'กลาโหม' แจงงบ 5 ปี 1 ล้านล้านบาท สอดคล้องรายได้ประเทศ

20 ก.พ. 2562 | 09:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

โฆษกกลาโหมแจงงบประมาณกระทรวงกลาโหม 5 ปี 1 ล้านล้านบาท สอดคล้องกับงบประมาณและรายได้ประเทศที่เติบโตขึ้น ยัน! กระบวนการพิจารณาโปร่งใส ชี้! กลาโหมได้รับจัดสรรเป็นอันดับที่ 4 รองจากกระทรวงศึกษาธิการ, มหาดไทย และกระทรวงคลัง เป็นไปตามภารกิจและขนาดกระทรวง

609255853
วันนี้ (20 ก.พ. 62) พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงชี้แจงงบประมาณกระทรวงกลาโหม โดยระบุว่า ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศทั้งในและนอก รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาชาชน รวมถึงการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล เช่น แก้ปัญหายาเสพติด ตัดไม้ทำลายป่า ตรวจจับสิ่งของผิดกฎหมาย

ขนาดของกองทัพเติบโตจากภัยคุกคามของประเทศ ในอดีต ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ จึงเพิ่มอัตรากำลังและกำลังพลมากขึ้น จึงมีการเกณฑ์ทหารเพิ่มและผลิตบุคลากรทางด้านทหาร ทั้งโรงเรียนนายร้อย โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนด กองทัพจึงใหญ่ขึ้นและมีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้อง และกองทัพไม่มีอะไรแตกต่างจากกระทรวงอื่น ๆ

งบประมาณของกระทรวงกลาโหมดำเนินการเหมือนกับกระทรวงอื่น ๆ โดยการเสนองบประมาณเข้าสู่การพิจารณาของสภาและมีคณะกรรมาธิการกลั่นกรอง พิจารณา และถูกบรรจุ ว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นไปตามกระบวนการตามปกติ


20190128165357525

"งบประมาณด้านความมั่นคงจำแนกเป็นแต่ละกลุ่ม โดยงบประมาณกระทรวงกลาโหม ที่มีการระบุว่า งบประมาณปีละกว่า 200,000 ล้านบาท รวม 5 ปี เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งงบประมาณเหล่านี้เติบโตจากงบประมาณของประเทศทั้งหมด ซึ่งขณะนี้งบประมาณของประเทศอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ 1 ล้านล้านบาท" โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าว พร้อมระบุว่า

หากเปรียบเทียบงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจากงบประมาณของประเทศตั้งแต่ปี 2536-2541 อยู่ที่ราวร้อยละ 12.7 หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถูกตัดลดลงเหลือร้อยละ 7.6 และต่อมาที่งบประมาณของประเทศเติบโตอยู่ที่ราว 1 ล้านล้านบาท งบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็อยู่ที่ร้อยละ 7-8 มาโดยตลอด และในปี 2562 งบประมาณประเทศอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาทแล้ว

ทั้งนี้ จากพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณและข้อมูลจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2562 โดยเฉพาะตั้งแต่ปีงบ 2558 ภายใต้การบริหารของรัฐบาล คสช. มีบางปีที่งบที่กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2557 ได้งบประมาณ 1.8 แสนล้านบาท ปี 2558 หลัง คสช. มาบริหารประเทศ ได้งบเพิ่มเป็น 1.9 แสนล้านบาท ปี 2559 ได้งบเพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาท ปี 2560 ได้งบเพิ่มเป็น 2.12 แสนล้านบาท ปี 2561 ได้งบประมาณ 2.18 แสนล้านบาท และปี 2562 ได้ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท


20190206162247631

พล.ท.คงชีพ กล่าวว่า งบประมาณของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเหมือนกับทุกกระทรวง โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 มาโดยตลอด ซึ่งเป็นสัดส่วนปกติ แต่ในปี 2540 ช่วงวิกฤตกองทัพขาดแคลนงบประมาณถึงขั้นไม่มีงบประมาณเติมน้ำมันอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งทำให้เครื่องบินเสียหายพอสมควร นักบินบางส่วนสมองไหลไปอยู่การบินไทย

