กรุงศรีมองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.25 บ.ดอลลาร์

29 ต.ค. 2561 | 07:37 น.
กรุงศรีมองเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.25 บ.ดอลลาร์ คาดผลกระทบสงครามการค้ายังกดดันค่าเงิน

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.25 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 33.12 บาทต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังตลาดผิดหวังตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทย ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็วท้ายสัปดาห์ตามกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1.1 หมื่นล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 7.2 พันล้านบาท ส่วนเงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ยกเว้นเงินเยน ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงเทขายอย่างหนักท่ามกลางความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจเอกชนและเศรษฐกิจโลก ส่วนธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) คงนโยบายตามเดิมและยืนยันว่าโครงการซื้อสินทรัพย์ 2.6 ล้านล้านยูโรจะสิ้นสุดลงในปีนี้ พร้อมทั้งส่งสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังเดือนกันยายน 2562

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่านักลงทุนจะจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ เช่น การใช้จ่ายส่วนบุคคล กิจกรรมภาคบริการ รวมถึงการเติบโตของค่าจ้าง เพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นอกจากนี้ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) รวมถึงประเด็นต่างๆ ที่รุมเร้าบรรยากาศการลงทุน อาทิ ผลกระทบของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สถานการณ์ตลาดพันธบัตรอิตาลี ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเจรจา Brexit ความผันผวนของตลาดหุ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ล้วนเป็นปัจจัยที่จะชี้นำการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนจะติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือนตุลาคมที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ขณะที่ค่าเงินบาทจะยังคงเผชิญแรงกดดันจากตัวเลขยอดส่งออกเดือนกันยายนซึ่งหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน และเริ่มได้รับผลกระทบเชิงลบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สงครามการค้า และส่วนหนึ่งอาจสะท้อนการเร่งส่งออกในช่วงก่อนที่มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ยอดนำเข้าบ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ เราคาดว่าภาวะเช่นนี้อาจสร้างความท้าทายมากขึ้นต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงิน แม้เราจะยังมีมุมมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 1.75% ในปีนี้เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพซึ่งอาจรุนแรงขึ้นในอนาคต

[caption id="attachment_338754" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]