ค้านนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ลดภาษี0%

17 มิ.ย. 2564 | 00:10 น.

“เกษตรกร” เปิดหน้า ค้าน สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ลดนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ภาษี0%  ชี้หากไฟเขียวซ้ำเติมเจ๊ง ขาดทุน ระนาว กระทบจีดีพีเกษตรทั้งประเทศพัง

จากกรณี สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อขอปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 29 รายการ จากเหตุผลต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศกว่า 60% โดยการนำเข้าจะต้องเสียภาษีนำเข้าซึ่งถือว่าเป็นภาระต้นทุนส่วนหนึ่ง เมื่อเทียบกับหลายประเทศซึ่งไม่มีเก็บภาษีนำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ของไทยสูงกว่าประเทศอื่น และมีผลต่อเนื่องไปถึงต้นทุนในภาคปศุสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารของไทย นั้น มีความคืบหน้าตามลำดับ

 

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

 

นายปราโมทย์  เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากกรณีที่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่าไม่สามารถแบกรับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้หากไม่ปรับราคาขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ เช่น เมล็ดถั่ว กากถั่วเหลือง และยังรวมไปถึงวัตถุดิบนำเข้าอื่นๆที่ต่างปรับตัวขึ้น จะมีผลทำให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ต้องแบกรับต้นทุนเพื่อช่วยเหลือกเกษตรกรอยู่นั้น  ทางสมาคมอาหารสัตว์จึงทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอยกเลิกภาษีนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อที่จะลดต้นทุนได้นั้น

 

ทางสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยมีความกังวล ว่าการปรับลดภาษีจะทำให้มีผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกของชาวนาได้ เนื่องจากวัตถุดิบจากข้าวเปลือกในประเทศเช่นปลายข้าว และรำข้าว หรือ กากรำจากการสกัดน้ำมันรำข้าว ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์  หากสินค้าทดแทนชนิดอื่นเข้ามามากไม่ว่าจะเป็น รำข้าวสาลี กากรำ กากปาลม์ และข้าวโพด หรือข้าวสาลีจากต่างประเทศ ถูกนำเข้ามาใช้แทนมากๆ  จะจะยิ่งมีผลกดดันให้ราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรขายได้ราคาต่ำลง กลายเป็นว่าวัตถุดิบที่มาจากสินค้าภายในประเทศไม่เพียงแต่ข้าว

 

แต่ยังรวมไปถึงข้าวโพดหรือถั่วเหลือง และตัวอื่นๆที่ปลูกภายในประเทศก็จะยิ่งขายไม่ได้ราคา ถูกกดดันด้านราคาไปอีก  จนมีผลต่อรายได้ชาวนาภายในประเทศมากยิ่งขึ้น  ทางที่ดีรัฐควรส่งเสริมให้ใช้สินค้าผลผลิตต่างๆที่ยังมีในประเทศก่อนจะดีกว่า ไม่ใช่วัตถุดิบภายประเทศราคาแพงก็หาทางนำเข้า เป็นการกดดันลดจำนวนการใช้วัตถุดิบในประเทศ  และชาวนาจะอยู่ได้อย่างไร “ชาวนา ชาวไร่ เก็บตรงนั้น 5 บาท เก็บตรงนี้ 10 กว่าจะได้ ร้อย สองร้อย เหนื่อยแทบตาย”

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า สิ่งที่สมาคมอาหารสัตว์ ขอรัฐบาลยกเลิกภาษีนำเข้า และชาวนา ชาวไร่ได้ประโยชน์อะไร รัฐต้องเสียเงินช่วยชาวนา เพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อราคาข้าวเปลือกตกตำ่ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย จึงไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว ก็ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ขอให้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะมีต่อเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ ด้วย

 

ประกอบกับสถานการณ์ข้าววันนี้น่าเป็นห่วง กลางเดือนเมษายนมีฝนตกดี ราชการประกาศเข้าฤดูฝน ชาวนาแล้งต่อเนื่อง พอฝนมาน้ำมาก็ดีใจ ลงมือทำนากันทั่วประเทศ  แต่พอเริ่มเขาฤดูฝน หัวใจแทบสลายเพราะฝนทิ้งช่วง  รัฐบอกกำลังปล่อยน้ำมาช่วย  ชาวนาลุ่มเจ้าพระยาก็ดีใจ รอคอย แต่บางพื้นที่ได้น้ำ บางพื้นที่ยังขาดน้ำ  ก็ขอให้ดูแลอย่างทั่วถึง 

 

จากการที่ได้ฟังสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงตัวเลขส่งออกในปีนี้ ประมาณ 5 ล้านตันบวกลบ  ส่งออกได้น้อยลงทุกปี ในขณะที่ไทยราคาแพง ขายได้น้อยลง ปัญหาเรื่องค่าขนส่งและเรื่องตู้คอนเทนเนอร์  ฟังข่าวสมาคมโรงสีข้าวไทย ใจชื้น นายกสมาคมฯบอกว่าโรงสี 600 โรงสี พร้อมรับซื้อทุกเมล็ด ขอให้รัฐช่วยเรื่องชดเชยดอกเบี้ย และเตือนว่าราคาน่าจะลงเพราะอีก 2-3 เดือน ข้าวชุดใหม่จะออกและต่อเนื่อง

 

 นายปราโมทย์ กล่าวว่า ฟังจากโรงสีหลายๆโรงสีที่ชาวนาเอาข้าวไปขาย บอกที่ผ่านซื้อข้าวนำตลาดเพราะข้าวเปลือกน้อยแย่งกันซื้อ ไม่งั้นไม่มีงานทำ สุดท้ายขายข้าวสารไม่ออกต้องถือสต๊อก ขาดทุนเงินจม ช่วงนี้จะขายข้าวสารก็ลำบาก คนซื้อน้อย และข้าวสารก็ราคาลง ข้าวสารที่ขายไว้ก็ส่งไม่คล่อง เหนื่อยจริงๆไม่เก่งราคา ก็เหมือนเก่ง สุดท้ายขาดทุน แต่ก็ต้องพยายามประคองธุรกิจ

 

“ชาวนาทนแล้งรอคอยการทำนา ต้องการข้าวพันธุ์ดี ผลผลิตดี เพื่อให้มีต้นทุนทุนที่ต่ำ ตอบโจทย์ตลาดที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ภาคการส่งออกสามารถแข่งขันได้ เพื่อให้โรงสีมีข้าวสี แต่ไฉนไม่ตอบสนอง  กว่าจะเดินหน้ากว่าจะลงมือชาวนาหว่านข้าวไปแล้ว  กว่านโยบายจะเดินคุยกันจบดำเนินการก็สิ้นฤดูการเพาะปลูกไปแล้วเราชาวนาได้แต่รอคอยคาดหวัง เราไม่ต้องการร้องขอ แต่ชาวนาคือผู้ได้รับผลกระทบเต็มๆ อย่างไรก็ดีอยากจะฝากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเทศที่กำลังวิกฤติ อยากจะให้เน้นใช้ของในประเทศเป็นลำดับแรก และใช้ให้มากที่สุด”

 


 

ค้านนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ลดภาษี0% เช่นเดียวกับนายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ผมไม่เห็นด้วยที่จะลดภาษี0% นำเข้าวัตถุดิบนำเข้าอาหารสัตว์ เพราะจะมีผลกระทบต่อวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ รัฐบาลควรจะดูแลเกษตรกรไม่ใช่ดูแลพ่อค้า เกษตรกรเป็นคนกลุ่มใหญ่ถ้าเผชิญกับปัญหาครัวเรือนแต่ละครัวเรือนได้รับผลกระทบ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมทั้งประเทศด้วย เพราะฉะนั้นอยากให้รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง พึงระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรพิจารณาโดยผ่านข้อมูลทีไม่ถูกต้อง

 

มงคล สุขเจริญคณา

 

