เพิ่ม thansettakij
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
ในโลกการเงินยุค FinTech ก่อเกิดนวัตกรรมทางการเงินที่เรียกว่า Alternative Financing ที่เข้ามาเป็นตัวเลือกหรือช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับบริษัทขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งอาจมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่บางครั้งอาจต้องการสภาพคล่องระยะสั้น แต่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินหรือไม่สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้ได้เพียงพอ
Alternative Financing มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการระดมทุนจากคนหมู่มาก (Crowdfunding) หรือ การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลทั่วไปผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือ Peer-to-Peer Lending (P2P) ซึ่งกำลังแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน
Peer-to-Peer Lending (P2P) แม้จะกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 ในประเทศอังกฤษและกำลังแพร่หลายทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชีย โดยมี P2P Lending Platform กระจายตัวอยู่มากกว่า 3,000 แพลตฟอร์ม แต่การรับรู้และความเข้าใจเรื่อง P2P Lending Platform ในประเทศไทยเองยังเพิ่งเริ่มต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยมีแพลตฟอร์มด้าน P2P Lending ที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ภายใต้ชื่อ บริษัท เนทส์ติฟลาย จำกัด (NestiFly) ผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์รูปแบบ Peer-to-Peer Lending (P2P) รายแรกในประเทศไทย ที่ผ่านการทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox และได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับโดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
นายพิชิต จงสฤษดิ์หวัง ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด เปิดเผยว่า เป้าหมายของการก่อตั้ง Peer-to-Peer Lending (P2P) คือ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่ง Peer-to-Peer Lending Platform เป็นรูปแบบหนึ่งของ Alternative Financing ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาที่มี ecosystem ขนาดใหญ่ มี participants หรือ users ที่หลากหลาย
“เรามี Vision ในการนำประสบการณ์ในเรื่องการเงินการธนาคารที่เรามี บวกกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาทำให้เกิด Solution ที่เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการลงทุน ที่ช่วยเติมเต็มระบบการเงินของประเทศไทย ซึ่งเราเชื่อว่า Peer-to-Peer Lending Platform ทำให้คนเข้าถึงสินเชื่อได้ทั่วถึงมากขึ้น อย่างน้อยก็มีทางเลือกที่มากขึ้น ในการได้รับสินเชื่อที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของเขาไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือธุรกิจ”นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม Peer-to-Peer Lending ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และ NestiFly เป็นรายแรก จึงมีภารกิจที่จะต้องเสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นไปพร้อมกัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในด้านลบหรือหลอกลวงมากขึ้น ดังนั้นในแต่ละ Product ที่เปิดตัว NestiFly จะมีการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและโปร่งใสที่สุดเป็นต้นว่า จะไม่มีอะไรที่ลูกค้าต้องจ่ายโดยไม่รู้มาก่อน หรือแพลตฟอร์มบริหารความเสี่ยงอย่างไร
สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ NestiFly คือ “StockLend by NestiFly” มองว่าเป็นตัวช่วยเปิดโอกาสทางการเงินสำหรับผู้ที่มีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ สามารถใช้หุ้นมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อไปประกอบการธุรกิจเงินหมุนเวียน หรือเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ
ดังนั้น StockLend by NestiFly จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้กู้และผู้ให้กู้ สามารถทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันได้ โดยใช้ Smart Contract ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อความปลอดภัยของผู้กู้และผู้ให้กู้ และสามารถทราบผลอนุมัติภายใน 1 วันทำการ เมื่อระบบ Auto-invest สามารถจับคู่ได้สำเร็จ โดยผู้ให้กู้จะยังได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินกู้ และผู้กู้ยังคงมีสิทธิประโยชน์จากหุ้นเหมือนเดิม
นายพิชิตกล่าวต่อว่า จริงๆ แล้ว รูปแบบสินเชื่อนี้มีในประเทศไทยบ้างแล้ว แต่จะเป็นกลุ่มเฉพาะ โดยสถาบันการเงินจะปล่อยให้กับลูกค้ากลุ่ม private banking แต่สิ่งที่ StockLend แตกต่างนั้นมี 3 เรื่องคือ
