เทคโนโลยีหลัก ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

18 พ.ค. 2567 | 09:00 น.

มิสเตอร์แอนเดรียล มอลทิเชน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี เขียนบทความเรื่อง "เทคโนโลยีหลัก ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี" ใจความสำคัญ ดังนี้

เวลานี้โลกเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานสะอาดเพิ่มสูงขึ้น การมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเชื้อเพลิงทั่วไป ไม่เพียงแต่จัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทันที แต่ยังปูทางไปสู่อนาคตด้านพลังงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วย การสร้างสมดุลระหว่างความต้องการความมั่นคงด้านพลังงานกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับกรอบนโยบายที่แข็งแกร่งที่จูงใจให้เกิดแนวปฏิบัติที่สร้างคาร์บอนตํ่า

เทคโนโลยีหลัก ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

ตัวอย่างเช่น การศึกษาและพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในประเทศไทย ซึ่งริเริ่มโดยบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ในปี 2564 ปตท.สผ. เป็นผู้นำในความพยายามของโครงการ CCS ของไทยโดยมีศูนย์กลางขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งจะสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 6-10 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573 ควบคู่ไปกับโครงการระดับชาติโครงการแรกที่แหล่งก๊าซอาทิตย์ ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2570 โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 1 ล้านตันต่อปี

เอบีบี ลงทุนในความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพื่อลดอุปสรรคในการนำไปใช้งาน ในสหราชอาณาจักร บริษัทร่วมมือกับ Pace CCS ซึ่งใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล ทวิน ของเอบีบี เพื่อจำลองขั้นตอนการออกแบบและสถานการณ์การทดสอบ เพื่อพิสูจน์แนวคิดและรับรองว่าการออกแบบนั้นเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เทคโนโลยีดังกล่าวจะแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าจะสามารถเปลี่ยนไปสู่การดำเนินงานของ CCS ได้อย่างราบรื่นได้อย่างไร

ขณะที่ไฮโดรเจนและแอมโมเนียมีศักยภาพที่สำคัญในฐานะแหล่งพลังงานที่นำไปสู่การ ลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยการเพิ่มกำลังการผลิตถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคส่วนต่างๆ ตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่อุปทานพลังงานไฮโดรเจนของออสเตรเลีย (HESC) เป็นห่วงโซ่อุปทานไฮโดรเจนเหลวเชิงพาณิชย์แห่งแรกที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกได้ 1.8 ล้านตันต่อปี

อย่างไรก็ตาม การใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย มีข้อกังวลด้านความปลอดภัยและความท้าทายเกี่ยวกับการผลิต จากคุณสมบัติที่ติดไฟง่าย ดังนั้น การจัดเก็บ การขนส่ง และการใช้งานขั้นสุดท้ายของไฮโดรเจน จะต้องได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยก่อนที่จะนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย นี่คือจุดที่เทคโนโลยี ดิจิทัล ทวิน สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้

ทั้งนี้ เอบีบี กำลังพัฒนาโซลูชันระบบอัตโนมัติ การใช้พลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนของภาคส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานด้วยไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเครื่องวิเคราะห์ และการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยียุคถัดไป เช่น CCS

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในประเทศไทย ปัจจุบันกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ 3.3 กิกะวัตต์ (GW) คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดในภูมิภาคอาเซียน โดยเอบีบีนำเสนอโซลูชันการจัดการพลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความยืดหยุ่นในการดำเนินงานสำหรับโครงการพลังนํ้า

ด้วยโซลูชันดิจิทัลที่หลากหลายนี้ จะช่วยให้ทั่วโลกและประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน แพลตฟอร์มโซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายไฟฟ้า ปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วยให้สามารถบูรณาการแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างราบรื่น เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงาน ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานได้

การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โอกาสและความท้าทายที่หลากหลายในมิติทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่จำเป็นอยู่แล้ว แต่การขยายขนาดอย่างรวดเร็วและเพียงพอก็มีความจำเป็น แม้ว่าความร่วมมือจะเป็นกุญแจสำคัญ ผู้กำหนดนโยบายจะต้องจัดลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภาคพลังงานด้วยแรงจูงใจจากรัฐบาลที่เหมาะสม ไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่สำคัญมากไปกว่านี้สำหรับชาวเอเชียในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่สะอาดและเท่าเทียมกัน