โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

09 ธ.ค. 2565 | 13:48 น.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เดินหน้า โครงการ Lanna Essence Workshop  ปีที่ 2 โชว์ 16 ผลงานต้นแบบ จากนักออกแบบนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์รุ่นใหม่ และนักศึกษา มช. ที่ Creative Lanna Pavilion อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในงานเเชียงใหม่ดีไซน์วีค 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 6 ธันวาคม 2565 โครงการส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการคิดและพัฒนาธุรกิจล้านนาสร้างสรรค์ ปีที่ 2 (Lanna Essence Workshop Season 2) จัดพิธีเปิดตัวนิทรรศการผลงานต้นแบบจากโครงการฯ เพื่อนำเสนอผลงานนักศึกษา และนักออกแบบนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ซึ่งร่วมจัดแสดงบริเวณ Creative Lanna Pavilion อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

 

ในเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ โดยมีอาจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และในฐานะผู้แทนประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุกล้านนาสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดนิทรรศการ

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

อาจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มช.

อาจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มช.กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็คือ อนุรักษ์วัฒนธรรมแบบเดิมของเชียงใหม่คือล้านนาเอาไว้ แต่วัฒนธรรมจะอยู่ได้ไม่ยั่งยืนหากไม่มีการคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ และต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน จึงทำยุทธศาสตร์ล้านนาสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อให้นักศึกษาไม่ลืมวัฒนธรรมเดิม แต่สามารถเอาอัตลักษณ์เดิม ซอฟต์ พาวเวอร์เดิม มาต่อยอดสร้างสรรค์ได้ 

 

มช.จึงมอบหมายให้อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. (STeP) ดำเนินการในเรื่องของการพัฒนาสินค้าหรือผลงานสร้างสรรค์ ที่เป็นแนวคิดแบบล้านนาสร้างสรรค์ ออกมา 2 โครงการ หนึ่งในนั้นคือLanna Essence โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษา มช. ที่อยากผลิตผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ยังไม่ไอเดียไม่มีแนวทาง ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ก็จะให้องค์ความรู้ เชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาบรรยาย สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

จุดเริ่มต้นของศาลาล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Pavilion) เกิดขึ้นจากการต้องการรวบรวมผลงานจากโครงการต่าง ๆ  ภายใต้ยุทธศาสตร์เชิงรุก ที่ 3  ล้านนาสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการศึกษา มช.ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และนำผลงานเหล่านั้นมาจัดแสดง ในในเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 11 ธันวาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ 

 

ภายในงานได้จัดแสดงผลงานต้นแบบจากกลุ่มผู้ประกอบการนักออกแบบนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์รุ่นใหม่ภายในโครงการ จำนวน 16 ชิ้นงาน อาทิ “Komm” (ก้อม) หรือเก้าอี้ตัวเล็กของคนล้านนา ที่ได้ Redesign ให้มีความสะดวกสบาย เหมาะกับการใช้งานของคนยุคใหม่มากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา ด้วยการทำเบาะรองนั่งจากเครื่องจักรสานด้วยวัสดุในท้องถิ่น

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

“Kraft” คอลเลกชันโคมไฟที่บอกเล่าเรื่องราว   วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนาผ่านวัสดุกาบกล้วย โดยโคมไฟในคอลเลกชันถูกออกแบบมาให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับสถานที่ติดตั้งได้อย่างลงตัว  “TOKEN” ขันโตกเครื่องเขินสำหรับวางอาหาร  ที่มีลูกเล่นสามารถแยกชิ้นส่วนออกจากกัน เพื่อใช้ประโยชน์เป็นถาดจากชิ้นส่วนบน และเป็นโต๊ะเตี้ยเพื่อใช้วางของจากชิ้นส่วนด้านล่าง

 

“YANG” หรือแหย่งโมเดิร์น ถอดแบบแหย่งของชาวล้านนา โดยใช้เหล็กเส้นสีทอง เพื่อลดทอนความหนาของตัวแหย่งซึ่งเป็นชิ้นไม้เดิม ทำให้ดูโปร่งและเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น, คอลเลกชัน แหวนมงคลล้านนา ที่นำสัญลักษณ์ปีนักษัตรและดอกเอื้อง มาออกแบบเป็นเซ็ตแหวนที่สามารถเลือกสวมใส่ได้หลากหลายแบบตามความต้องการ ฯลฯ 

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

โครงการ “ส่งเสริมศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการผ่านกระบวนการคิดและการพัฒนาธุรกิจล้านนา สร้างสรรค์" หรือ Lanna Essence Workshop Season 2 ได้ส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ให้นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนาสร้างสรรค์ในภาคเหนือ สามารถพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

โดยเป็นหนึ่งในนิทรรศการจากศาลาล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Pavilion) ที่มุ่งให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น คือ ความสร้างสรรค์ (Creative) ด้วยบูรณาการศาสตร์และศิลป์บนต้นทุนทางวัฒนธรรม, ความมั่งคั่ง (Prosperity) การสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบบนวิถีชีวิตที่กลมเกลียวร่วมกับถิ่นฐานชุมชน และความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งหมายถึงการเลือกใช้วัสดุ หรือแนวทางการออกแบบ ที่เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

สำหรับบริเวณพื้นที่จัดงาน Creative Lanna Pavilion นั้น นอกจากจะจัดแสดงผลงานจากโครงการ Lanna Essence Workshop Season 2 แล้ว ยังมีผลงานจากโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโครงการเพิ่มคุณค่ามูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยอัตลักษณ์ล้านนาอย่างสร้างสรรค์ หรือ Creative Lanna มาจัดแสดงด้วย โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัย มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยผสานองค์ความรู้ล้านนาสร้างสรรค์พร้อมเพิ่มมูลค่าสู่เชิงพาณิชย์ อาทิ ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องพื้นเมืองล้านนา สายพันธุ์ “บือบ้าง 3 มช.” (BB 3  CMU), เจลไพลลูกประคบ (Compound Herbal Extract Gel), แชมพูขจัดรังแค (Kapao: Antidandruff Shampoo) ฯลฯ 

 

ดร. ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ กล่าวอีกว่า โครงการ Lanna Essence Workshop Season 2 มีความสำคัญที่ได้ส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ ให้นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนาสร้างสรรค์ในภาคเหนือ สามารถพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"

ที่สำคัญจะเป็นหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษา และนักออกแบบนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ให้สามารถมองเห็นโอกาสการเติบโตในสายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ศึกษาประสบการณ์จากบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การเป็นนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ ที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
 

 

แผนต่อไป CMU Creative Lanna จะดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ และแหล่งขององค์ความรู้ด้านล้านนา ผ่าน 4 แจ่งล้านนา คือ ภูมิปัญญาล้านนา คลังความรู้ล้านนา ล้านนาสร้างสรรค์ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมล้านนาเพื่อการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ล้านนา และสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจสังคม ที่เกิดจากการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านล้านนาไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างที่ทำอยู่ต่อไป

โชว์16ผลงานต้นแบบCreative Lanna สนั่น"เชียงใหม่ดีไซน์วีค"