อย่างไรก็ดี เพื่อความรัดกุมในการปล่อยกู้และการบริหารจัดการความเสี่ยง NestiFly จะไม่ได้ให้ปล่อยกู้เต็มวงเงิน โดยจะให้วงเงินสูงสุดเต็มที่ไม่เกิน 60% ของมูลค่าหุ้น ที่นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะเดียวกันจะมีการพิจารณาแบ่งกลุ่มหุ้นด้วยว่า หุ้นแต่ละตัวเป็นกลุ่มหุ้นที่มีศักยภาพความสามารถระดับใด สูง ปานกลาง หรือต่ำ ซึ่งผู้กู้อาจจะได้รับการพิจารณาวงเงินลดหลั่นไปตามศักยภาพของหุ้น เช่น 50%, 40% เป็นต้น
สำหรับการประเมินศักยภาพของหุ้น บริษัทจะใช้วิธีการสกรีนผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Backtesting เพื่อดูความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ 5 ปีย้อนหลังและยังมีการติดตามและวิเคราะห์ความผันผวนและสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเห็นว่า หุ้นตัวไหนมีความผันผวนมาก ซึ่งจะมีความสุ่มเสี่ยงสูงสำหรับผู้ปล่อยกู้ จะมีการสกรีนหุ้นตัวนั้นออก หรือหุ้นตัวไหนที่มีการซื้อขายกันน้อย สภาพคล่องต่ำ เราก็ขายได้ลำบาก เนื่องจากในกรณีถ้าเกิดหนี้เสียขึ้น เราจำเป็นต้อง ทำการ forced sell หรือขายหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นอกจากนั้น ยังดูเรื่องของ fundamental ของหุ้นด้วย ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนเป็นระยะเวลานาน จะไม่รับเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงยังมีการจำกัดปริมาณการรับหุ้น โดยพิจารณาหุ้นแต่ละตัวที่รับมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันว่า มีปริมาณมากเกินไปหรือไม่ ขณะที่ตัวผู้กู้ สิ่งที่ประเมินเป็นหลักคือ NCB score หรือเครดิตสกอร์เกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าบุคคล
สำหรับผู้ให้กู้หรือ Investor จะมี 3 รูปแบบเช่นกันคือ
“ช่วงต้นกลุ่มที่เราอยากได้คือ Retail Investors กับ Qualified investors เพราะต้องการให้มีความหลากหลาย เพื่อทำให้ผู้ใช้งานคนไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Peer-to-Peer Lending Platform”นายพิชิตกล่าว
ขณะเดียวกัน Peer-to-Peer Lending Platform ยังใหม่สำหรับเมืองไทย จึงเลือกที่จะเริ่มจากผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน เพราะต้องการค่อยๆเสริมสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค ถ้าจะเริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง หรือประเภทสินเชื่อที่มีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอะไรเลย การเกิดหนี้เสียอาจจะทำให้ผู้ปล่อยกู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบ มีความกังวลใจสูง และไม่มั่นใจ
นายพิชิตกล่าวต่อว่า Peer-to-Peer Lending Platform ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำหน้าที่จับแมตช์คู่ระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้ไปจนถึงการเกิดสัญญาเงินกู้กัน ดังนั้น แต่ละฝ่ายจะไม่ทราบข้อมูลส่วนบุคคลใดๆระหว่างกัน โดยข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งสองฝ่ายจะถูกปิดไว้ ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธปท. แต่จะถูกเปิดเผยข้อมูลต่อเมื่อมีความจำเป็นทางกฎหมาย เช่น หากมีการผิดชำระหนี้ จึงจะเปิดเผยข้อมูลแก่คู่สัญญา เนื่องจากผู้ให้กู้และผู้กู้เองอาจจะต้องการเจรจาเพื่อทำการประนีประนอมหนี้หรือทำการตกลงการจ่ายชำระหนี้คืนระหว่างกัน
สำหรับแผนการออกผลิตภัณฑ์ในระยะยาว NestiFly ได้เริ่มวางแผนสำหรับผลิตภัณฑ์ในส่วน personal loan ไว้แล้ว คาดว่าจะได้เห็นประมาณไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ในปีนี้ ส่วน Phase ถัดมาอาจจะโฟกัสไปที่กลุ่มธุรกิจในลักษณะของ supply chain ซึ่งทาง NestiFly ยังวางกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ โดยการสรรหาความร่วมมือในรูปแบบ strategic partner กับพันธมิตรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมองว่านอกจากจะช่วยเติมเต็มความเชื่อมั่น ยังช่วยลดความเสี่ยงไปด้วย
“วันนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นของ Peer-to-Peer Lending ในประเทศไทย สิ่งที่เรามองคือเราต้องสามารถสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน โดยในการจะทำให้ยั่งยืนสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเราจะไม่ compromise ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานกำกับอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานขาดความเชื่อมั่นในแพลตฟอร์ม”นายพิชิตกล่าวทิ้งท้าย
------------------
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StockLend by NestiFly ได้เลยที่ App Store และ Google Play Store
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Line Official Account: @nestifly
Website: http://www.nestifly.com
Facebook: https://www.facebook.com/NestiFly