เชียงคานสุดล้ำสมาร์ทซิตี้ สายไฟลงดินตอบโจทย์มั่นคงพลังงาน-เที่ยวอาเซียน

20 ส.ค. 2566 | 03:16 น.

จุฬาโมเดล หม้อแปลง-สายไฟฟ้าลงดิน ดัน “เชียงคาน”สถานที่ท่องเที่ยวล้ำสมัยในอาเซียน กฟภ.-วสท.-ชี้ตอบโจทย์สมาพันธ์วิศวกรอาเซียน ต้นแบบส่งเสริมการท่องเที่ยว-จัดการความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาค เพิ่มศักยภาพเป็นสมาร์ทซิตี้-โลว์คาร์บอน

นายคมกฤษ  ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย  เผยว่า จากที่อำเภอเชียงคาน ของจังหวัดเลย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มีวัฒนธรรมริมโขง และมีบ้านไม้เก่าแก่อายุ 100 ปี สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 4-5 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นพันล้านต่อปี แต่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัยและความมั่นคงด้านพลังงาน

ดังนั้นจึงเห็นว่าเชียงคานควรเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และปรับทัศนียภาพให้สวยงาม โดยนำร่องให้เกิดระบบไฟฟ้า นำสายใต้ดินและหม้อแปลงไฟฟ้าลงดิน เพื่อให้เกิดความทันสมัย คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติมีความปลอดภัยจากอัคคีภัย ช่วยลดการก๊าซคาร์บอน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างเสถียรภาพจากสายไฟฟ้าลงดินมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศที่มีสายไฟบดบังหน้าร้านค้า หน้าบ้าน และสถานที่ท่องเที่ยว ดังนั้นระบบไฟฟ้าใต้ดิน “จุฬาโมเดล” จึงตอบโจทย์นวัตกรรมควบคู่วัฒนธรรม

เชียงคานสุดล้ำสมาร์ทซิตี้ สายไฟลงดินตอบโจทย์มั่นคงพลังงาน-เที่ยวอาเซียน

นายประพันธ์  สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. /PEA)  กล่าวว่า พร้อมหนุนเชียงคานจุฬาโมเดล โดยได้ส่งทีมงานของ กฟภ.ไปสำรวจและออกแบบ และสนับสนุนวิทยากรเรื่องเคเบิลใต้ดินถนนคนเดินเชียงคานให้กับสมาพันธ์วิศวกรอาเซียน (AFEO) 10 ประเทศ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นการนำเสนอเรื่องการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน การเพิ่มศักยภาพการเป็นเมือง Smart City Low Carbon Underground Cable  ในการโชว์ศักยภาพการเป็นมหานครแห่งแรกในอาเซียน โครงการเชียงคาน จุฬาโมเดล Submersible Transformer

เชียงคานสุดล้ำสมาร์ทซิตี้ สายไฟลงดินตอบโจทย์มั่นคงพลังงาน-เที่ยวอาเซียน

นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช  รองผู้อำนวยการกองออกแบบระบบไฟฟ้า กฟภ. กล่าวว่า กฟภ. ชูโมเดลจุฬาฯ นำร่องหม้อแปลงใต้ดินที่เชียงคาน เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้ทันสมัย โดยใช้หม้อแปลงใต้ดินตอบโจทย์การพัฒนาเชียงคานสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน สร้างความทันสมัย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม มีวิถีชีวิตที่สงบของผู้ที่อาศัยในท้องถิ่น

เชียงคานสุดล้ำสมาร์ทซิตี้ สายไฟลงดินตอบโจทย์มั่นคงพลังงาน-เที่ยวอาเซียน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานจะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลาย ๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน ดังนั้นการนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน จะช่วยแก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านอัคคีภัย สร้างความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุต่อประชาชนและพนักงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว (ค้าขาย) รองรับการเติมโตทางเศรษฐกิจ, ทัศนียภาพสวยงาม, ระบบไฟฟ้ามั่นคงมีเสถียรภาพ ลดค่าใช้จ่ายการตัดต้นไม้ ลดคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้ได้มากขึ้น

เชียงคานสุดล้ำสมาร์ทซิตี้ สายไฟลงดินตอบโจทย์มั่นคงพลังงาน-เที่ยวอาเซียน

ดร.สมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษาโครงการ Chula Smart City กล่าวว่า  จากการดำเนินโครงการ Chula Smart City  บริเวณสยามสแควร์ โดยนำสายไฟฟ้าลงดิน พร้อมหม้อแปลงใต้ดิน ทำให้ทัศนียภาพบริเวณดังกล่าว มีความสวยงามแปลกตาขึ้นมาก สร้างความปลอดภัยแก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา และยังเป็นจุดเช็คอินอีกแห่งของนักท่องเที่ยว

สำหรับ Submersible Transformer Low carbon  ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย