กูรูมั่นใจ RCEP  จะเป็นเครื่องมือ ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

16 ธ.ค. 2563 | 10:28 น.

พาณิชย์ เปิดเวทีใหญ่สัมมนาประชาพิจารณ์ RCEP ในกรุงเทพฯ มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ เกษตรกร ผู้ประกอบการ SME นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมคับคั่ง กูรูเชื่อ RCEP จะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ จัดสัมมนาประชาพิจารณ์ ‘เจาะลึกความตกลง RCEP และการเตรียมใช้ประโยชน์-ปรับตัว’ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล สร้างความตระหนักรู้และความข้าใจในความสำคัญของความตกลง RCEP เตรียมความพร้อมในการใช้ประโยชน์และผลกระทบจากความตกลง RCEP พร้อมรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆซึ่งมีผู้แทนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ เกษตรกร ผู้ประกอบการ SME นักวิชาการ และภาคประชาสังคม เข้าร่วมกว่า 150 คน พร้อมทั้ง มีการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ผู้ที่สนใจสามารถแสดงความเห็นและรับชมการสัมมนาได้ในวงกว้าง

กูรูมั่นใจ RCEP  จะเป็นเครื่องมือ  ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อร่วมถกในประเด็นต่างๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การค้าสินค้า กฎถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง และมาตรการเยียวยา กลุ่มที่ 2 การค้าบริการ การลงทุน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มที่ 3 ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันทางการค้า การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในแต่ละกลุ่มได้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และแนวทางที่จะปรับตัวให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากความตกลง และเชื่อว่า RCEP จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคจากการระบาดของโควิด-19 ได้

กูรูมั่นใจ RCEP  จะเป็นเครื่องมือ  ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

กูรูมั่นใจ RCEP  จะเป็นเครื่องมือ  ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

ทั้งนี้ความตกลง RCEP จะทำให้การค้าระหว่างกันง่ายขึ้น มีการปรับพิธีการศุลกากรให้มีความชัดเจน รวดเร็ว โปร่งใส มีการคุ้มครองและอำนวยความสะดวกการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสมาชิก RCEP อีกทั้งช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ในเบื้องต้น ผู้ประกอบการและเกษตรกรของไทยจึงควรเร่งเตรียมพร้อมและเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันที่อาจจะเพิ่มขึ้น ตลอดจนศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างแต้มต่อในการทำการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความตกลง RCEP จะช่วยสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าของไทยเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประมง แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด น้ำมะพร้าว น้ำส้ม อาหารแปรรูป ผักผลไม้แปรรูป กระดาษ ส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เส้นใย เครื่องแต่งกาย รถจักรยานยนต์ และสินค้าอื่น ๆ อีกหลายรายการ

กูรูมั่นใจ RCEP  จะเป็นเครื่องมือ  ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

หลังการสัมมนาประชาพิจารณ์ที่กรุงเทพฯ  ในครั้งนี้ กรมฯ ยังมีแผนเดินสายจัดงานสัมมนาประชาพิจารณ์ในภูมิภาค โดยจะประเดิมจัดที่ภาคเหนือ (พิษณุโลก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) และปิดท้ายด้วยภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี) เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง และเตรียมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก RCEP อย่างเต็มที่”