‘หยง’พลิกเกมธุรกิจ พลิกอนาคต

20 เม.ย. 2562 | 03:28 น.

"หยง"  ในวงการค้าข้าวบทบาทหน้าที่เป็นนายหน้า หรือโบรกเกอร์ ที่จะป็นตัวแทนของโรงสีในการขายข้าวสารให้แก่ผู้ส่งออกหรือพ่อค้าขายส่งภายในประเทศ โดยพ่อค้ามักใช้เป็นคนรวบรวมข้าวสารชนิดต่างๆ ตามความต้องการ ของตนเอง ซึ่งรายได้ของมากจากการซื้อขายข้าวในอัตรา 1% ของมูลค่าข้าว  เมื่อการซื้อขายแล้วจะต้องดูแลให้มีการขนส่งข้าวจากโรงสีไปยังโกดังของพ่อค้าขายส่งในประเทศ หรือโกดังของพ่อค้าส่งออกให้ได้ครบถ้วนตามจำนวนน้ำหนักที่ตกลงกันและเป็นข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ไม่มีการปลอมปน  แต่ทำไม? ปัจจุบัน  “ธันยนันท์ อริยขจรนนท์”  นายกสมาคมค้าข้าวไทย (หยง) มีสถานะที่โดนบีบออกจากห่วงโซ่ค้าข้าว “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษถึงอนาคตหยงจะเป็นอย่างไร จุดจบจะเหมือน “ท่าข้าวกำนันทรง” หรือไม่

 

ตัดพ้อ “โรงสี”คิดว่า “หยง” เป็นต้นทุน

‘หยง’พลิกเกมธุรกิจ พลิกอนาคต

นางสาวธันยนันท์ กล่าวว่า ทุกคนในวงจรข้าวคิดว่า “หยง” คิดเป็นต้นทุน จริงๆ  แต่ขอให้พิจารณาให้ดีแค่ 1% ของมูลค่าข้าวนับว่าน้อยมาก แต่ความรับผิดชอบมหาศาลเลย ยอมรับว่าค่อนข้าง “งง” ว่าในแต่ละห่วงโซ่คิดอย่างไรกับเราโดยเฉพาะ “โรงสี”  ทำไมคิดว่าเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น  ทั้งที่จ่ายเงินสดซื้อล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วจะดูแลสินค้าทั้งหมด  บางทีเมื่อเกิดปัญหาข้าวไม่ตรงคุณภาพ “หยง” ก็สามารถที่จะเคลียร์ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง บางครั้ง "คนซื้อ" กับ "คนขาย" ชนกันเอง พูดคำว่า "ไม่" คำเดียวต้องกลับบ้านเลยจะตื้อต่อหรือไม่  แต่พวกเรามีความสามารถมากกว่านั้นที่จะสามารถทำให้ลงข้าวเข้าโกดังของพ่อค้าได้ลดอัตราการสูญเสียให้น้อยลง ถึงแม้จะมีการตัดราคากันบ้าง แต่เมื่อเทียบกับการสูญเสียแล้วน้อยมากถ้าโรงงสีนำไปขายตรงเอง

‘หยง’พลิกเกมธุรกิจ พลิกอนาคต

“ความจริงๆ ความเสี่ยงหากเกิดอะไรขึ้นคุ้มไหม ตอบได้ทันทีว่าไม่ได้คุ้มอะไรเลย แต่ว่าทำมาเป็นประเพณีแล้ว กลายเป็นว่าสถานะตอนนี้ที่ยังยึดอาชีพนี้อยู่เป็นหน่วยกล้าตาย มีความเสี่ยง รองรับให้กับโรงสี อยากจะถามกลับว่าคิดอย่างไรหรือถึงอยากให้เราออกจากวงจรขายตรงเอง เจอปัญหาไหม ก็เจอเหมือนกับหยง แต่ถ้าผ่านหยงอย่างน้อยก็มีคนมาช่วยรับความเสี่ยง ไม่ต้องแบกความเสี่ยงเต็ม 100% ดีกว่าหรือไม่ จริงๆ “หยง” เกิดมาเพื่อเป็นนายประกันให้แล้วยังมากีดกันอีก ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็นอย่างนี้”

 

หลุดวงจร ชี้จะมีอาชีพใหม่สวมแทน

นางสาวธันยนันท์ กล่าวว่า หากอนาคตโดยเฉพาะหยงที่ไม่ใช้บริษัทในเครือแล้ว จะค่อยปิดกิจการลง เชื่อจะมีอาชีพใหม่โผล่ขึ้นมาแทนที่จะมีพนักงานขายอิสระเก็บเงินได้น้อยลงไปอีก แต่ว่าความรับผิดชอบเป็นศูนย์ เกิดอะไรขึ้นความรับผิดชอบไม่มี แต่ไปตามให้ สุดท้ายก็ไม่ได้ แต่ถ้าคิดจะประหยัดคุ้มหรือไม่กับมูลค่าข้าวขายครั้งหนึ่งเป็น 20 ล้านบาทต่อครั้ง แต่คุณเลือกที่จะจ่ายไม่กี่บาท โดยเลือกที่จะไปรีบความเสี่ยงตรงนั้นเองทั้งหมด

‘หยง’พลิกเกมธุรกิจ พลิกอนาคต

“หยง” เกิดขึ้นมายอมรับความเสี่ยงอยู่แล้ว ทำไมจึงคิดว่าเราเป็นตัวดึง หรือเป็นตัวแบ่งผลประโยชน์ แต่หากเป็นโบรกเกอร์อื่น เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ทำไมไม่คิดเป็นต้นทุน ? ที่ผ่านมาทางสมาคมก็ได้มีการนัดประชุมบ่อยครั้งเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รวมเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนข่าวสารจะทำให้ทราบทันปัญหา รู้สัญญาณเร็วขึ้นหากคู่ค้าขายแล้ว การจ่ายเงินเก็บมีความล่าช้าลงเรื่อยๆ ก็จะมีการเตือนกระซิบเป็นวงในจะได้ข่าวเร็วกว่านี้จะช่วยลดความเสียหายลงได้  เพราะถ้ารู้ช้าปิดบริษัททิ้งเงินก็ตามคืนยาก มาแลกเปลี่ยนว่าคู่ค้าเป็นอย่างไร

‘หยง’พลิกเกมธุรกิจ พลิกอนาคต

ยกตัวอย่าง ผู้ส่งออกเครดิตดี โรงสีเองก็ต้องการไปขายโดยตรง แต่อย่างพวกเราเป็นหน่วยกล้าตายจะค้าขายในระดับรองๆ ก็มีความเสี่ยงสูงบางทีไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น  ยิ่งปัจจุบันนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย บอกว่าปัจจุบันไม่มีวางเงินแอลซีแล้ว ดังนั้นหากเจอปัญหาตูมเดียว เจ้าเล็กๆ ก็หงายเหมือนกัน นี่แหละคือปัญหา อย่างไรก็ดีก็ยังมีบางโรงสีที่ต้องการลดความเสี่ยงมาใช้บริการซื้อขายผ่านหยงอยู่ เพราะคิดว่าดีกว่า อย่างน้อยได้เงิน 80-90% อยู่ในมือแล้วสบายใจมากว่าที่จะไปวัดดวงกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้นหยงจะเป็นกันชนในระดับหนึ่งจึงอยากให้พิจารณาตรงนี้กันหน่อยว่าขอให้ "หยง"ได้มีที่ยืนอยู่ต่อไป