บทสรุป 2 ปี ประเทศไทยขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ได้มากแค่ไหน

19 เม.ย. 2566 | 06:22 น.

บทสรุป 2 ปี ประเทศไทยขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ได้มากแค่ไหน โดยเฉพาะการทำงานภายใต้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ล่าสุดได้รายงานข้อมูลสำคัญต่อครม. เรียบร้อยแล้ว

การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกปักธงไปที่การขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ให้มากที่สุด ซึ่งเป็นวาระสำคัญของประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อดูแลคนรุ่นต่อ ๆ ไปให้นานที่สุด 

เช่นเดียวกับประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมา ได้ประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการบรรลุุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 บนเวทีการประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) พร้อมขับเคลื่อนงานด้านต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

โดยมี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานสำคัญที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ล่าสุดภายใต้รายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกฯ (วันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 มกราคม 2566) ได้สรุปผลงานเอาไว้อย่างชัดเจนดังนี้

ภาพประกอบข่าว บทสรุป 2 ปี ประเทศไทยขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก”

1.จัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission evelopment Strategy) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ฉบับต่อไป

2.จัดทำการส่งเสริมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T - VER) สนับสนุนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต จากโครงการด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียว โดยปรับปรุงวิธีการประเมินการกักคาร์บอนภาคป่าไม้ 

พร้อมทั้งหารือกับกระทรวงพลังงาน และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจไฟฟ้าสะอาดพัฒนาโครงการ T-VER เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นรายได้เสริมและสนับสนุนนโยบายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภาคพลังงานต่อไป

 

ภาพประกอบข่าว บทสรุป 2 ปี ประเทศไทยขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก”

3.ร่วมกับกระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคมในการรายงานผลการลดก๊าซเรือนกระจกติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงานและขนส่ง ปี พ.ศ.2562 ประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 64.20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็น 17.49% จากมาตรการภาคพลังงานจำนวน 9 มาตรการและมาตรการภาคขนส่ง 1 มาตรการ รวมทั้งสิ้น 10 มาตรการ

4.สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมยกร่างหลักเกณฑ์ในการซื้อขายถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตแล้ว และเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ ก่อนนำเข้าคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิจารณา

 

ภาพประกอบข่าว บทสรุป 2 ปี ประเทศไทยขับเคลื่อน “ลดก๊าซเรือนกระจก”

 

5.ออกระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่าด้ายการขึ้นทะเบียนการซื้อ ขาย และถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต พ.ศ. …. 

ทั้งนี้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ตลอดจนการบันทึกการรับรองและการใช้คาร์บอนเครดิตในระบบทะเบียน เพื่อให้การทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวปฏิบัติในการด าเนินงานที่ชัดเจนและคล่องตัว รองรับการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตตามนโยบายของรัฐบาล

ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่าด้ายหลักเกณฑ์การให้การรับรองและการทำความตกลงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต พ.ศ. .... 

ทั้งนี้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้การรับรองการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการทำความตกลงระหว่าง TGO กับผู้ประกอบการศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมและเอื้ออำนวยการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และกำกับดูแลให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความน่าเชื่อถือ เกิดความเป็นธรรม และคุ้มครองผู้ซื้อ และผู้ขายคาร์บอนเครดิต รวมทั้งรักษาเสถียรภาพของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต

5.รับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ตั้งแต่ปี 2548-2565 รวมทั้งสิ้น 223 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 9,586,843 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)