เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

17 ส.ค. 2566 | 05:41 น.

“ระพีภัทร์” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ดึงกูรูเอกชน รับมือ “เอลนีโญ” ชวนเกษตรกรปลูกพืชขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ ป้องตลาดทุเรียนแสนล้าน เรียกน้ำย่อย พร้อมดูเต็มตา “นิทรรศการ 5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6 “ 19-20 ส.ค.นี้ ที่เอ็มควอเทียร์

นับจากนี้ไปสถานการณ์ภาวะ "เอลนีโญ" คาดจะรุนแรงขึ้น และจะมีผลต่อเนื่องไปอีก 1 – 2 ปี ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ และผลักดันไทยเป็นครัวโลก เนื่องจากไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้มากกว่าความต้องการใช้ในประเทศ ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรส่งออกสุทธิในระดับโลก ขณะที่ทิศทางข้างหน้าโลกเผชิญความท้าทายจากหลากหลายปัจจัยเสี่ยง เพื่อให้ภาคธุรกิจ เกษตรกร รับมือ และพลิกวิกฤติสร้างโอกาส และประชาชนได้รับรู้ และตระหนัก

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

"กรมวิชาการเกษตร" จะจัดงาน “นิทรรศการ  5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และการก้าวไปในทศวรรษที่ 6" (คลิกอ่าน) ระหว่างวันที่ 19-20  สิงหาคมนี้ โดยภายในงานได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านต่าง ๆ 16 ท่านร่วมเสวนาใน 3 หัวข้อหลัก  ได้แก่ 1.ความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรากฏการณ์  El Niño และโอกาสการค้าตลาดคาร์บอนเครดิต ในการผลิตพืชของไทย  2.ทิศทางการนำเข้า ปุ๋ย เคมีเกษตร และปัจจัยผลิตทางการเกษตรไทย  และ 3.การส่งออกผักผลไม้ไทย “แสนล้าน” สู่ตลาดโลก : เงื่อนไข กฎระเบียบ และแนวโน้มการส่งออก

 

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึง ผลกระทบภาวะเอลนีโญ หรือภัยแล้ง ว่า การวางแผนการเพาะปลูก และการวางแผนการผลิต ต้องให้มีความเหมาะสม เพราะนับจากนี้ไปไทยจะเผชิญวิกฤตรุนแรงจากภัยแล้ง ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการน้ำและมีความเสี่ยงที่อาจเกิดผลกระทบรุนแรงมากขึ้นกับประชาชน ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมเสวนาภายในงานที่จะมีความเข้มข้นในเนื้อหาสาระระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคมนี้ ณ เฮลิกซ์ การ์เด้น ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร ได้ดึงผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการโดยตรง มาร่วมเสวนา ถึงความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะมีแผนการผลิต รับมือปกป้องตลาดการส่งออก ผักผลไม้ “แสนล้าน” สู่ตลาดโลก อย่างไรในปี 2567 พร้อมชี้ช่องทางให้เกษตรกร ทำอย่างไรที่จะปลูกพืชแล้วขายคาร์บอนเครดิตได้ด้วย ตลอดจนแนวโน้มปุ๋ย สารเคมีเกษตร รวมถึงปัจจัยการผลิตการเกษตรไทยจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรได้มีเข็มทิศ และวางแผนการปลูกพืชให้เหมาะสม และในต้นทุนต่ำ

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

"อยากให้ทางผู้ที่สนใจไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ประชาชน เกษตรกร ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมงานกับการเข้าสู่ทศวรรษที่ 6 ของกรมวิชาการเกษตร  โดยภายในงานจะมีนิทรรศการ “5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาการวิชาการเกษตรไทย ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานของกรมวิชาการเกษตร ตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ที่เล่าถึงบทบาทความเป็นมาของกรมวิชาการเกษตรตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน"

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

กรมวิชาการเกษตร มีผลงานวิจัยและเทคโนโลยีจำนวนมากที่ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช อีกทั้งยังมีส่วนช่วยภาคเอกชนให้สามารถนำงานวิจัยทางการเกษตร ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่ากว่าหนึ่งล้านล้านบาท ผ่านการส่งออกสินค้าเกษตรที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก

ตามนโยบาย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่เพื่อความมั่นคงทางอาหาร  “DOA Together for BCG and Food Security” และเป็นการสร้างให้เกิดการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับกลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปสู่การสร้างทัศนคติที่ดีให้กับกรมวิชาการเกษตร รวมถึงรับทราบการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและประเทศไทย”

 

ห่วง “เอลนีโญ” กระทบอาหารราคาแพง

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวถึง การเข้าร่วมงานเสวนาที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ โดยในส่วนของผลกระทบปรากฏการณ์เอลนีโญ จะทำให้มีฝนตกน้อย ในแง่ของการผลิตภาคเกษตรจะลดน้อยลงเฉพาะอย่างยิ่งพืชสวน พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปริมาณจะน้อยลง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกแล้ว จะพูดถึงจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารอย่างไร ราคาอาหารในประเทศจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ต้องไปติดตามกันที่เวทีสัมมนา ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ 

 

