นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

22 ธ.ค. 2565 | 11:14 น.

เชียงใหม่จัด Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 เนรมิตขัวเหล็กเป็นรันเวย์สุดสวยน้ำปิง โชว์แฟชั่นกว่า 30 แบรนด์ 150 ชุด หวังเป็นแลนด์มาร์คใหม่ จุดหมายดีไซเนอร์ไทย-โลกมาสร้างสรรค์ผลงาน ช่วยดูดคนเดินทางเข้าพื้นที่ช่วงปีใหม่นี้ 150,000 คน/วัน เงินสะพัดช่วงเทศกาล 100 ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 24 ธ.ค.2565 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เเวลา 19.00 น. จะมีงาน " Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 -CMFL2022" ขึ้น โดยจะมีการแสดงแฟชั่นโชว์กว่า 30 แบรนด์ 150 ชุด  บนรันเวย์สะพานขัวเหล็ก ที่จะถูกเนรมิตเป็นรันเวย์สวยที่สุดกลางลำน้ำปิง และ Special Guest โดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ และ บริษัท เกรท มอร์ โซลูชั่นจำกัด  

 

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เริ่มขึ้นแล้ว ทางเทศบาลนครเชียงใหม่เองได้ดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ  ตั้งแต่เทศกาลงานยี่เป็งเชียงใหม่ ที่กลับมาจัดอีกครั้งภายหลังจากเป็นการจัดภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายงาน อาทิเช่น กิจกรรมดนตรีในสวน ณ สาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่จะจัดขึ้นทุก ๆ สัปดาห์  งานเชียงใหม่เคาท์ดาวน์ (เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่) ณ ลานประตูท่าแพ  งานไม้ดอกไม้ประดับ และงานเทศกาล“ไชน่าทาวน์เมืองเชียงใหม่” 2023 เพื่อส่งเสริมทั้งการท่องเที่ยว การสร้างงาน สร้างรายได้กับทุกภาคส่วน นอกจากนี้ จากการพัฒนาคลองแม่ข่า ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่มีผู้คนมาท่องเที่ยว และเกิดรายได้ขึ้น

 

สำหรับงาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่นำเอาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งโดดเด่นมีอัตลักษณ์ มานำเสนอในรูปแบบที่มีความน่าสนใจ สร้างโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบ ได้สร้างผลงานดี ๆ รวมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์เมืองเชียงใหม่ ด้วยการใช้แลนด์มาร์คของเมืองเป็นสถานที่จัดงาน และนำเสนอรูปแบบวิถีชีวิตในรูปของแฟชั่นอีกด้วย ในอนาคตหากมีการต่อยอด อาจจะกลายเป็นเป้าหมายของนักออกแบบระดับโลก มาจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมดี ๆ ต่อไป

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

คาดว่างาน Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่คึกคักมากขึ้น เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเชียงใหม่อย่างแน่นอน เพราะว่ามีการเดินแฟชั่นบนขัวเหล็ก ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดเชียงใหม่ จะปิดสะพานปรับเป็น RUNWAY ในการเดินแฟชั่น บนสถานที่ที่เป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดซึ่งยังไม่มีใครทำมาก่อน ซึ่งจะช่วยสื่อถึงนางแบบ ดีไซน์เนอร์ ผู้ที่ชื่นชอบงานผ้า สิ่งทอที่เป็นของชาวเชียงใหม่ หรือใกล้เคียง ให้นักออกแบบทั้งโลกได้เห็น โดยภาครัฐและเอกชนพร้อมสนับสนุนทุกอย่าง

 

ด้านนางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า นอกจากศักยภาพอื่น ๆ แล้ว เชียงใหม่ยังมีเสน่ห์แห่งงานฝีมือของชุมชน ที่แฝงไปตามชุมชนท่องเที่ยว ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทุกอำเภอ ซึ่งมีอัตลักษณ์ สีสันลวดลาย วิธีการทอสัมพันธ์เชื่อมโยงไปตามวิถีชีวิต และความศรัทธาของแต่ละชุมชน ปัจจุบันได้มีการต่อยอดพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI  ผ้าไหมสันกำแพง ผ้าทอไทลื้อดอยสะเก็ต และผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกหลากหลายพื้นที่ เป็นต้น

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

ข้อมูลในปี 2563 (สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่) จังหวัดเชียงใหม่มีรายได้จากกลุ่มผลิตภัณฑ์โอท็อป ประมาณ 18,0000 ล้านบาท รายได้อันดับแรกได้แก่ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย คิดเป็นสัดส่วน 36.70 % ของรายได้การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่

 

การจัดงาน แฟชั่น งาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 เป็นกิจกรรมที่ตรงกับแผนการตลาดของ ททท.ในปี 2566  ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าอยากจะเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ โดยผ่านเรื่องราวของสินค้าที่เป็นสินค้าพื้นถิ่น แล้วทำให้การท่องเที่ยวมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ปี 2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งเป้าเน้นรายได้จากการท่องเที่ยว มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพ มีการใช้จ่ายสูง พำนักนานขึ้น และได้รับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่  

 

ททท.สำนักงานเชียงใหม่ ดำเนิน“โครงการภิรมย์เวียงพิงค์” The Memory of Viang Ping ส่งมอบประสบการท่องเที่ยวเสน่ห์วันวานเมืองเหนือ นำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกิจกรรม ภูษาเวียงพิงค์ ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวแบบที่เรียกว่า เสน่ห์วันวานเมืองเหนือให้รำลึกไปถึงเรื่องของโบราณที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมรากเหง้าของแต่ละชุมชน  กิจกรรมส่งเสริมและยกระดับสินค้าชุมชนให้มีความทันสมัย สร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกิจกรรมกระตุ้นส่งเสริมด้านการตลาด สนับสนุนผู้ประกอบการมีการขยายฐานการตลาดที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 

 

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะส่งผลให้งานเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดเชียงใหม่ จะมีมูลค่าเพิ่มในเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว และเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย และนักท่องเที่ยวทั่วไปเพิ่มมากขึ้น

นับถอยหลังชมแฟชั่นโขว์บนขัวเหล็กสุดสวยกลางแม่น้ำปิงแลนด์มาร์คเชียงใหม่

รวมทั้งกระตุ้นการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ จากที่งานประเพณียี่เป็ง อัตราการเข้าพักอยู่ที่ประมาณ 80-90%  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมที่อยู่ตามริมแม่น้ำ โรงแรมที่อยู่ในเมืองก็จะมีอัตราการเข้าพักค่อนข้างสูงและปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวก็กระจายตัวออกไปท่องเที่ยว ตามแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่นอกเมืองด้วย เนื่องจากว่าช่วงนี้สภาพอากาศเหมาะกับการท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาว

 

ฉะนั้น ช่วงหยุดยาวช่วงปลายปี เชื่อว่ามีคนมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว ถ้าดูจากอัตราการเข้าพัก 80-90%  จำนวนคนที่จะเดินทางเข้ามาก็น่าจะอยู่ที่ 100,000-150,000 คน ทำให้ทั้งไตรมาสสุดท้าย จังหวัดเชียงใหม่จะมีผู้เยี่ยมเยือน 9,000,000 คน-ครั้ง และมีรายได้ไม่น้อยกว่า 55,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50% ของปี 2562 อย่างแน่นอน 

 

ด้านนายธนกร สมฤทธิ์ สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบนกรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท มอร์ โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่า งาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี 2563 จากความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยเฉพาะสำนักงานกฎบัตรเชียงใหม่ (Chiang Mai Charter ) และความร่วมมือของดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่  ที่ต้องการผลักดันให้เชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นเมืองที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตไปกับคำว่า“แฟชั่น” ได้อย่างลงตัว  

 

โครงการ  “Chiang Mai Creative Mind 2020”ได้จัดแฟชั่นโชว์ CMCM 2020 ณ สะพานขัวเหล็กเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คสำคัญ ที่ทุกคนรู้จัก และถือได้ว่าเป็น “RUNWAY”ที่ยาวที่สุด โดยมีเป้าประสงค์ให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็น “Chiang Mai Runway” ที่มีชื่อเสียง และเป็นเป้าหมายสำคัญในอนาคต ที่ดีไซน์เนอร์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ต้องการมาเป็นส่วนหนึ่งในโชว์นี้ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้สำเร็จ จะสามารถส่งเสริมได้ทั้งการพัฒนาด้านแฟชั่น การท่องเที่ยว และการส่งเสริมเมืองเชียงใหม่อย่างสร้างสรรค์ ในระดับนานาชาติได้อีกทาง

 

สำหรับในปี 2565 นี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ  ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบน(MOUN) และภาคีภาคเอกชน ได้แก่ Chef’s together by Aod & Dan  เชียงใหม่พาราไดซ์  และทีมงานดีไซน์เนอร์ 

 

จัดแฟชั่นโชว์ภายใต้ชื่อ CMFL2022 (Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022) ภายใต้แนวคิด “STANDFORLOVE” การยืดหยัดด้วยความรัก ที่หลากหลายและยั่งยืน เปิดพื้นที่ให้ ดีไซน์เนอร์ และนายแบบ นางแบบ ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ครอบครัว กลุ่ม Sliver Age และ LGBT ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ โดยมีดีไซเนอร์เข้าร่วมกว่า 30 ราย และแฟชั่นโชว์กว่า 150 ชุด และยังมีนายแบบและนางแบบกิตติมศักดิ์ ร่วมเดินในครั้งนี้ด้วย โดยยังคง concept เดิม คือใช้ สะพานขัวเหล็กเชียงใหม่ เป็น “RUNWAY”โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม2565 เวลา 19.00 น. 

 

นอกจากนี้กิจกรรม ภายใต้ชื่อ CMFL2022 ยังมีการเชื่อมโยงกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเมืองในมิติของ Fashion & Lifestyle ร่วมกับย่านต่างๆ อาทิ ช้างคลาน นิมมาน ล่ามช้าง และชุมชนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหากมีข้อมูลเพิ่มเติม จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป การจัดกิจกรรมในช่วงดังกล่าวส่งเสริมให้เงินสะพัดในช่วงเทศกาล คาดว่ามากกว่า 100 ล้านบาท