มองต่างมุม “ชีวภัณฑ์” ไม่ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยา

15 มิ.ย. 2564 | 10:09 น.

กรมวิชาการเกษตร รับฟังความคิดเห็น 17 ชีวภัณฑ์ ไม่ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยา  ต่างมุมมอง มีทั้งหนุน- ค้าน ลุ้นบอร์ดวัตถุอันตราย ชี้ชะตา ใครวิน

วันสุดท้าย! เว็บไซต์ กรมวิชาการเกษตร  เปิดรับฟังความคิด 2 ฉบับ โดยฉบับแรก เป็น ร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง รายชื่อสารชีวภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จากพืช ที่ไม่ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยาประกอบการขึ้นทะเบียน ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญ และการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2)-พ.ศ. .... ข้อ 4 วรรคสาม

 

 กำหนดให้สารชีวภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากพืช และฟีโรโมนที่มีข้อมูลทางวิชาการว่ามีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามรายชื่อที่กรมวิชาการเกษตรประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยา “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรในมุมต่าง จะสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้

 

อนันต์ ดาโลดม

 

นายอนันต์ ดาโลดม  นายกสมาคมพืชสวนไทย กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่อนไหว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า เป็นความพยายามมานานแล้ว “ชีวภัณฑ์” ที่จะมาขอขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์ ก็คือสารเกษตรอินทรีย์ และที่ผ่านมาในเรื่องกฎกติกาที่จะทำเรื่องในการประเมินคุณภาพ การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเป็นพิษภัย

 

“สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่จะมีข้อมูลจากต่างประเทศในการที่จะมาใช้เทียบเคียงและออกกติกาในการประเมินความเสี่ยงทุกด้านก่อนทีจะรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียน ก็คือ มีกติกาสากลที่ชัดเจนมาก ส่วนมากสารเคมีจะมีข้อมูลในทุกๆด้าน เพราะว่าการวิจัยของบริษัทจะใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในการจะผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วก็จะมีระเบียบกฎกติกาที่เป็นสากล ทั้ง FAO,ของคลูเด็กซ์ ที่ใช้เทียบเคียงแล้วนำประยุกต์ในการออกกฎเกณฑ์การขึ้นทะเบียนของประเทศไทยให้มีความชัดเจน

 

“สารชีวภัณฑ์” ไม่ได้มีกฎกติกาที่เป็นสากลจะมีความเสี่ยงในการที่จะขอขึ้นทะเบียนเพราะว่ามีความหลากหลาย มาจากสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ หรือพวกแบคทีเรียต่างๆนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการที่ผลิตออกมาเป็นสารชีวภัณฑ์

 

ความจริงแล้วที่ออกประกาศในการทำรับฟังความคิดเห็นควรจะต้องมีการดำเนินการในลักษณะการประชุม การให้ความคิดเห็นในระบบออนไลน อยู่ในวงแคบมากไม่สะท้อนความคิดเห็นของผู้ที่มีข้อมูลในหลายๆด้านอย่างชัดเจน เพราะมีเพียงบางคน บางกลุ่มที่สามารถเข้าถึง และเข้ามามีส่วนร่วมในทำประชาพิจารณ์ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นเหล่านี้ กระบวนการผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนหมู่มากได้

 

การที่จะไม่ต้องตรวจสารพิษวิทยา จะเป็นไปได้อย่างไร อย่างปุ๋ยอินทรีย์ นี่ก็ยังต้องตรวจว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ อีโบล่า อีโคไลน์ เกิดการท้องเสีย มีสิ่งตกค้าง ดังนั้นการที่จะมี ช่องทางด่วน (fast track) โดยไม่ได้ คนที่รับเคราะห์มากก็คือ กรมวิชาการเกษตร เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ ดูแลกฎหมายฉบับนี้ ถ้าเกิดออกมาแล้ว เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้ใช้หรือผู้บริโภคโดยที่เราได้ละเลยในเรื่องสำคัญอย่างนี้ไปก็จะเป็นปัญหาต่อผู้ปฏิบัติ

 

ควรที่จะต้องใช้การเทียบเคียงเดียวกันในการขึ้นทะเบียนสารเคมี เพราะว่าการประเมินความเป็นพิษมีส่วนสำคัญมากต่อการนำไปใช้ในการดูแลที่ยาเคมี สารกำจัดศัตรูพืช สารชีวภัณฑ์มาจากพืช หรือสัตว์ หรือจากแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ก็ตาม มีความเป็นพิษไม่มากก็น้อย ก็ต้องมีการประเมิน

 

“ผมถามว่าจะมีความเร่งรีบขนาดไหน แล้วขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากไม่ใช่มาเพื่อออกระเบียบไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนได้แต่ก็ต้องมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง ในอดีตตอนที่มีการทำประชาพิจารณ์การแบนสารเคมี จำได้ พาควอต หรือ คลอร์ไพริฟอส มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการแบนมากกว่า90% แต่ไม่เห็นกรมวิชาการเกษตรเอาตรงนี้มาใช่ประโยชน์ในการนำเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายเลย แล้วมาทำแบบนี้อีก ผมเชื่อว่าต่อให้ไม่เห็นด้วยก็ออกเป็นระเบียบ

 

“ผมอยากจะพูดกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรให้ระวัง เมื่อเค้าไปแล้ว ข้าราชการที่อยู่ต้องรับผิดชอบ และการขึ้นทะเบียนที่รวดเร็วจะทำให้เกิดกระบวนการฟ้องร้องจะตามมาอีกมากเลย ผทมเป็นห่วง คนที่สั่งให้ทำ เดี๋ยวเค้าก็ไป แต่ข้าราชการจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้อง ต่อการดำเนินคดี”

 

เห็นตัวอย่างหนึ่ง "สารไกโฟเซต" วันดีคืนดีก็มีการประกาศขายออนไลน์ใน "ลาซาด้า-ช้อปปี้"  ไม่ได้ เพราะ สถานะ “จำกัดการใช้” ผู้ที่ซื้อ-ใช้จะต้องผ่านการอบรม มีระเบียบ ผู้ซื้อ/ผู้จำหน่าย หน่วยงานราชการต้องมาดูแล ถ้าเกิดผิดข้อบังคับ ข้อระเบีบบ จะมาบอกไม่รู้ไม่ได้ ดีไม่ดีอาจจะถูกฟ้องในเรื่องการละเว้นปฏิบัติตามมาตา 157

 

“ส่วนสารเคมี” เช่นเดียวกันจะขายในออนไลน์ไม่ได้ นั่นคือ “วัตถุอันตราย” จะมีโอกาสได้สารเคมีปลอม เป็นเรื่องของความสูญเสียร้านค้าจะต้องขึ้นทะเบียนผมว่าตรงนี้กรมวิชาการเกษตรจะต้องเข้าไปดูอย่างใกล้ชิดจะมีโอกาสผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องจะทำให้เกิดการฟ้องร้องกรมวิชาการเกษตรกรได้”

 

การขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องด่วน มีเรื่องด่วนหลายเรื่องทีไม่ทำกัน จะทำช่องทางด่วน หรือ fast track  จะเป็นประกาศที่ เป็นภาคบังคับที่ให้ข้าราชการต้องทำ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผมไม่แน่ใจว่าท่านทราบเรื่องนี้แค่ไหน ท่านไม่ได้อยู่ในสายนี้ ก็อยู่คนละกรม ท่านเป็นคนดี

 

แต่ว่าในเรื่องนี้เป็นเรื่องวิชาการ มีกติกา มีเรื่องผลกระทบในหลายด้าน การทำที่ไม่รอบคอบเร่งรัด เป็นอันตรายต่ออนาคต เพราะเมื่อออกประกาศไปแล้วจะมีผลต่อการบังคับใช้ จะเกิดช่องทางทำให้ผู้ที่ต้องการเข้ามาสู่กระบวนการในการขึ้นทะเบียนโดยต้องการผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ  ผู้ที่รับเคราะห์ก็คือ “เกษตรกร” นี่ตกเป็นเหยื่ออยู่เรื่อยเลย รวมทั้ง ผู้บริโภค ด้วย

 

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า อยากจะเตือนข้าราชการไว้ เค้าไปเรายังอยู่ มีตัวอย่างมาเยอะ เพราะการตรวจสอบเข้มแข็งขึ้น ถึงแม้ว่าจะทำอะไรไม่ได้ในรัฐบาลปัจจุบัน แต่ก็จะค้างคาไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีโอกาสแล้วจะโผล่ขึ้นมา อย่างกรณีกระทรวงเกษตรฯ เรื่อง “คดีทุจริตปุ๋ยอินทรีย์” คดีตั้งแต่ปี 2545-46  เป็นคดีตัวอย่างน่าจะพึงสังวร "ข้าราชการ" ก็คือ "ข้าของแผ่นดิน ม่ใช่ของนักการเมือง"

 

 

ดร.จรรยา มณีโชติ

 

เช่นเดียวกับ ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า สิ่งที่กังวลก็คือ การนำสารเคมีไปใส่ในชีวภัณฑ์ จะต้องให้ทางผู้ประกอบการจะต้องรายงานให้ละเอียดว่าใส่สารอะไรลงไป ถ้าไปสุ่มตรวจพบเจอก็สามารถเอาผิดได้ ลักษณะงานจะเหมือน อย. ตรวจคุณภาพ  อย่างไรก็ดีทางสมาคมฯ จึงได้รวบรวมข้อมูล สรุปมาให้ เป็นข้อมูลประกอบการแสดงความคิดเห็น  “OECD” (Organization  for Economic Co-operation and Development) หรือ องค์ก่รเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสมาชิกมาจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 37 ประเทศ

 

 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนจุลินทรีย์สำหรับใช้กำจัดศัตรูพืช (Microbial Pesticides) ไว้ใน OECD SERIES ON PESTICIDES NUMBER 18 :Guidance for Registration Requirements for Microbial Pesticides (http://www.oecd.org/official.../publicdisplaydocumentpdf/...) มี สาระสำคัญ  มีดังนี้

 

1 การขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ (Mpicrobial Pesticides)  ต้องมีข้อมูลมากพอ ที่จะสามารถยืนยันได้ว่าชีวภัณฑ์นั้น คือจุลินทรีย์ชนิดใด มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และยืนยันได้ว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชจริง

 

“ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์”  (ต่างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) สามารถก่อให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเชิงลบได้หลายกรณีเช่น ทำให้เกิดภูมิแพ้ เกิดความเป็นพิษ หรือ ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย  ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในระดับสูง จำเป็นต้องมีข้อมูลประเมินความเสี่ยง ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ ที่นำมาขึ้นทะเบียน จะไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบ

 

2. ข้อมูลที่ต้องยื่นในการขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ อยู่บนหลักเกณฑ์ที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า จุลินทรีย์และเมตาโบไลท์ ต้องไม่ก่อให้เกิดโรคหรือเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายชนิดอื่น ซึ่งมีโอกาสจะสัมผัสสารชีวภัณฑ์ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่สร้าง genotoxin (สารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม) การผสมปรุงแต่งทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการผลิตหรือสูตรผสมพร้อมใช้ ต้องมีความเป็นพิษต่ำและมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

 

3. ชีวภัณฑ์ที่เป็นจุลินทรีย์ทุกชนิด ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยาประกอบการขึ้นทะเบียน โดยมีรายละเอียดแยกตามประเภท ว่าเป็นสารออกฤทธิ์  (Microbial Pest Control Agent, MCPA) และ สารในรูปผลิตภัณฑ์ (Microbial Pest Control Product) แต่โดยทั่วไป คือ  พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oraltkxicity), พิษจากการสูดดม (Acute inhalation toxicity) การระคายเคืองตา (Eye irritation)

 

  - การระคายเคืองผิวหนัง (Skin irritation)

   - อาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin sensitization)

  - และโอกาสเป็นสารก่อการกลายพันธุ์ (mutagenicity)

 

