เบื้องหลังความตึงเครียด “จีน-ไต้หวัน” เทียบแสนยานุภาพของ 2 ชาติ

25 พ.ค. 2567 | 19:00 น.

ความตึงเครียด “จีน-ไต้หวัน” เป็นที่จับตามอง ขณะที่การเปรียบเทียบศักยภาพทางการทหารของทั้งสองฝ่ายกลายเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งจุดอ่อนกำลังรบของกองทัพประชาชนจีนและกองทัพไต้หวัน

ความร้อนเเรงอีกเหตุการณ์ในขณะนี้ ก็คือ จีนเเละไต้หวัน ล่าสุดจีนประกาศยุติการซ้อมรบเป็นเวลา 2 วันรอบเกาะไต้หวันเเล้ว หลังทดสอบความสามารถในการยึดครองเกาะไต้หวัน โดยมุ่งเป้าไปที่ ประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ ของไต้หวัน เข้ารับตำแหน่งและกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตน ซึ่งจีนประณามว่าเป็นความต้องการอิสรภาพ นอกจากนั้นยังมุ่งเป้าไปที่ท่าเรือและสนามบิน เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเกาะแห่งนี้

การฝึกซ้อมดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า Joint Sword-2024A  กระทรวงกลาโหมไต้หวัน ระบุว่า เครื่องบินของจีนทั้งหมด 111 ลำ และเรือรบหลายสิบลำได้เข้าร่วมการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน 

การฝึกครั้งนี้ตอกย้ำสิ่งที่เป็นหัวใจของประเด็นนี้ นั่นคือการอ้างสิทธิของจีนเหนือไต้หวันที่ปกครองตนเอง

ประวัติศาสตร์ระหว่างจีนและไต้หวัน

มีการสันนิษฐานว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกๆ ที่รู้จักในไต้หวันคือชนเผ่าออสโตรนีเซียน ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากจีนตอนใต้ในปัจจุบัน บันทึกของจีนดูเหมือนจะกล่าวถึงเกาะนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 239 เมื่อจักรพรรดิส่งกองกำลังสำรวจเข้าไปที่นั่น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จีนใช้เพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของตน

หลังจากช่วงเวลาสั้นๆ ในฐานะอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ไต้หวันก็ถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิงของจีน ก่อนที่จะถูกยกให้กับโตเกียว หลังจากที่ญี่ปุ่นชนะสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมจำนนและละทิ้งการควบคุมดินแดนที่ยึดมาจากจีน ต่อมาไต้หวันได้รับการพิจารณาอย่างเป็นทางการว่าถูกครอบครองโดยสาธารณรัฐจีน (ROC) ซึ่งเริ่มปกครองโดยได้รับความยินยอมจากพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร

ไม่กี่ปีถัดมาก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในจีน กองทัพของเจียงไคเช็คซึ่งเป็นผู้นำในขณะนั้นก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตง

เจียง และพรรคของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง (KMT) และผู้สนับสนุนของพวกเขา ราว 1.5 ล้านคน หลบหนีไปไต้หวันในปี 2492 เจียงสถาปนาระบอกเผด็จการที่ปกครองไต้หวันจนถึงทศวรรษ 1980 หลังจากการเสียชีวิตของเขา ไต้หวันเริ่มเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยและจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีน

ความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อไต้หวันผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการเยือนและการลงทุนในจีน จีนเสนอทางเลือกที่เรียกว่า "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ซึ่งระบุว่าจะช่วยให้ไต้หวันมีเอกราชได้อย่างมาก หากตกลงที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของปักกิ่ง

ระบบนี้เป็นรากฐานของการคืนสู่จีนของฮ่องกงในปี 1997 ไต้หวันปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลให้ปักกิ่งยืนกรานว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนของไต้หวันผิดกฎหมาย แต่ตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการจากจีนและไต้หวันยังคงมีการเจรจาอย่างจำกัด

ปี 2000 ไต้หวันเลือก "เฉิน สุ่ยเปียน" เป็นประธานาธิบดี ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับจีนเป็นอย่างมาก เพราะนายเฉินและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) สนับสนุน "ความเป็นอิสระ" อย่างเปิดเผย เเละได้ประกาศลดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนลงในปี 2008 และเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกภายนอกมากขึ้น

ปี 2018 จีนเพิ่มแรงกดดันต่อบริษัทต่างชาติ หากไม่ระบุข้อมูลลงไปว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนบนเว็บไซต์ จะปิดกั้นไม่ให้ไปทำธุรกิจในประเทศจีน

ในปี 2020 ไช่ อิงเหวิน ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบได้บั่นทอนลง จีนยังตัดการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการกับไต้หวันหลังจากที่นางไช่เข้ารับตำแหน่ง โดยกล่าวว่าเป็นเพราะปฏิเสธที่จะรับรองแนวคิดเรื่องชาติจีนเดียว เเต่ไช่ อิงเหวิน ไม่เคยบอกว่าจะประกาศเอกราชของไต้หวันอย่างเป็นทางการ โดยยืนยันว่าไต้หวันเป็นอิสระอยู่แล้ว

ระยะเวลาของ ไช่ อิงเหวิน ใกล้เคียงกับ สี จิ้นผิง ซึ่งคำกล่าวอ้างของจีนเริ่มก้าวร้าวมากขึ้น โดยย้ำข้อความที่ว่าจีนจะ "รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน" กับไต้หวันอย่างแน่นอน และได้กำหนดให้ปี 2049 เป็นเป้าหมายในการบรรลุความฝันของจีน

เทียบแสนยานุภาพทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวัน ปี 2024 

ทหารประจำการ

  • จีน  2,035,000  นาย  
  • ไต้หวัน 215,000 นาย 

กองกำลังสำรอง

  • จีน 510,000 นาย
  • ไต้หวัน 2,310,000 นาย

เครื่องบิน

  • จีน  3,304 ลำ
  • ไต้หวัน  750 ลำ

เครื่องบินขับไล่

  • จีน  1,207 ลำ 
  • ไต้หวัน  286 ลำ 

เครื่องบินลำเลียง

  • จีน  286 ลำ
  • ไต้หวัน 19 ลำ

เฮลิคอปเตอร์

  • จีน  913 ลำ
  • ไต้หวัน  236 ลำ 

เฮลิคอปเตอร์โจมตี

  • จีน  281 ลำ
  • ไต้หวัน 91 ลำ

เรือรบทุกชนิด

  • จีน  730 ลำ
  • ไต้หวัน 93 ลำ

เรือบรรทุกเครื่องบิน

  • จีน 2 ลำ
  • ไต้หวัน ไม่มี

เรือดำน้ำ

  • จีน  61 ลำ 
  • ไต้หวัน 4 ลำ

เรือพิฆาต

  • จีน 49 ลำ
  • ไต้หวัน 4 ลำ

รถถัง

  • จีน  5,000 คัน
  • ไต้หวัน รถถัง 1,110 คัน

ยานเกราะ

  • จีน 174,300 คัน
  • ไต้หวัน  3,472 คัน

ปืนใหญ่อัตตาจร (self-propelled artillery)

  • จีน 3,850 กระบอก
  • ไต้หวัน 300 กระบอก

ฐานยิงจรวดเคลื่อนที่ (mobile rocket projectors)

  • จีน 3,180 ฐานยิง
  • ไต้หวัน  223 ฐานยิง

เบื้องหลังความตึงเครียด “จีน-ไต้หวัน” เทียบแสนยานุภาพของ 2 ชาติ

ที่มา 

Global Firepower 2024