หากเทียบกับการเติบโตของจีดีพี ซึ่งตามแผนพัฒนาขีดความสามารถของกระทรวงกลาโหม การจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 2 ของจีดีพี แต่ที่ผ่านมา ได้รับการจัดสรรอยู่ที่เฉลี่ย 1.48 ซึ่งก็เพียงพอต่อการพัฒนาขีดความสามารถ แต่ก็ดำเนินการได้จำกัด พร้อมเปรียบเทียบกับอีก 20 ประเทศที่ได้รับงบประมาณสูงสุด เช่น สิงคโปร์ อยู่ที่ร้อยละ 20-30 ของจีดีพี

ขณะที่ การจัดหายุทโธปกรณ์ แผนพัฒนาและเสริมขีดความสามารถกองทัพ จัดสรรตามสถานการณ์ มีการประเมินในทุก 5-10 ปี ว่า จะรับมือภัยคุกคามและการรบ ต้องไม่แพ้และไม่เสียอำนาจอธิปไตย ซึ่งการจัดหายุทโธปกรณ์จัดหาบนความเป็นไปได้บนเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เน้นการดำรงสภาพให้อยู่ได้ ทำหน้าที่ป้องกันประเทศได้และรักษาความพร้อมในการรบด้วยในการปฏิบัติภารกิจทันที เช่น เครื่องบินต้องพร้อมตลอดเวลา และต้องจัดหาให้ครบอัตรา ซึ่งทุกวันนี้ยังขาดอีกเยอะมาก และต้องทยอยจัดซื้อ เพื่อให้ครบตามจำนวน มาแทนที่ยุทโธปกรณ์ที่ปลดประจำการไปแล้ว

หากเทียบกับงบประมาณกระทรวงอื่น ๆ งบประมาณของกระทรวงกลาโหมอยู่ที่อันดับที่ 4 โดย อันดับ 1.กระทรวงศึกษาธิการ อันดับ 2.กระทรวงมหาดไทย อันดับ 3.กระทรวงการคลัง โดยงบประมาณจัดสรรความขนาดและภารกิจของแต่ละกระทรวง


20190131120803938

โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุ หากตัดงบประมาณไม่กระทบเพียงความมั่นคง แต่กระทบการช่วยเหลืออื่น เช่น ภัยที่ไม่ใช่ภัยสงคราม หรือ งานช่วยเหลือภารกิจอื่น ๆ ซึ่งกองทัพพร้อมรับข้อคิดเห็นและพร้อมรับข้อเสนอในการปฏิรูปกองทัพ ปรับโครงสร้างกองทัพอย่างไร ทั้งของ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาตร์การเลือกตั้ง พรรคไทยรักษาชาติ, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส หรือท่านอื่น ๆ ก็พร้อมที่จะนำไปหารือพูดคุย

ดังนั้น การที่กำลังพลของกองทัพจะมีมากขึ้นหรือไม่นั้น สังคมเป็นผู้กำหนดจากภัยคุกคาม เช่น ในอดีตภัยคอมมิวนิสต์ และขณะนี้ การมีกำลังสำรองและการเกณฑ์ทหารก็เพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณในการให้ทหารมาประจำการถาวร และหากไม่มีการเกณฑ์ต้องมีแรงจูงใจ เงินเดือนต้องสูงขึ้น สวัสดิการต้องดี และมีหลักประกันให้ด้วย

พล.ท.คงชีพ กล่าวเพิ่มเติมว่า งบประมาณทหารทุกยุคทุกสมัยผ่านการพิจารณาของสภาทั้งสิ้น และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณที่ออกมาใหม่และโครงการงบประมาณตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสนอให้ ครม. เห็นชอบก่อน และพิจารณาว่า สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่

งบประมาณที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นงบประจำเงินเดือน สิทธิตามกฎหมาย และสวัสดิการกว่าร้อยละ 49 ภารกิจพื้นฐานการฝึกและจัดหารยุทโธปกรณ์และการสร้างอาคารสถานที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 การจะซื้อเรือดำน้ำจะต้องตั้งงบประมาณผูกพันภายในกระทรวงกลาโหมไปอีกหลายปี เพื่อที่จะให้ได้เรือดำน้ำมา ซึ่งจะไม่ไปกระทบกับงบประมาณกระทรวงอื่น"

ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์หน้า พล.ท.คงชีพ จะชี้แจงถึงการเกณ์ทหาร การจัดหายุทโปกรณ์ และการปฏิรูปกองทัพเพิ่มเติม

595959859