วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ปี 2566 หลัง คปก.เห็นชอบในหลักการแล้ว

13 ต.ค. 2566 | 01:42 น.

วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดปี 2566 คปก. เห็นชอบหลักการแปลงที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนด หลังถือครองครบ 5 ปี เผย เกษตรกรที่เข้าเงื่อนไข จำนวนทั้งสิ้น 1,628,520 ราย

ความคืบหน้าภายหลัง คปก. หรือ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ในการประชุมมีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. หลักการปรับปรุงเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01

เป้าหมายยกระดับ ส.ป.ก.

เหตุผลที่ คปก. ต้องเปลี่ยน ส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อยกระดับเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญดังนี้

  • การจัดที่ดินยังคงเป็นไปเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามศักยภาพของพื้นที่
  • สามารถเปลี่ยนมือได้ระหว่างเกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้วยกันตามที่กฎหมายกำหนด
  •  ต้องปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตามสัดส่วนที่ ส.ป.ก. กำหนด
  • สามารถใช้ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐ
  •  ต้องถือครอง ส.ป.ก. 4-01 และทำประโยชน์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี

 

ที่ดิน ส.ป.ก.ใครบ้างได้ถือครองสิทธิ์

ที่ดิน ส.ป.ก. ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2535 ระบุว่า

  • มีสัญชาติไทย บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว (ไม่จำต้องบรรลุนิติภาวะ) แล้ว
  • มีความประพฤติดี
  • มีร่างกายสมบูรณ์สามารถประกอบการเกษตรได้
  • จะต้องไม่มีที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยแต่ไม่เพียงพอแก่การประกอบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพด้วย

 

 

จำนวนเกษตรกรที่เข้าเงื่อนไขเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็น ฉโนดที่ดิน

เกษตรกรที่เข้าเงื่อนไข จำนวน 1,628,520 ราย เอกสารสิทธิรวม 2,205,561 ฉบับ เนื้อที่รวม 22,079,407.67 ไร่ โดย ส.ป.ก. จะทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่าง ๆ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้

วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ปี 2566

 

วิธีเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ปี 2566

  • โหลดแอป “SmartLands”  หรือเข้าไปที่ (คลิก) 
  • นำโทรศัพท์ที่มีอินเตอร์เน็ตและเปิดสัญญา GPS ไปอยู่บริเวณกลางที่ดินของท่าน
  • เลือกเมนู “บอกดิน” กดแจ้งตำแหน่งที่ดิน
  • รอค่าพิกัดขึ้น จากนั้นกรอกข้อมูลเจ้าของที่ดิน ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
  • เลือกหลักฐานที่ดินที่มีกับตัว เช่น ส.ป.ก., น.ส.3, น.ส.3 ก
  • หากไม่มีหลักฐานเลยให้เลือก “อื่นๆ” แล้วกดส่ง จากนั้นก็รอการแจ้งกลับจากกรมที่ดินได้ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นได้เลย (ที่ดินที่เป็นโฉนดแล้ว ไม่ต้องกดแจ้งตำแหน่งที่ดิน).

ที่มา: กรมที่ดิน