svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

นายกฯเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ สนามบินเบตง จ.ยะลา 14 มี.ค.นี้

11 มีนาคม 2565

"โฆษกรัฐบาล"เผย นายกฯเตรียมเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา จันทร์ที่ 14 มี.ค.นี้ รองรับการท่องเที่ยว การพาณิชย์ เพื่อการลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเป็นประธานเปิด “เที่ยวบินปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา” วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 ณ อาคารที่พักผู้โดยสาร ท่าอากาศยานเบตง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
 

 

สนามบินเบตง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2560 แล้วเสร็จเมื่อปี 2562 อาคารที่พักผู้โดยสาร มีพื้นที่ประมาณ 7,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ประมาณ 300 คนต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้ 876,000 คนต่อปี ทางวิ่งหรือรันเวย์มีขนาดความยาว 1,800 เมตร รองรับได้เฉพาะอากาศยานขนาดเล็ก เช่น เครื่องบินแบบใบพัด ATR 70-80 ที่นั่ง

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

สำหรับเส้นทางบินและการขึ้นลงของสนามบินเบตง จะอยู่ในน่านฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีล้ำเข้าไปในน่านฟ้าของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์  ที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม

 

เพื่อแก้ปัญหาการเดินทางสู่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันไม่สะดวกต่อการเดินทางให้สัญจรไปมาได้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่

สนามบินเบตง จังหวัดยะลา เริ่มหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ ในขณะนั้นเห็นชอบในหลักการให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (2559 – 2561) เพื่อจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของอําเภอเบตงของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 

 

นายกรัฐมนตรีมุ่งหวังให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลในเรื่องความมั่นคงในพื้นที่ด้วย อีกทั้งสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างการพาณิชย์ในระดับประเทศและต่างประเทศ

 

ส่งเสริม ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา

การรองรับตลาดการท่องเที่ยว การพาณิชย์ เพื่อการลงทุนภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น โดยเฉพาะรัฐปีนัง เคดาร์ เปรัค ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดน

 

พัฒนาสภาพสังคม จิตวิทยา การเมือง การปกครองของ ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งเพื่อสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายเปิดการค้าเสรีอาเซียนของรัฐบาล