4. นอกจากข้อมูลพิษวิทยาแล้ว ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องยื่นข้อมูลด้านผลกระทบต่อปลา นก ผึ้ง ไส้เดือน สัตว์น้ำวัชพืชน้ำ สาหร่าย และ non target terrestial arthropods ด้วย ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ในการขอขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ที่เป็นจุลินทรีย์ ของสมาชิก 37 ประเทศใน OECD ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย ชิลี โลัมเบีย เอสโตเนีย เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ค

 

เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ฮังการีไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี อิสราเอล ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลัตเวีย ลักเซมเบิร์กเม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์  ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

 

โดย หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย OECD จะสอดคล้องกับ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ  FAO โดยเฉพาะในส่วนของการ เรียกข้อมูลพิษวิทยา ของชีวภัณฑ์ที่เป็นจุลินทรีย์  อ่านรายละเอียดได้ ใน International Code of Conduct on Pesticide Management : Guidelines for the Registration of Microbial,  Botanical and Semiochemical Pest Control Agents for Plant Protection and Public Heath Uses (FAO /WHO 2017 )

 

นอกจากนี้สมาคมฯ  ได้รับข้อมูลของๆประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซียฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ว่า  การขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ ( Bt,  NPV, Nematode, Trichoderma, Beauvari, Metarhizium) สารสกัดจากสะเดา และ ฟีโรโมน ในประเทศทั้งสาม ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยา‼️ เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนทั้งนั้น  “ไม่มีการยกเว้น”

 

นอกจากนั้น การขึ้นทะเบียน Bacillus subtilis ในสหรัฐอเมริกา หน่วนยงานรับผิดชอบการขึ้นทะเบียน หรือ US EPA เรียกข้อมูลพิษวิทยาเช่นกัน โดยมีการระบุเป็นสายพันธุ์หรือ strain เพราะ แบคทีเรีย ชนิดเดียวกัน แต่ต่างสายพันธุ์กัน  อาจมีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชหรือมีโอกาส เป็นพิษต่อคนสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

 

ล่าสุด เมื่อศึกษารายละเอียดในร่างประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง "รายชื่อสารชีวภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จากพืชที่ไม่ต้องการข้อมูลพิษวิทยาประกอบการขึ้นทะเบียน"  ที่ระบุรายชื่อ ของจุลินทรีย์ ไม่ต้องยื่น ข้อมูลพิษวิทยา ประกอบการขึ้นทะเบียน ไว้หลายชนิด‼️ "

 

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมกรมวิชาการเกษตรไม่ยึดหลักเกณฑ์ของ OECD และ FAO❓ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ว่าสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ ที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร จะปลอดภัยต่อคนสัตว์และสิ่งแวดล้อมจริง

 

การลดขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ เป็นเรื่องที่ดี  แต่ไม่ควรยกเว้นการยื่นเอกสารข้อมูลความเป็นพิษ ‼️ การลดขั้นตอนสามารถทำได้ ในส่วนของ ระยะเวลาที่ใช้พิจารณาข้อมูล  หรือ จัดทำ fast track ให้ชีวภัณฑ์ เป็นกรณีพิเศษ ไม่ต้องต่อคิวจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ถึงแม้ว่า ชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ จะมาจากสิ่งมีชีวิต แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้จะปลอดภัย มีหลายชนิดที่เป็นอันตรายเช่นเชื้อราที่สร้างสารก่อมะเร็ง หรือสารพิษ ที่ทำให้คนและสัตว์เสียชีวิต ????หรือล่าสุดไวรัสโคโรนา (COVID-19)  ที่ประชากรทั้งโลกกำลังเผชิญปัญหาการกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่รุนแรงมากขึ้นและทำให้ต้องมีการพัฒนาวัคซีน อย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อเห็น ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง "การขึ้นทะเบียนการออกใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.  ..." ก็เกิดความสงสัยว่า  ประกาศกระทรวงเกษตรแลสหกรณ์ เรื่อง "การขึ้นทะเบียนการออกใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการ  เกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ ๑)  ประกาศออกมาเมื่อไหร่ ทำไมไม่มีใครเคยเห็น ฉบับที่ ๑

 

ถ้าฉบับที่ ๑ ยังไม่ประกาศเป็นทางการ  ทำไมจึงมีร่างประกาศ แบบที่ ๒  ทำไมไม่นำไปรวมกับฉบับที่ ๑‼️  ข้อความในข้อ 5 ที่ระบุว่า เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยาต้องมาจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) ตามมาตรฐาน OECD หรือห้องปฏิบัติการอื่นที่ได้มาตรฐานหรือข้อมูลจากต่างประเทศนั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า

 

 ก. "ห้องปฏิบัติการอื่นที่ได้มาตรฐาน"  หมายถึงห้องปฏิบัติการใช้มาตรฐานอะไร ❓ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในภายหลัง ข. "ข้อมูลจากต่างประเทศ" หมายถึงประเทศไหนบ้าง ควรระบุให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในภายหลัง

 

ดร.จรรยา กล่าวว่า จากการศึกษาแต่ละประเทศไม่มีประเทศไหนที่ประกาศอย่างประเทศไทย ว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอินทรีย์ทั้งประเทศ อย่างนี้ความมั่นคงทางอาหารจะผลิตอะไร ไม่ใช่รับประกันได้ว่าถ้าไม่ใช่สารเคมีแล้วจะไม่มีศัตรูพืช “ชีวภัณฑ์” จะต้องมีการทดสอบ ไม่ใช้ว่าจะปลอดภัย อย่าไปตั้งธงว่าปลอดภัย ทุกวันนี้สารเคมีก็ยังไม่ระวังตัวเลย ยิ่งเป็นชีวภัณฑ์ด้วยไม่ต้องยื่นข้อมูลพิษวิทยาทุกคนก็เข้าใจว่าไม่มีพิษ แต่จริงแล้วมีพิษทุกประเทศยื่นกันหมด มีประเทศไทยไม่ยื่น เป็นเรื่องแปลก แต่จริง

 

หากเป็นอย่างนี้ผู้ค้าสารชีวภัณฑ์ทั่วโลกจะแห่มาขึ้นทะเบียนที่เมืองไทย ยิ่งประกาศว่าประเทศไทยจะเป็นอินทรีย์ 100% ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขนาดสารเคมีตัวใหม่ ยังจะต้องให้ขึ้นทะเบียนประเทศอื่นก่อน ถึงจะมาขึ้นได้ในประเทศไทย แต่เรื่องนี้กลับไม่ทำ ทำเฉพาะเรื่องที่เราสบายใจ แล้วอีกหน่อย "ยาผีบอก" จะเกิดขึ้นราวกับดอกเห็ดในตลาดชีวภัณฑ์ แล้วก็เรื่องราคาอีก  ย้ำอีกที่ ตลก ก็คือ ประกาศฉบับที่1 ไม่เคยเห็นเลย มาโผล่ประกาศฉบับที่2 แล้วทำไมไม่รวมในประกาศที่1 ทีเดียวเลย นี่ข้อสังเกตจากสมาคม

 

 

ธีระ วงษ์เจริญ

 

นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานอนุกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า  ดีสำหรับพ่อค้า สามารถเข้าสู่ตลาดเลย แต่เกษตรกรกลายเป็นลูกค้า เกษตรกรไม่มีโอกาสหรอกเพราะไม่ได้ทำมาค้าขาย เกษตรกรก็คือ “เกษตรกร” ไม่มีโอกาสที่จะขยับขึ้นไปเป็นผู้ค้าได้เลย จะเหมือนกับ เหล้าขาว ประเด็นเดียวกับเหล้าขาวเลย ก็คือเปิดโอกาสให้ชุมชุนผลิตเหล้าขาวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พอสุดท้ายชุมชนก็ผลิตได้วันละ 500 ขวด แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตได้วันละ 5 หมื่นขวด อัตราภาษีเท่ากัน ตอนนั้น 29% ต่างคนต่างเสียภาษีเท่ากัน

 

