นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

04 มี.ค. 2565 | 11:51 น.

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง ปูพรมสอบทาน ส่งต่อความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.ทักษิณ รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาม.ทักษิณ พร้อมด้วยคณะนักวิจัยโครงการวิจัยและนวัตกรรมแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพัทลุง

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

จัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะ “ปฏิบัติการแก้จนจังหวัดพัทลุง – จากข้อมูลสู่การสร้างโมเดลแก้จนแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการเสริมพลัง” ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 2 อาคารทักษิณาคาร ม.ทักษิณ

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

นายเสรี จิตรเวช พัฒนาการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า จังหวัดพัทลุงมีนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพัทลุง การแก้จนมีกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ประมวลคนจนทั้งหมดให้เป็นฐานข้อมูลกลางทั้งระบบ  จังหวัดพัทลุงกำลังดำเนินการแก้จนจาก TPMAP ที่ถูกเกณฑ์ทั้ง 5 มิติ

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

เรากำลังมองว่าความยากจนเป็นเรื่องของความซ้ำซ้อน ต้องแก้ในหลากหลายรูปแบบ ต้องใช้ข้อมูลครัวเรือนคนยากจนให้มากที่สุด โดยใช้แนวคิด 4 ท. ประกอบด้วย ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากรที่เหมาะสม และทางออก เป็นต้น
 

รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง หัวหน้าโครงการวิจัยและนวัตกรรมแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพัทลุง  ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและข้อค้นพบจากกระบวนการสอบทานครัวเรือนคนจนจังหวัดพัทลุง พบว่า การค้นหาและสอบทานคนจนในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

โดยใช้รายชื่อคนจนตั้งต้นจากฐานข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP)  จำนวน 13,902 ครัวเรือน (คนจนรวมทุกครัวเรือนจำนวน 14,342 คน) ทีมวิจัยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้ง 11 อำเภอ ภายใน 73 พื้นที่ ครอบคลุม 65 ตำบลและ 8 เขตเทศบาล คิดเป็น 100% ของพื้นที่จังหวัดพัทลุงแล้ว บันทึกลงในระบบ PPPconnext ของกระทรวง อว. จำนวน 14,205 ครัวเรือน (คนจนรวมทุกครัวเรือนจำนวน 59,449 คน)

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

แบ่งเป็นครัวเรือนจากรายชื่อใน TPMAP จำนวน 9,684 ครัวเรือน คิดเป็น 68% และครัวเรือนรายใหม่ (Add on) จำนวน 4,521 ครัวเรือน  คิดเป็น 32% 


ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการนี้ ทีมนักวิจัยได้ส่งต่อความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ให้แก่

 

1) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคใต้ ไปแล้วจำนวน 269 ครัวเรือน ครอบคลุม 27 ตำบลใน 9 อำเภอ

 

2) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่จำนวน 6,970 ครัวเรือน และครัวเรือนที่มีผู้ป่วยติดเตียงหรือพิการจำนวน 2,358 ครัวเรือน สำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือพิการส่งต่อข้อมูลความช่วยเหลือให้แก่

 

3) ระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดพัทลุง จำนวน 1,101 ครัวเรือน ทีมนักวิจัยได้ออกแบบโมเดลแก้จน (Operating Model : OM) ส่งเสริมการผลิตกระจูดเพื่อเพิ่มรายได้คนจนทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

นักวิจัย ม.ทักษิณ ผสานพลังจังหวัดพัทลุง แก้ไขปัญหาความยากจน

ทีมนักวิจัย OM ประกอบด้วย รศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ผศ.ดร.อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว ผศ.ดร.ถาวร จันทโชติ ดร.สานิตย์ ศรีชูเกียรติ และ ดร.อภินันท์ เอื้ออังกูร ได้นำภูมิปัญญากระจูดของชุมชน มาออกแบบนวัตกรรมแก้จน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนจนตำบลทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ซึ่งปัญหาของคนจนเกิดจากการมีฐานทุนดำรงชีพไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ ทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม หรือทุนธรรมชาติ

 

นวัตกรรมแก้จนของมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงมุ่งเพิ่มทุนดังกล่าวให้กับคนจน โดยใช้วิธีการ Coaching จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง (กระจูดวรรณี) ผนวกกับองค์ความรู้ทางด้านศิลปกรรมการออกแบบของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเพิ่มทุนมนุษย์จากกระจูด จัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้เชิงทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจริง

 

ได้แก่ การพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงสร้างสรรค์ (Production) การยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืน (Design/ Branding) และการพัฒนาการตลาดในยุคดิจิทัล (Marketing/ Selling)  เพิ่มทุนสังคม ด้วยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนจน เป็นวิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ (Lenoi Craft Community Enterprise) เพิ่มทุนเศรษฐกิจ สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ มีช่องทางการหารายได้ระหว่างทาง คือ สามารถนำกระเป๋ากระจูดที่สานที่บ้านมาฝึกทดลองขายผ่านออนไลน์หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรม วิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ จะนำผลิตภัณฑ์แบรนด์ เลน้อยคราฟ สู่ห้างโมเดร์นเทรด    ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และ ศูนย์การค้าไบเทค บางนา ซึ่งเป็นการออกบูธ ขายจริง

 

อย่างไรก็ดี คนทะเลน้อยไม่สามารถทำนากระจูดได้เพียงพอกับกำลังการผลิต เนื่องจาก ปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ ปัญหานกทำลายหัวกระจูด และพื้นที่หลายส่วนอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ชาวบ้านจำต้องซื้อวัตถุดิบ (กระจูด) จากที่อื่น แนวทางการเพิ่มกระจูดในพื้นที่ทะเลน้อย คือ การหาหน่วยงานพันธมิตร และชุมชนพันธมิตร โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง

 

ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องการปลูกกระจูดและพันธุ์กระจูด ได้ทำแปลงกระจูดต้นแบบ จำนวน 2 ไร่ และร่วมดำเนินการนำร่องปลูกกระจูดจำนวน 6 สายพันธุ์ เนื้อที่ประมาณ 7 ไร่  ในพื้นที่ของศูนย์ศิลปาชีพร่วมกับชุมชนพันธมิตร กลุ่มวิสาหกิจบ้านหัวป่าเขียว (หมู่ที่ 7) กระบวนการปลูก ใช้แนวทาง co-creation of knowledge คือ นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาผสานกับความรู้ทางวิชาการ 

 

รศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย นักวิจัยโครงการวิจัยฯ  กล่าวว่า โครงการกระจูดแก้จนเรารับไม้ต่อจากทีมข้อมูลนำมาคัดเลือกกลุ่มคนแก้จนโดยสมัครใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้จน เรามีพันธมิตร ในการร่วมดำเนินงานประกอบด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน (วิสาหกิจชุมชนวรรณี) ผู้นำชุมชน และประชาชน  ทั้งนี้ การปลูกกระจูดนำไปสู่ความสมบูรณ์ของพื้นที่ทรัพยากรเพิ่มขึ้น

 

นำมาสู่กระจูดที่มีคุณภาพ ส่งผลให้นำมาสู่กระบวนการผลิตที่มีราคาถูกลง ความรู้และทักษนำไปสู่ความสามารถของบุคลากรเกิดความสามัคคี มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนในอนาคต
    นวัตกรรมแก้จนครบกำหนดดำเนินกิจกรรมภายในเดือนมีนาคม 2565 นี้ และมีกำหนดจัดแสดงผลิตภัณฑ์แบรนด์ เลน้อยคราฟ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และศูนย์การค้าไบเทค บางนา ปลายเดือนมีนาคม ศกนี้