ด้านนายมงคล สุขเจริญคณา  นายกสมาคมประมงสมุทรสงครามและนายกสมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม กล่าวว่า ขอคัดค้านการปรับลดภาษีปลาป่นเป็น0% เพราะจะส่งผลกระทบต่อราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงจับได้ที่นำไปผลิตเป็นปลาป่น จะทำให้มีปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำและจะทำให้สัตว์น้ำชนิดอื่นๆมีราคาตกต่ำด้วย เนื่องจากราคาสัตว์น้ำที่ไปผลิตเป็นปลาป่น เป็นราคาที่ค้ำประกันราคาสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ไว้ไม่ให้ตกต่ำลงไปมาก

 

พรเทพ ปู่ประเสริฐ

 

ปิดท้ายนายพรเทพ ปู่ประเสริฐ นายกสมาคมการค้าพืชไร่  กล่าวว่า หาก  กระทรวงคลัง ไฟเขียวลดนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 29 รายการ ลดภาษี 0% จะกระทบเกษตรกรทั้งประเทศ ที่เพาะปลูกพืชผลอยู่ในระบบการใช้วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ แค่มาพิจารณาตัวเลขปีนี้ที่ยังไม่ได้ขอลดภาษี 29 รายการที่นำเสนอแค่นี้ก็จะตายกันแล้ว ผมจึงไม่เห็นด้วย

 

ลองมาดูตัวเลขปี 2563 วัตถุดิบเกินมากว่า 9 แสนตัน  จากการนำเข้ารวมทุกชนิดในหมวดวัตถุดิบอาหารสัตว์ แล้วถ้าปรับลดตามที่ร้องขอทุกรายการจบเลย ยกตัวอย่าง ข้าวบาเลย์ ปลดล็อกไปแล้ว  ในกรอบสัญญาความตกลงการค้ากับออสเตรเลีย ปี 2563 ปรับลดเป็น0% แล้ว ดังนั้นจะเห็นการนำเข้าข้าวบาร์เลย์เปรียบเทียบจากปี 2562 ปริมาณ 3 แสนตัน เพิ่มขึ้นมาเป็น 7 แสนตันในปี 2563

 

นายพรเทพ กล่าวว่า ยกตัวอย่าง ถั่วเหลือง  พอรัฐบาลอนุญาตให้นำเข้า 100%  ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองประเทศไทยแทบจะสูญพันธุ์ ปัจจุบันเหลือพื้นที่แค่ไม่กี่หมื่นไร่ โดยที่การใช้ถั่วเหลืองมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ที่ใช้แบบเมล็ด ทุกวันนี้เป็นถั่วนำเข้า ผลผลิตในประเทศส่วนใหญ่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเทศนมถั่วเหลือง และโรงงานซีอิ้ว เกษตรกรก็ไปไม่ไหว เพราะถั่วเหลืองนำเข้าถูกกว่า

 

“ผมมองว่ากติกาไม่เท่าเทียม 1.ฝั่งของผู้เพาะปลูกวัตถุดิบทางการเกษตร กฎหมายไม่อนุญาตให้เกษตรกรไทยปลูกพืชตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็มโอ แต่กลับอนุญาตให้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศที่เป็นวัตถุดิบจีเอ็มโอนำมาใช้ เช่นถั่วเหลือง ,ข้าวสาลี กากข้าวโพด ที่นำเข้าจากประเทศจีน หรือสหรัฐอเมริกา"

 

2.เกษตรกรไทยถูกลิดรอนขีดความสามารถและการแข่งขันจากต่างประเทศ คือ การแบน 3 สารเคมีเกษตร พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ส่วนไกลโฟเซต แค่จำกัดการใช้ แต่กลับให้ผลผลิตทางการเกษตร ล้วนแล้วแต่นำเข้ามาจากประเทศที่ยังคงอนุญาตให้ใช้สารต่างๆเหล่านี้  จะคล้ายกับพืชจีเอ็มโอเลย  ห้ามปลูก แต่ให้นำเข้ามาได้

 