แต่ระบบการผลิตมากและการผลิตน้อยต้นทุนต่างกัน ต่ำกว่าและก็มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด ซื้อ 1 แถม 1 หรือ ซื้อเหล่าพ่วงเบียร์ ประเด็นนี้ก็มาประเด็นเดียวกัน ถ้ามาประเด็นนี้ก็จะซื้อเหล่าพ่วงเบียร์ อาทิ ซื้อปุ่ยแถมชีวภัณฑ์ หรือซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแถมชีวภัณฑ์ เพราะฉะนั้นจะตกอยู่ในมือของพ่อค้ารายใหญ่ เกษตรกรทำอยู่แล้วปกติ ไม่ได้เดือดร้อน เพราะไม่ได้ทำขาย ก็ทำเล็กๆน้อย

 

โดยข้อเท็จจริงเกษตรกรทำอยู่แล้วน้ำหมักชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ใช้กันเองอยู่ และแลกเปลี่ยนกัน หากขายกันก็ถูกๆ ลิตรละ 30-40 บาท ไม่ได้ผลกระทบอะไรเลย แต่ในเชิงการค้าก็ถือว่าทำได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด เพราะฉะนั้นการค้าขายในตลาดจะได้ประโยชน์

ระบบนี้ในอนาคตจะต้องเก็บภาษี หรือค่าพรีเมี่ยม เพราะสารชีวภัณฑ์ อย่าลืมว่า  เปิดของผิดกฎหมายหรือใต้ดิน ไม่ได้รับการยอมรับ แล้วจะมาตีตราให้ได้รับการยอมรับ ก็จะทำให้การเข้าสู่ตลาดง่าย ต่อไปก็จะยึดตลาดทั้งหมด ส่วนของเกษตรกรที่ผลิตกันเองจะกลายเป็นของไม่ได้มาตรฐาน วิธีการผลิตแบบไม่ได้มาตรฐานก็จะกลายเป็นของเถื่อน ต่อไปในอนาคตก็จะต้องออกข้อกำหนด “สารชีวภัณฑ์” จะเป็นอย่างไร

 

โรงงานเป็นอย่างไร การบรรจุ/การติดฉลาก ก็จะตามมาเรื่อยๆ โดยเป็นการเปิดกฎหมายแม่ออกมาก่อน แล้วจะมีกฎหมายรอง หรืออนุบัญญัติ ออกมาเรื่อยๆ มาบังคับ สุดท้ายของเกษตรกรที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน และใช้ไม่ได้ ใครจะทำเกษตรอินทรีย์ ชีวภัณฑ์มาจากไหนที่มาที่ไป ไม่มีการรับรองมาตรฐานยุ่ง ทุกอย่างจะกลายเป็นปัญหาหมด เพื่อที่จะผูกขาดการตลาด

 

สร้างมาตรฐานขึ้นมาสารชีวภัณฑ์ นี่คือการกวาดไล่ต้อนข้าทาสบริวารให้มาอยู่ในอาณัตทั้งหมด เหมือนกัญชาเสรี เสรีตรงไห สุดท้ายก็ออกกฎหมายลูกมาสกัดกรมวิชาการเกษตร เปิดทางให้กับพ่อค้าทำการค้าขายมากกว่าและโดยอาชีพ กรมวิชาการเกษตร ทำแบบนี้มาโดยตลอด เคยทำอะไรเพื่อเกษตรกรไหม ออกกฎกติกาก็เพื่อนายทุนทั้งนั้น

 

วิชชุดา รัตนากาญจน์

 

ด้าน นางวิชุดา  รัตนากาญจน์ นายกสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ ชีวภัณฑ์” ต้องมีการตรวจ เพราะไม่ทราบว่า 1.ตัวชีวภัณฑ์มีประสิทธิภาพขนาดไหน เพราะ ชีวภัณฑ์ความ จะต้องมีอายุ มีปริมาณตัวที่ออกฤทธิ์จะเป็นเชื้อจุลินทรีย์อะไรก็แล้วแต่จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสม บางครั้งหากเก็บไว้นาน อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมหรือโดนความร้อนจะลด หากเราไปใช้ประสิทธิภาพก็จะไม่ตรงกับฉลากปริมาณชีวภัณฑ์ กรณีจุลินทรีย์ ตอนที่ผลิตเริ่มต้นบางครั้งใช่ บางครั้งไม่ใช่ อาจจะเอาไปเก็บไม่ได้ โดนแสง ตัวจุลิทรีย์จะลดปริมาณลง จะไม่ได้ประสิทธิภาพ

 

ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร  เน้นการตรวจสอบพิษวิทยา เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ปริมาณต้องได้ และต้องมีประสิทธิภาพในการควบคุมจริงๆ ตามกระบวนการขึ้นทะเบียนถูกต้องแล้ว ที่จะต้องควบคุมหลายอย่าง จะต้องไปควบคุมโรคและแมลง และปริมาณที่กำหหนดไว้ใช้ได้จริง พราะแต่ละล็อตการผลิตอาจจะได้ หรือไม่ได้ ไม่แน่นอนเป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิตหรือจุลินทรีย์ ต้องยอมรับว่าจุลินทรีย์บางครั้งก็มีพิษไม่มาก บางครั้งก็มีพิษ ดังนั้นเห็นว่าควรที่จะต้องตรวจพิษวิทยา

 

ขณะที่แหล่งข่าวคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์วุฒิสภา กล่าวว่า ที่เห็นออกประกาศมา 17 ชีวภัณฑ์ไม่ต้องตรวจพิษวิทยา เป็นชนิดที่กรมวิชาการเกษตร  ดูแลอยู่แล้ว คือถ้ามีชีวภัณฑ์อื่นที่ยังไม่มีผลการทดลองก็ต้องทดลองและทดสอบประสิทธิภาพอยู่แล้ว ที่ออกประกาศในครั้งนี้ดูรายละเอียด เป็นชีวภัณฑ์ที่กรมทำอยู่แล้ว จะไปทดสอบประสิทธิภาพทำไมอีก แค่นำงานของกรมมาขยายผล

 

ดร.มานิตา คงชื่นสิน

 

สอดคล้องกับ ดร. มานิตา คงชื่นสิน นายกสมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวเห็นด้วยกับ กรมวิชาการเกษตร ที่ไม่ต้องตรวจพิษวิทยา เพราะเป็น “commond” สามัญปกติ ก็คือโลกนี้ใช้กันทั้งโลกแล้ว จึงไม่สงสัยว่าตัวนี้จะเป็นอันตราย นักกีฏวิทยาโลกพืช หรือคนที่เกี่ยวกับทางด้านนี้จะรู้หมดว่า “ชีวภัณฑ์” ไม่มีวันเป็นโรคกับคน ไม่มีวันที่จะทำอันตรายกับพืช

 

โดยเฉพาะข้อมูลในนั้นก็เกิดจากงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรหลายตัว ใน 17 ตัว ทางกรมเราทำกันเองมากับมือ อยากให้ออกไป และมีคนมารับเทคโนโลยีเหลือเกิน ยกตัวอย่าง เส้นเดือนฝอย กรมวิชาการเกษตรก็ทำ คือทุกๆ อย่างที่เราศึกษามา พร้อมที่จะเอาไปผลิตเป็นเชิงพาณิชย์หรือ เพียงแต่ว่าเทคโนโลยีสลับซับซ้อน เพราะฉะนั้นการต่อยอดเลยยังไปไม่ถึงเกษตรกรเท่าที่ควร ทำไมต่างประเทศพร้อม ก็อาจจะเป็นเพราะเทคโนโลยีล้ำสมัย มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดี นักธุรกิจเข้าใจจะมาลงทุนในเรื่องนี้ แต่ว่านักธุรกิจไทยยังคิดว่ายุ่งยาก คิดว่ายาก ดังนั้นจะเป็นตัวช่วย จูงใจให้คนที่สนใจจะผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ เห็นด้วยไม่ต้องตรวจพิษวิทยา

 

อย่างไรก็ดีเมื่อผ่านขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นแล้ว กรมวิชาการเกษตร  ก็จะส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเห็นชอบหรือไม่ ต้องรอดูตอนต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง