การสร้างความมั่นคงทางธัญญาหารของจีน

10 เม.ย. 2565 | 02:30 น.

การสร้างความมั่นคงทางธัญญาหารของจีน : คอลัมน์บทความ โดย พล.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,773 หน้า 5 วันที่ 10 - 13 เมษายน 2565

พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธ ศาสตร์และการป้องกันประเทศ ได้ประมวล และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการสร้างความมั่นคงทางธัญญาหารของจีน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2022 (พ.ศ. 2565) ตามแผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบทของจีน (พ.ศ. 2561-2565) 

 

ด้วยการพัฒนาการทำเกษตรและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบท ซึ่งจีนจะมีความพร้อมในระบบข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่พื้นที่เพาะปลูก การปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศและการควบคุมการเกษตรแบบแม่นยำ

 

โดยเฉพาะการสร้างเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวและธัญพืช รวมทั้งเขตคุ้มครองการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญตลอดจนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตโดยมีระบบการบริหารจัดการที่พร้อมและเป็นการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ อันประกอบด้วย  

 

 

1. การกำหนดแผนในการสร้างพื้นที่ 2 เขต คือ เขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวและธัญพืช และเขตคุ้มครองการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยจะเป็นพื้นที่ทางการเกษตรถาวรระยะยาวสำหรับการเพาะปลูกพืชที่กำหนด และไม่สามารถนำไปใช้ในการเกษตรด้านอื่นได้ 

 

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แนะในการสร้างเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวและธัญพืช (ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด) เป็นพื้นที่ 375 ล้านไร่ และเขตคุ้มครองการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ (ถั่วเหลือง ฝ้าย เมล็ด rapeseed อ้อย และยางพารา) เป็นพื้นที่ 99.17 ล้านไร่

 

2. การกำหนดโซนเพาะปลูกในพื้นที่ 2 เขตทั่วประเทศจีน จะพิจารณาจากสภาพพื้นที่การเกษตรเดิมที่เคยทำการปลูกพืชชนิดนั้นๆ โดยในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ในการเพาะปลูกพืชชนิดนั้นไม่ลดลง สภาพนิเวศวิทยาอยู่ในสภาพดี สภาพดินและนํ้าอุดมสมบูรณ์ ความลาดเอียงของพื้นที่น้อยกว่า 15 องศา เลือกพื้นที่ให้ต่อเนื่องกันเพื่อพัฒนาเป็นแปลงใหญ่ 

 

 

การสร้างความมั่นคงทางธัญญาหารของจีน

 

 

โดยหากเป็นที่ราบรวบรวม พื้นที่ไม่น้อยกว่า 208.33 ไร่ หากเป็นที่บริเวณภูเขารวมพื้นที่ใม่น้อยกว่า 20.83 ไร่ ทั้งนี้หากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการพัฒนาการเกษตรมาตรฐานระดับสูงอยู่แล้ว ก็จะได้รับคัดเลือกก่อน หากเป็นพื้นที่เพาะปลูกยาง ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอากาศที่หนาวเย็น และมีความสูงจากระดับนํ้าทะเลน้อยกว่า 900 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการกรีดยาง  

 

 

3. การดำเนินการสร้างพื้นที่ 2 เขต เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจะส่งเสริมให้เป็นการทำการเกษตรแบบมาตรฐานสูง สร้างและพัฒนาสาธารณูปโภคด้านนํ้าที่ใช้ในการเกษตรและการทำระบบให้เข้าสู่แปลงโดยชลประทานประหยัดนํ้า 

 

การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีและให้ผลผลิตสูง ยกระดับให้เป็นการทำ การเกษตรโดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีใช้ระบบอินเทอร์เน็ต และ cloud รวมถึงระบบข้อมูล big data เข้ามาร่วมด้วย

 

4. การสร้างการรับรู้ด้าน นโยบายเพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเข้าร่วม โดยรัฐบาลกลางและท้องถิ่นมีนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุน และให้หลักประกันในการใช้พื้นที่ในการพัฒนาการเกษตรเพื่อสร้างเขตพื้นที่ผลิตข้าวและธัญพืชและพืชเกษตรที่สำคัญในระยะยาว 

 

เช่น การสนับสนุนก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อใช้ในการเกษตรจนถึงระดับแปลง การหาแหล่งเงินกู้ยืมให้กับเกษตรกร/ผู้ ประกอบการที่ร่วมโครงการ และการประกันความเสียหายในการเพาะปลูกเป็นต้น 

 

5. รัฐบาลระดับมณฑลจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการเลือกพื้นที่ 2 เขต ที่นำเสนอจากเมืองและอำเภอต่างๆ ในมณฑล แล้วจึงส่งข้อมูลให้กับกระทรวงเกษตรและกิจการ ชนบท คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสำเนาให้กับกระทรวงการคลัง กระทรวงที่พักอาศัยและการพัฒนาเขตเมือง-ชนบท และกระทรวง|ทรัพยากรนํ้า

 

โดยกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ จะเป็นเป็นผู้ชี้แนะการสร้างแผนที่อิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูล เพื่อสามารถรวมให้เป็นภาพใหญ่ของทั้งประเทศ และจะต้องรายงานผลการดำเนินงานการจัดสร้างเขตพื้นที่ให้กับคณะรัฐมนตรีจีนทราบด้วย

 

(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.scio.gov.cn/.../Document/ 1666228/1666228.htm)