แนะถอดโมเดล G20 สร้างความมั่นคงอาหารของไทย

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

เช่นเดียวกับ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่กล่าวว่า ได้รับโจทย์เรื่องความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย ซึ่งจะเห็นว่าไร้ทิศทาง ควรที่จะลงไปในพื้นฐานของตัวพืชแต่ละชนิด ยกตัวอย่าง กลุ่ม G 20 (Group of Twenty)  จะมีนโยบายเน้น พืช 4 เศรษฐกิจ ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง เป็นพื้นฐานของอาหาร และถ้าขาดจะกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าประเทศไทยมี 2 ตัว คือ ข้าวและข้าวโพด

ดังนั้นในแต่ละประเทศก็จะต้องไปดูแลตัวเอง เช่น 1.มีของหรือไม่ 2.เข้าถึงหรือไม่ หมายถึงราคา สูง-ต่ำ 3.มีความปลอดภัย เรื่องสิ่งแวดล้อม ยังขาด ไม่เกี่ยวกับสารเคมีความปลอดภัยในร่างกายมนุษย์ และ 4 สม่ำเสมอ  ยกตัวอย่าง “อินเดีย” งดส่งออกข้าว และอีกหลายประเทศ ประสบภัยแล้ง รัฐบาลจะรับมืออย่างไร สิ่งเหล่านี้ติดตามได้ที่งานเสวนา

 

ส่องอนาคต รักษาตลาดทุเรียนแสนล้าน

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

นายวุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย กล่าวว่า จะพูดถึงทิศทางการเติบโตทุเรียนแสนล้าน จะต้องมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง สำหรับการเติบโตและการแข่งขันในอนาคต ซึ่งปัญหาเดิมที่ผ่านมาเห็นภาพทุเรียนหลังโควิด มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ผู้ประกอบการแข่งขันการทำตลาด ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวในอนาคตหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการขนส่ง และการส่งออกที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดูแล หรือการวางแผนในภาพรวมทั้งการผลิตและการส่งออกมากขึ้น พอกลายเป็น “ทุเรียนแสนล้าน” ขอบเขตใหญ่ขึ้นต้องมีการเตรียมการที่ชัดเจนขึ้น ไม่เช่นนั้นเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

โดยเฉพาะภาคเกษตร มีปัญหาที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อทำให้ต้นทุนต่ำ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งเรื่องน้ำ สภาพอากาศ สุดท้ายก็ต้องรักษาการผลิตเพื่อรักษาสภาพการแข่งขัน ซึ่งปีนี้ได้เห็นจุดไคลเม็กซ์ระหว่าง "ทุเรียนภาคตะวันออก" ถ้าทุเรียนมีคุณภาพ มีผลผลิตเท่าไรก็ขายได้ 800-900 ตู้/วัน ก็ระบายทัน แต่พอมาถึง "ทุเรียนภาคใต้" จะเห็นว่ามีทุเรียนด้อยคุณภาพปะปนเข้าไปถึงปลายทาง ส่งผลทำให้ราคาตก ผู้บริโภคชาวจีนจะเลือกแบรนด์ในการรับประทาน หากแบรนด์ไหนรักษาคุณภาพราคาก็ยัง 1,000 หยวนต่อกล่อง แต่ถ้าแบรนด์ไหนเจอหนอน แค่กล่องเดียว ก็ส่งผลทำให้ราคาทั้งตู้ตกทันที นี่คือปัญหา ดังนั้นการแข่งขันที่น่ากลัวที่สุดก็คือ “กลัวตัวเอง”

 

เทคโนโลยี "สารเคมีเกษตร" ทางรอดฝ่าวิกฤตแล้ง

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

ปิดท้าย นายสมศักดิ์  สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย กล่าวว่า ทิศทางของประเทศรอบข้างและประเทศอื่นที่มีการนำเข้า และการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตร เทรนด์โลกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นใช้น้อย จะช่วยในเรื่องลดการใช้สารเคมี และช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตได้และการแก้ปัญหาในเรื่องศัตรูพืช  โดยเฉพาะในสภาพอาการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ โลกร้อน อาจมีผลกระทบขาดแคลนในเรื่องของอาหารในระดับทั่วโลก การขาดแคลนน้ำ หลายประเทศมีมาตรการห้ามส่งออก

เจาะไฮไลท์ เวทีเสวนา “ก้าวไปในทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร” ที่ไม่ควรพลาด

แต่ในประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันในเรื่องของน้ำอาจจะมีไม่เพียงพอ  น่าจะชิงความได้เปรียบ หากมีเทคโนโลยีที่ดี และมีการบริหารจัดการได้มี ส่งออกได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามต้องใช้ปัจจัยการผลิตในภาวะโลกร้อน แห้งแล้งและขาดน้ำ ปัญหาที่เคยเจอโดยเฉพาะช่วงแล้งจะมีศัตรูพืชค่อนข้างมากกว่าช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เพราะการปลูกพืชมีน้อย  แมลงที่เป็นศัตรูพืช ก็จะมารุมกัดกินผลผลิตในแปลงที่เกษตรกรปลูก ซึ่งเกษตรกรก็จำเป็นที่จะต้องปกป้องผลผลิต เพราะฉะนั้นการมีปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะช่วยได้ แต่ปัญหาก็คือการนำเข้าสารเคมีชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ยังมีข้อติดขัด ยุ่งยาก ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไม่สามารถนำเข้าสารเคมีใหม่ได้ ซึ่งรายละเอียดต้องไปฟังในงานสัมมนา