“นิพนธ์”เสนอเจรจามาเลย์เพิ่มจำนวนแรงงานที่ถูกกฏหมายให้แรงงานต้มยำกุ้ง

19 ธ.ค. 2565 | 08:13 น.

“นิพนธ์”ประชุมเสนอเจรจามาเลย์เพิ่มจำนวนแรงงานที่ถูกกฏหมายให้แรงงานต้มยำกุ้ง พร้อมอำนวยความสะดวกงานทะเบียนแจ้งเกิด-ตาย และต่อยอด 3 แผนงาน เน้นความมั่นคงปลอดภัย สร้างเศรษฐกิจฐานราก จัดสมดุลทรัพยากรสู่ความยั่งยืน

 

วันที่ 19 ธันวาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนแผนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม   

 

พร้อมด้วยพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมพบปะผู้เข้าประชุม พร้อมด้วยส่วนราชการ  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชนเข้าร่วมในการประชุม  ณ หอประชุมภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี 


โดยที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  จัดการประชุม โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน  โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำ พ.ศ. 2566-2570 ในการประชุมคณะกรรมการฯยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้(กพต.)สัญจร 

                               “นิพนธ์”เสนอเจรจามาเลย์เพิ่มจำนวนแรงงานที่ถูกกฏหมายให้แรงงานต้มยำกุ้ง
ดำเนินการขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหาและยกระดับชายแดนภาคใต้ จากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ศอ.บต.จึงจัดกิจกรรมประขาคม และระดมความคิดเห็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 5 จังหวัด เพื่อสะท้อนปัญหานำไปสู่การแก้ไข และพัฒนาในแต่ละพื้นที่สอดรับกับความต้องการของชาวบ้านอย่างยั่งยืน 


และจะสามารถพลิกฟื้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมากกว่า 312,900 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 


ส่วนที่ 1 โครงการประเภทความมั่นคง เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย ทั้งระดับหมู่บ้าน ชุมชน ครัวเรือน ครอบคลุมทั้งด้านความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 

                                      “นิพนธ์”เสนอเจรจามาเลย์เพิ่มจำนวนแรงงานที่ถูกกฏหมายให้แรงงานต้มยำกุ้ง
ส่วนที่ 2 โครงการประเภทความมั่งคั่ง เพื่อให้พื้นที่มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิศาสตร์ สภาพสังคม และปัจจัยทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำจากการพัฒนา โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่าน เมืองทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย เมืองปูทะเลโลก พืชพลังงาน พืชเศรษฐกิจใหม่  เมืองปศุสัตว์ และเมืองผลไม้ 


ส่วนที่ 3 โครงการประเภทความยั่งยืน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น  รวมถึงกระทรวงการคลัง จะจัดมหกรรม "รวมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน"  เพื่อช่วยเหลือประชาชน และภาคธุรกิจเอกชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยภาคใต้จะจัดที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 27 ถึง 29 มกราคม 2566  ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 


ในการประชุม นายนิพนธ์ ได้นำเสนอเรื่องการเพิ่มจำนวนแรงงานไทย(ต้มยำกุ้ง) ที่เข้าไปทำงานในมาเลย์ อย่างถูกต้องตามกฏหมายให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน และขอให้อำนวยความสะดวกเรื่องงานทางทะเบียนการแจ้งเกิด-แจ้งตาย(ใบมรณะบัตร)รวมถึงการจัดสอนภาษาไทยให้ลูกของแรงงานไทยที่เกิดในมาเลย์ เพื่อให้อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ เพราะมีแรงงานไทยในมาเลย์กว่าหนึ่งแสนคน  นอกจากนี้ได้นำเสนอเรื่องเร่งผลิตพ่อพันธ์ แม่พันธ์ ตามโครงการโคบาลชายแดนใต้เพราะถือเป็นต้นน้ำที่มีความสำคัญ