"ดร.เอ้ สุชัชวีร์" ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีสจล.คาดลงชิงผู้ว่าฯ กทม.

09 ธ.ค. 2564 | 08:47 น.

ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)มีผลตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564 คาดลงสนามชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.

วันนี้ (9 ธันวาคม) ในการประชุมสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วาระพิเศษ ได้มีมติอนุมัติให้ .ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์  (ดร.เอ้ลาออก จากตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564

 

"ดร.เอ้ สุชัชวีร์" ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีสจล.คาดลงชิงผู้ว่าฯ กทม.

ขณะที่เฟซบุ๊กของ สจล.ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ชาว สจล. ขอขอบพระคุณพี่เอ้ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้ทุ่มเท แรงกาย แรงใจ อุทิศตนเพื่อสถาบันฯ ของเราในทุกด้าน 

 

ไม่ว่าหนทางเดินของพี่เอ้จะไปในแห่งใด ขอให้ประสบแต่ผลสำเร็จดังเป้าหมายที่วางไว้ทุกประการ 
#รักพี่เอ้

"ดร.เอ้ สุชัชวีร์" ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีสจล.คาดลงชิงผู้ว่าฯ กทม.

พี่เอ้ ที่ตั้งใจทำงาน อุทิศตนด้วยความมุมานะพยายาม ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงสถาบัน จนสถาบันก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก

 

สำหรับการลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีของ ดร.สุชัชวีร์ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อเตรียมพร้อมในการลงสนามการเมือง ในการชิงเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับพรรคพรรคประชาธิปปัตย์)ที่กำลังจะมีการเปิดตัวในวันที่ 13 ธันวาคม 2564

 

ประวัติของ ศ.ดร. สุชัชวีร์ ปัจจุบัน อายุ 49 ปี 

 

  • ทุนโควตาช้างเผือก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 29

 

  • ตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ริเริ่มทำโครงการออกแบบอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สายแรกของกรุงเทพฯ

 

  • ปริญญาโท ด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม สาขาวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) 

 

  • ระหว่างศึกษาต่อปริญญาเอก ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ MIT เวลานั้นประเทศไทยกำลังเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก จึงขอ MIT กลับมาเป็นวิศวกรอุโมงค์ ร่วมก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล จนได้รับเกียรติบันทึกชื่อจารึกไว้บนผนังสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง ในฐานะหนึ่งในผู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย