1 ทศวรรษชาวนาไทย “จนคงที่ แบกหนี้เพิ่ม”

11 พ.ค. 2566 | 05:30 น.

บทความ : 1 ทศวรรษชาวนาไทย "จนคงที่ หนี้เพิ่ม" วิเคราะห์รายได้ รายจ่าย ภาระหนี้สินชาวนาไทยในรอบ 10 ปี เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม เมียนมา พบมีรายได้หรือเงินเหลือเมื่อหักต้นทุนแล้วต่อปีต่ำกว่าชาวนาเวียดนามเกือบเท่าตัว

1 ทศวรรษชาวนาไทย “จนคงที่ แบกหนี้เพิ่ม”

บทความโดย : นายหัวอัทธ์

ผมได้ทำการประเมิน 10 ปีชาวนาไทยว่า มีรายได้ รายจ่าย และหนี้สินอย่างไร เป็นการวิเคราะห์ภายใต้ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นรอบทิศทาง ปุ๋ยแพง น้ำมันแพง ไฟฟ้าแพง และนโยบายการเข้าช่วยเหลือเกษตรกรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ผมขอเริ่มอย่างนี้ก่อนครับ ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา การส่งออกข้าวไทยในตลาดโลก “ผันผวนอย่างมาก” ปี 2554 ไทยเป็นแชมป์ผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ส่งออก 10 ล้านตัน ตามด้วยเวียดนาม 7 ล้านตัน และอินเดียเป็นอันดับที่สาม 4.6 ล้านตัน

ต่อมาปี 2555 และ 2556 ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้กับอินเดีย 2 ปีซ้อน โดยไทยส่งออกเป็นอันดับที่สาม ต่อมาในปี 2558-2561 ไทยทวงแชมป์กลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง แต่หลังปี 2562 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อินเดียคือแชมป์ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก

ปี 2565 อินเดียส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ 17 ล้านตัน ไทยเป็นอันดับสอง 7.5 ล้านตัน ตลาดหลักข้าวไทยคือ อาเซียน  แอฟริกา (แอฟริกาใต้ เบนิน) ส่งออกมากกว่า 1 ล้านตัน ตามด้วยเอเชีย (จีน ญี่ปุ่น)  อเมริกา และตะวันออกลาง สำหรับตลาดอาเซียน เป็นการแข่งกันระหว่างการข้าวไทยกับเวียดนามเท่านั้น โดย เวียดนาม คือ “แชมป์ส่งออกข้าวในตลาดอาเซียน”

 ปี 2563-2564 เวียดนามส่งออกเกือบ 3 ล้านตัน แต่ไทยส่งออกไม่ถึง 5 แสนตัน ไทยเคยครองแชมป์ในปี 2561 (2.5 ล้านตัน) แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ไทยเสียแชมป์ให้กับเวียดนามมาโดยตลอด ตลาดหลักที่แข่งขันดุคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปฟินส์และสิงคโปร์

1 ทศวรรษชาวนาไทย “จนคงที่ แบกหนี้เพิ่ม”

 

เมื่อพิจารณา “รายได้ รายจ่าย และหนี้สินของชาวนาไทย 10 ปี”  โดยเป็นการเก็บข้อมูลชาวนาที่ ต.ห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ผมได้มีโอกาสคุยกับ “คุณเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ (เฮียมืด)” และ “คุณวันเฉลิม สังคีต (ก๊อต) คุณชาตรี สุโช (ตี) และ "คุณสมคิด มณฑา" และต้องขอขอบพระคุณทั้ง 4 ท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย ที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ๆ 

ผลการเก็บข้อมูล “หนี้ชาวนา” ปัจจุบันพบว่าร้อยละ 70 ของชาวนาไทยเป็นหนี้ อยู่ระหว่าง 1-3 แสนบาท/ครัวเรือน หนี้ชาวนามี 2 รูปแบบคือ ในรูปเงินสดและมิใช่เงินสด หนี้เงินสดส่วนใหญ่เป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. ส่วนหนี้ที่ไม่ใช่เงินสดเป็นหนี้ในร้านค้าขายวัตถุดิบทางการเกษตรของร้านค้าในจังหวัดที่เกษตรกรนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ก่อนจ่ายเงิน โดยร้านค้าจะบวกเงินเพิ่มระหว่าง 30-50 บาทแล้วแต่จะตกลงกัน และขึ้นกับประเภทวัตถุดิบทางการเกษตร

1 ทศวรรษชาวนาไทย “จนคงที่ แบกหนี้เพิ่ม”

การเป็น “หนี้ชาวนาเกิดขึ้นมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา” ก่อนหน้านี้ย้อนหลังไป ชาวนาไม่เป็นหนี้มากขนาดนี้  ในขณะที่รายได้ รายจ่าย และเงินเหลือของชาวนาไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า ในปี 2555 ชาวนาไทยเฉลี่ยใน 1 ปีมีเหลือเงินหลังหักต้นทุนากรผลิต 29,035 บาท ในขณะที่ชาวนาเวียดนาม เหลือเงินในกระเป๋า 54,218 บาท และชาวนาเมียนมาเหลือเงิน 29,278 บาท หมายความว่าปี 2555 “ชาวนาไทยจนสุดในอาเซียน”

เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ว่ารายได้ รายจ่าย ชาวนาไทยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง และเมื่อเทียบกับชาวนาเวียดนาม แตกต่างกันอย่างไร ผมพบว่าในปี 2566 ชาวนา (นาปรัง) เหลือเงิน 39,000 บาท แสดงว่า 10 ปีที่ผ่านมาชาวนาไทยมีเงินเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นบาท (39,000-29,035) เฉลี่ยมีเงินเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 900 บาท ในขณะที่ 10 ปีที่ผ่านมา ชาวนาเวียดนามมีเงินเหลือ 73,743 บาท ชาวนาเวียดนาม มีเงินเหลือ 19,526 บาท (73,743 -54,218) ) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,627 บาท

1 ทศวรรษชาวนาไทย “จนคงที่ แบกหนี้เพิ่ม”

แสดงว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชวานาไทย “มีเงินเหลือเพิ่มและเหลือน้อยชาวนาเวียดนาม” ทำไมถึงเป็นแบบนี้ เพราะ 1.ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ไทยต่ำกว่าเวียดนาม 3 เท่า (ไทยเฉลี่ย 450 กก.ต่อไร่ เวียดนามมากกว่า 1 ตัน) 2.ความพร้อมแหล่งน้ำ ทำให้เวียดนามทำนาได้ 3 ครั้ง ไทยทำได้ 2 ครั้ง 3.ชาวนาอาชีพ กับอาชีพชาวนา ชาวนาไทยไม่ใช่ชาวนาอาชีพ แต่เวียดนามคือชาวนาอาชีพ เพราะชาวนาไทยคิดแค่ 2 เรื่องคือ “ราคา และผลผลิต ไม่คิดเรื่องการปรับลดต้นทุน” แต่ชาวนาเวียดนามคิด “3 ลด 3 เพิ่ม” 4.การกระจายพันธุ์ เพื่อควบคุมคุณภาพเวียดนามทำได้ดีกว่า