“ผมถามว่านายก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ข้าวโพดไทยแพง  เพราะเกษตรกรถูกตัดมือตัดแขน ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และนี่คือความไม่ทัดเทียมในการปกป้องอาชีพของเกษตรกร ยกตัวอย่างภาคปศุสัตว์ เรื่องสารเร่งเนื้อแดงที่ต่างประเทศจะขอนำเข้า ก็ออกมาปกป้องค้านเต็มที่ แต่กับเกษตรกรผู้ปลูกพืช มีแต่ห้ามและโดนลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ เวลานำเข้าวัตถุดิบทำไมไม่คิดเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบอย่างชาวไร่ข้าวโพด หรือมันสำปะหลัง บ้างเลย”


 

นายพรเทพ กล่าวว่า ในส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผมถามว่าจะมีแบบนี้ไปตลอดทุกรัฐบาลเลยหรือ ทำไมไม่หาวิธีการและแนวทางนโยบายให้เกิดความยั่งยืน โดยที่ภาครัฐไม่ต้องควักกระเป๋าเลย ให้ระบบเดินได้ด้วยตัวเอง หาจุดสมดุลให้ได้ให้ห่วงโซ่เดินได้ทั้งระบบภาครัฐจะไม่ได้มาอุดหนุนเกษตรกร

 

“ข้าวโพด ในประเทศไม่เพียงพอ  ทำให้ทางสมาคมอาหารสัตว์ฯ ไปยึดวัตถุดิบต่างประเทศเป็นวัตถุดิบหลัก ขณะที่ในประเทศเป็นวัตถุดิบเสริม ผม เวลาวัตถุดิบมีราคาแพงมาก ผมก็เข้าใจฝั่งผู้เลี้ยง แต่ถามว่าผู้ผลิตอาหารสัตว์ก็มีแต่กำไร ก็ขายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง และวันนี้ประเทศไทยภาคปศุสัตว์บริโภคในประเทศ 70% ส่งออก 30% แล้วถ้าชาวไร่ช้าวโพดไม่มีกำลังซื้อ จะไปซื้อ หมู ไก่ ไข่ ได้อย่างไร การบริโภคก็จะลดลง ห่วงแต่ส่งออก แล้วสัดส่วนในประเทศไม่สนใจใช่ไหม ในเมื่อรัฐบาลหากอนุญาตให้ไฟเขียวอาหารสัตว์นำเข้าวัตถุดิบอาหารจากต่างประเทศเข้ามา ภาครัฐสมควรที่จะอนุมัติให้นำเข้าชิ้นส่วนหมูจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเพื่อให้ประชาชนในประเทศไทย ได้มีตัวเลือกบ้างว่า หมูสหรัฐอเมริกาถูกกว่า เพื่อลดค่าครองชีพ ในเมื่อรายได้น้อยก็ย่อมที่จะมีสิทธิ์เลือกบริโภคของราคาถูกลง

 

ณ วันนี้ที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  พูดได้เต็มปาก ราคาข้าวโพดไทย 10 บาทต่อกิโลกรัม  เพราะวัตถุดิบโลกราคาแพง ทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี เลยทำให้ข้าวโพดไทยได้รับอานิสงค์ เวลาประชุมที่กระทรวงพาณิชย์ ปีไหนที่ข้าวสาลีมาถึงเมืองไทย 6-7 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อปีที่แล้วราคาถูกมากจนถล่มทะลาย ก็อ้างว่าข้าวโพดไทยแพง  จึงต้องนำเข้ามาเพื่อลดต้นทุน และถัวเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ แต่มารอบนี้ ก็อ้างวัตถุดิบต่างประเทศแพง ทำให้ต้นทุนสูงก็จะขอขยับราคาอาหารสัตว์สำเร็จรูป จะขอปลดล็อกโน้นนี่นั้น สรุปทุกวันนี้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์คุณอิงวัตถุดิบต่างประเทศเป็นหลักใช่หรือไม่ ส่วนวัตถุดิบในประเทศเป็นพระรองใช่หรือไม่”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง