ซีพีเอ็นชู “เซ็นทรัล อยุธยา” ต้นแบบ Tourism Booster ดึงนักช้อปกำลังซื้อสูง 

30 พ.ย. 2564 | 11:09 น.

เซ็นทรัลพัฒนา ยกระดับศูนย์การค้าเป็น ‘Tourism Booster’ เชื่อมโยง Retail & Tourism Ecosystem นำร่อง "เซ็นทรัล อยุธยา"  โปรโมตเมืองรองคู่เมืองหลัก ก่อนขยายต่อไปยังเมืองโคราชและเชียงใหม่

หลังเปิดให้บริการ “เซ็นทรัล อยุธยา” โครงการมิกซ์ยูสสปอตไลท์ระดับโลก มูลค่า 6,200 ล้านบาท อย่างเป็นทางการในวันที่ 30 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนาเตรียมนำเสนอ “อัศจรรย์อยุธยา” สู่สายตาโลก พร้อมใช้เป็นโมเดล ‘Tourism Booster’ ดึงดูด Quality Tourist-Longer Stay-More Spending ให้นักท่องเที่ยวคุณภาพเที่ยวได้นานขึ้น ใช้จ่ายมากขึ้น กระจายรายได้สู่ชุมชน สร้าง Urbanized Community 

ซีพีเอ็นชู “เซ็นทรัล อยุธยา” ต้นแบบ Tourism Booster ดึงนักช้อปกำลังซื้อสูง 
นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด 
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยว่า มองว่าเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกำลังรอจังหวะกลับมา Rebound กระเตื้องขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวาง Roadmap และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โอกาสของประเทศไทยในตอนนี้คือเมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Quality Tourist และรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็น Longer Stay อยู่นานขึ้น และ Spending มากขึ้น การสร้างแพลตฟอร์มที่จะช่วยกระจายเม็ดเงินตรงนี้ให้เข้าถึงชุมชนและทุกคนใน Ecosystem อย่างทั่วถึงมากขึ้น

 

เซ็นทรัลพัฒนา จึงได้นำจุดแข็งที่มีศูนย์การค้าทั้งหมด 35 สาขาทั่วประเทศ. รวมทั้งเซ็นทรัล อยุธยาที่เปิดให้บริการล่าสุด ซึ่งอยู่ในเมืองท่องเที่ยว 18 สาขา ใน 14 จังหวัด โดยชูบทบาทศูนย์การค้าเป็น Tourism Booster และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง Retail & Tourism Ecosystem ทั้งระบบเข้าด้วยกัน โดยจะใช้ ‘เซ็นทรัล อยุธยา’ เป็นโปรเจ็คนำร่องที่ชัดเจนในด้านการยกระดับ Local Tourism ให้มีความโดดเด่นระดับโลก ซึ่งจะเป็นโมเดลในการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ของประเทศในระดับมหภาคด้วย ดังนี้  

ซีพีเอ็นชู “เซ็นทรัล อยุธยา” ต้นแบบ Tourism Booster ดึงนักช้อปกำลังซื้อสูง 
1. Spread Income กระจายรายได้ เชื่อมโยงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการทั้ง Value Chain ตั้งแต่ศูนย์การค้า-โรงแรม-ผู้ประกอบการท้องถิ่น และสามารถเป็น Cross-Region Platform เปิดพื้นที่โปรโมทการท่องเที่ยว, Hotel Fair, OTOP Market, โปรแกรมท่องเที่ยวชุมชน ได้ทั่วประเทศ นำท่องเที่ยวภาคเหนือไปโปรโมทภาคใต้, ภาคใต้มากรุงเทพฯ แบบข้ามภูมิภาค รวมถึงมีศักยภาพในการพัฒนา Tourist Database จับมือภาครัฐและธุรกิจต่างๆ ใน Value-Chain ทำ Co-Campaign และ                      Co-Promotion ได้อีกด้วย


2. Springboard Ricing Cities โปรโมทเมืองรองควบคู่เมืองหลัก ชูจุดเด่นและจัดกลุ่มเมืองหลัก-เมืองรองให้ส่งเสริมกันและกัน โดยเซ็นทรัลพัฒนา ขยายโครงการและปั้นเมืองศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างจุดเด่น ดึง Local Essence ให้เด่นชัด 

 

3. Support Longer Stay สร้าง Facilities Infrastructure และออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวแบบอยู่นาน ชูจุดแข็ง Success Model ของเซ็นทรัลพัฒนาในการพัฒนา Fully-Integrated Mixed-Use Development ครบวงจรเป็นการเข้าไปสร้าง Infrastructure ให้กับเมืองนั้นๆ 

ซีพีเอ็นชู “เซ็นทรัล อยุธยา” ต้นแบบ Tourism Booster ดึงนักช้อปกำลังซื้อสูง 
เซ็นทรัลพัฒนา เดินหน้าลงทุนโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยงบประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี ด้วยความเชี่ยวชาญกว่า 40 ปีในการพัฒนาทุกองค์ประกอบ ทั้งศูนย์การค้า, โครงการที่อยู่อาศัย, โรงแรม และอาคารออฟฟิศ เพื่อต่อยอดแนวคิดการเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตสู่การปั้นเมืองที่มี Urbanized Community สังคมคุณภาพ
นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาโดยตลอด โดยเป็นผู้นำในการใช้นวัตกรรม Solar Project มาติดตั้งที่ศูนย์การค้ากว่า 17 สาขา