรื่องอาหาร ข้าว ในประเทศให้ราคาปรับลดลง แต่ตอนนี้ยังกดราคาไม่ลง เพราะฉะนั้นการที่จะกลับมาส่งออกได้แบบเดิมคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง ส่วนอินโดนีเซีย มีประมูลตอนต้นปี ประมาณ 5 แสนตัน ซึ่งผู้ชนะไปเป็นเวียดนาม ประเทศไทยไม่ได้เลยสักตัน ส่งผลทำให้ราคาข้าวสาร 5% ปรับตัวลดลง จากราคา 22,000 บาทต่อตัน ปรับลดลงมา 21,000 บาท/ตัน ได้ส่งผลทำให้ราคาข้าวเปลือกขยับลงมาด้วยเช่นเดียวกัน

 

"ข้าวหอมมะลิ" ยังแกร่ง

นางณิชกุล ลิขสิทธิ์ธนานนท์

 

นางณิชกุล ลิขสิทธิ์ธนานนท์ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ยูนิเวอร์แซล ไรซ์ จำกัด  กล่าวว่า ในปีนี้ราคาข้าวหอมมะลิคาดว่ายังอยู่ในเกณฑ์ราคาดี จากตลาดยังมีความต้องการอยู่เรื่อยๆ คาดว่าราคาจะไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะคู่ค้า อย่างประเทศหลัก อาทิ  สหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน  ก็ยังคงชอบข้าวหอมมะลิไทยอยู่ ซึ่งในตลาดโลกไทยยังแกร่ง เพราะชาวต่างชาติยังชื่นชอบรับประทานข้าวไทยทำให้ข้าวหอมมะลิสามารถยังยืนในตลาดโลกได้ แต่เราก็อดกังวลไม่ได้เพราะข้าวหอมมะลิไม่ได้มีการพัฒนาเลย ส่วนข้าวหอมเวียดนามและข้าวหอมกัมพูชา มีราคาถูกกว่า ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง พอลูกค้าต่างชาติเศรษฐกิจไม่ดีก็จะหันไปเลือกซื้อข้าวที่ราคาถูกกว่าที่มีความคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิ ดังนั้นกลายเป็นว่าทำให้มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

เวียดนามผูกคอนเท็กซ์ฟาร์มิ่งรับซื้อข้าวตรงกัมพูชา

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า เวียดนามไม่เคยส่งออกข้าวได้ ถึง 8.1 ล้าน นับว่าเป็นสถิติสูงสุดประวัติการณ์ จากปกติส่งออกโดยเฉลี่ย 6.5-7 ล้านตัน เวียดนามมีผลผลิตข้าวเปลือกอยู่ที่ 44-45 ล้านตัน สีแปรเป็นข้าวสาร ประมาณ 26-27 ล้านตัน บริโภคภายในประเทศประมาณ 20 ล้านตัน เหลือ ส่งออก ประมาณ 6-7 ล้านตัน

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

“เวียดนามในประเทศปลูกข้าวคุณภาพดี ส่วนใหญ่จะเป็นตระกูลข้าวหอม ข้าวนุ่ม ซึ่งได้ราคาดี ทำให้การปลูกข้าวขาวน้อยลง และอาศัยวิธี ซื้อข้าวเปลือกจากกัมพูชาส่งเข้าไปสีแปรเป็นข้าวสารในเวียดนาม คาด 4 ล้านตัน เพราะฉะนั้นเมื่อคำนวณเป็นข้าวสาร ประมาณ 2 ล้านตัน และนอกจากนี้ยังมีซื้อข้าวนึ่งจากอินเดียด้วย เพื่อเป็นอาหารสัตว์ จำนวนหลักแสนตัน จะแสดงให้เห็นว่าศักยภาพในการส่งออกของเวียดนามในปัจจุบันอาจจะไม่ด้อยกว่าประเทศไทยแล้ว”

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

นายชูเกียรติกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการค้าของเวียดนามเข้าไปทำแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่งในกัมพูชา ทั้งข้าวหอมและข้าวขาว เพราะมีพื้นที่ติดกัน และการขนส่งถูกมากใช้เรือโป๊ะแบบมีเครื่องยนต์ ความจุ 400-500 ตัน  ล่องไปตามแม่น้ำ ใช้เวลา 2 วัน ราคาข้าวเปลือกเฉลี่ย 7,000 บาทต่อตัน เกษตรกรกัมพูชาก็พอใจแล้ว เพราะต้นทุนต่ำ ส่วนประเทศปากีสถาน ปีนี้ผลผลิตเพิ่ม 9 ล้านตัน เพิ่มจากปีที่แล้ว 5.5 ล้านตัน ซึ่งจะเป็นคู่แข่งอีกประเทศหนึ่งของไทย ทำให้ส่งออกลดลง

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

ประเมินเลวร้ายสุดส่งออกได้แค่ 6 ล้านตัน

ส่วน “อินเดีย”  แบนการส่งออกข้าวขาว และปลายข้าวตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ก็มีหลายกระแส มีการล็อบบี้ในประเทศมีความเป็นไปได้หลังจากการเลือกตั้งประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม ออกไปครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งได้ประเมินว่า หากอินเดียส่งออกได้เมื่อไรถึงแม้จะมีเรื่องการเก็บภาษี 20% ราคาข้าวอินเดียก็ยังต่ำมากมีผลทุกประเทศราคาร่วงดิ่งอย่างน้อย 40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ก็จะส่งผลทำให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวลดลงด้วย อย่างไรก็ดีหากมีผลกระทบเอลนีโญ ไปเกิดกับประเทศผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย อาจจะทำให้ตัวเลขคาดการณ์ที่จะนำเข้า เพิ่มสูงขึ้น ก็อาจจะทำให้เราได้ส่งออกในประเทศเหล่านั้นได้มากขึ้น”

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

นายชูเกียรติ กล่าวในตอนท้ายว่า ในช่วงไตรมาส 2 มีความกังวลเนื่องจากเห็นสัญญาณลบจากการประมูลข้าวอินโดฯ เอกชนไทยไม่ได้สักตันเลย ดังนั้นหากการส่งออกเริ่มไม่ดี สต็อกข้าวคงเหลือในประเทศ จะเป็นตัวกดดันทำให้ราคาในประเทศลดลง มองเลวร้ายที่สุดทั้งปีอาจจะส่งออกได้แค่  6 ล้านตัน

 

“หอมพวง” ประเดิมส่งออกปีแรก 1-2 แสนตัน

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย  กล่าวว่า ปีที่แล้ว ช่วงปลายปีเป็นปีที่ได้มีการส่งข้าวหอมพวง เป็นปีแรก จากที่ข้าวเวียดนามราคาสูง ทำให้ฟิลิปปินส์มาสั่งซื้อข้าวจากไทย  1-2 แสนตัน นี่คือสิ่งที่เราทำต้องมีพันธุ์ข้าวใหม่ เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งผลผลิตต่อไร่ต้องสูง ต้องได้อย่างน้อย 1,200 กก.ต่อไร่ จะทำให้ราคาแข่งขันได้

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

“ทำไมอินเดียส่งออกได้ 16-17 ล้านตัน ภายในไม่ถึง 10 ปี ในอดีตส่งออก 8-10 ล้านตัน ตอนนี้ทิ้งเราไปไกลมากเลย เพราะมีข้าวพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตได้ 800 กก.ต่อไร่ จากเดิม 500 กก.ต่อไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่าไทย 10 เท่า แต่ละไร่เพิ่มขึ้นแค่ 300 กก. ก็เพิ่มมหาศาลทำให้เพิ่มศักยภาพการส่งออกได้ทันที ดังนั้นรัฐบาลไทยต้องมาดูแลตรงนี้ ก่อนหน้านี้จังหวัดจังหวัดอุบลราชธานีมีน้ำท่วม แล้วก็ระบายน้ำไหลออกสู่แม่น้ำโขง ก็เกิดคำถามว่าทำไมไม่เก็บกักไว้ ทำอย่างไรที่จะให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูก 20 ล้านไร่ มากที่สุดในประเทศ สามารถปลูกข้าวได้ 2 ครั้งต่อปี ปัจจุบันปลูกได้ครั้งเดียว ส่วนภาคกลาง พื้นที่ 7-8 ล้านไร่ สามารถปลูกได้ 2-3 ครั้งต่อปี แต่น้ำมาจากเขื่อน ดังนั้นควรจะทำเรื่องแหล่งน้ำ และพันธุ์ข้าว ทำการขนส่งมาทางรถไฟให้มากขึ้น หรือทางน้ำ แทนที่จะมาแต่ทางถนน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก”

 

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

นายเจริญ  กล่าวอีกว่า การค้าข้าว ยิ่งกว่าการซื้อหุ้น ไม่มีใครคาดคะเนได้ ผู้ส่งออกต้องรับความเสี่ยงเอง ปีที่แล้วราคาข้าวเปลือกดี ชาวนามีรายได้ดี แต่ผู้ส่งออกขาดทุนหมด เพราะผู้ส่งออกไม่สามารถกำหนดราคาได้ ทุกวันนี้ซื้อขายด้วยความยากลำบาก  ยกตัวอย่างทุกรัฐบาล มักจะมาบอกว่าราคาขายข้าวได้ควรที่จะได้ราคาตันเท่านี้ ควรจะส่งออกขายได้ราคาเท่านี้ และชาววนาควรจะได้ราคาแบบนี้ คุณตั้งเองได้หรือ ความคิดแบบนี้ต้องเปลี่ยนแล้ว เรากำหนดราคาในตลาดโลกไม่ได้

 

“โดยเฉลี่ยปีหนึ่งใช้เงิน 1 แสนกว่าล้านบาท สำหรับเงินให้เปล่าแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รวม 10 ปีที่ผ่านมา ใช้เงิน 1 ล้านล้าน แต่ถ้าเปลี่ยนไปทำระบบชลประทานในภาคอีสาน จะทำให้ปลูกข้าวได้ปีละ 3 ครั้ง ดังนั้นเราต้องดูภาพรวม น้ำมีเยอะแยะแต่เราทิ้งหมด มองว่าการเมืองไทยอาจจะมีรัฐบาลที่อยู่สั้นไป หากยังเป็นอย่างนี้อนาคตข้าวไทยคงลำบาก”

 

โอด “ข้าวปทุมธานี” ขาดตลาด

เปิดมุมมองกูรูข้าว อัปเดตทิศทางความเคลื่อนไหวตลาดข้าวไทยในตลาดโลก ปี 2567

 

นายวัลลภ มานะธัญญา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด กล่าวถึงสถานการณ์ข้าวหอมปทุมธานีไม่มีของขาดตลาด เพราะชาววนาไม่ปลูก จากอายุยาว 120 วัน ผลผลิต 600-700 กก.ต่อไร่ จึงหันไปปลูกข้าวหอมพวง เป็นข้าวพื้นนุ่มอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ได้ผลผลิต 1,200 -1,500 กก.ต่อไร่ เมื่อไม่มีของขายทำให้ต้องปฏิเสธลูกค้าไปหมด อีกทั้งข้าวหอมปทุมฯ ราคาเท่ากับข้าวหอมมะลิแล้ว