เต้น จี้ ป.ป.ช.รื้อคดี สลายชุมนุมเสื้อแดง ปี 53

17 ส.ค. 2560 | 12:23 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

"ณัฐวุฒิ" จี้ ป.ป.ช.รื้อคดี "มาร์ค "กับพวก สลายชุมนุมเสื้อแดง ปี 53 ขู่ งัด รธน.ม. 236 ตั้งกรรมการไต่สวนอิสระ สอบป.ป.ช. ไม่ปฏิบัติหน้าที่

วันที่ 17 ส.ค. 2560 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พร้อมด้วย นางธิดา ถาวรเศรษฐ และนายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยื่นร้องขอความเป็นธรรมให้ทบทวนมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) พร้อมนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อขอให้ ป.ป.ช.พิจารณาคำร้องใหม่ในคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มนปช. เมื่อปี 2553 โดยได้หยิบยกคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ยกฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก ในคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อปี 2551 มาเป็นพยานหลักฐานใหม่ พร้อมนำรายละเอียดข่าวที่เป็นมติของ ป.ป.ช. เกี่ยวกับข้อกล่าวหากรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวก สลายการชุมนุมตกไป ซึ่งเป็นข่าวที่เผยแพร่โดยสำนักงานป.ป.ช. นอกจากนี้ยัง นำเสนอวารสารเสนาธิปัตย์ ที่เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสลายการชุมนุม และหนังสือเรื่อง "ความจริงเพื่อความยุติธรรม" ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553

7ea7fde9j8cbj8gjbfj69
แกนนำ นปช. กล่าวว่า การยื่นหลักฐานครั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ที่หากมีหลักฐานใหม่ปรากฎขึ้นสามารถยื่นเรื่องให้ป.ป.ช.นำสำนวนเก่ามาพิจารณาใหม่ได้ โดยคำพิพากษาคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรสามารถนำมาเทียบกับการสลายการชุมนุมของกลุ่มนปช. และจะเห็นว่าสองคดีนี้มีความคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจาก ป.ป.ช. จึงทำให้เกิดความสงสัยถึงบรรทัดฐานของการพิจารณาสำนวน จึงใคร่ขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดเดิม เพื่อให้เกิดหลักนิติธรรมที่ชัดเจน ขณะเดียวกันการเดินทางมาครั้งนี้ ไม่ได้มาหาเรื่องหรือทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับกลุ่มพันธมิตร แต่มาเพื่อหาความยุติธรรมและขอให้เห็นใจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 และเพียงขอโอกาสให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
"พวกผมมีคำถามมาโดยตลอดว่าสั่งฟ้องแก๊สน้ำตา แต่ไม่สั่งฟ้องการใช้อาวุธสงครามได้อย่างไร ยืนยันว่าพวกผมไม่ได้มาหาเรื่องแต่มาหาความยุติธรรม และขอความเห็นใจ ซึ่งในเหตุการณ์ปี 53 ยังหาคำตอบไม่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ว่าคนมือเปล่า ถูกยิงนอนตายกลางถนนในเมืองหลวงกว่าร้อยชีวิต แต่ไม่รู้จะเอาผิดใคร และถึงวันนี้ก็ไม่รู้จะดำเนินคดีกับจำเลยที่ไหน ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็คงจะไม่ลบเลือนไปได้ วกผมอยากได้รับโอกาสเหมือนกับกลุ่มอื่นก็เท่านั้น ขอให้ป.ป.ช.น้อมนำกระแสพระราชดำรัสที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 8 ส.ค.เรื่องความยุติธรรม ซึ่งเราไม่ได้เรียกร้องความยุติธรรมให้แกนนำแต่เรียกร้องความยุติธรรมให้ประชาชนที่บาดเจ็บ ล้มตาย เพราะเรื่องนี้ถูกผิดก็ควรไปว่ากันในชั้นศาล ไม่ใช่ยุติเรื่องโดยป.ป.ช.เสียงข้างมาก ซึ่งแตกต่างกันมากกับการส่งฟ้องคดีพันธมิตร"นายณัฐวุฒิ กล่าว

516

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การขอให้ป.ป.ช.รื้อคดีในวันนี้เป็นการทำตามกรอบกฎหมาย แม้จะรู้ว่าสถานการณ์วันนี้เป็นเรื่องยากที่แกนนำนปช.จะส่งเสียงออกมาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เสียงดังกล่าวนั้นออกมาจากหัวใจที่เจ็บปวด หากป.ป.ช.ไม่ตอบสนอง แกนนำนปช.จะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่าสองหมื่นรายชื่อยื่นประธานรัฐสภา เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบ ยื่นคำร้องต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการไต่สวนอิสระขึ้นสอบคณะกรรมการป.ป.ช.ต่อไป เราอดทนรอคอยคดีนี้มานาน และจะรอคอยจนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จากนั้นจึงจะดำเนินการตามขั้นตอนนี้หากเห็นว่าป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า นปช.ไม่ขัดข้องหากป.ป.ช.เห็นว่าควรจะยื่นอุทธรณ์ในคดีสลายการชุมนุมพันธมิตร ปี 2551 เพราะถือเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งหมายความว่าป.ป.ช.ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้วต่อกรณีดังกล่าว แต่นปช.จะรอดูว่าในคดีสลายการชุมนุมนปช.ปี2553 นั้นป.ป.ช.จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราเชื่อว่าความอยุติธรรมนั้นทำลายสังคม ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และแตกแยกในสังคม เราไม่ได้มาเพื่อเผชิญหน้ากับกรรมการป.ป.ช. แต่ต้องการให้ป.ป.ช.เผชิญหน้ากับความอยุติธรรมที่เราได้รับ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของป.ป.ช.ที่จะขับไล่ความอยุติธรรมนี้ออกไปด้วยความสุจริตตรงไปตรงมา เราไม่ได้กล่าวหาว่าใครปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่หากพบว่าการปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่สุจริตเราจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว
การชุมนุมของพันธมิตรนั้นใช้เวลาเพียงวันเดียว แต่ในสำนวนของป.ป.ช.ได้แยกเป็นสองเหตุการณ์ขณะที่การสลายการชุมนุมของนปช.ใช้เวลา 1เดือน การบาดเจ็บและเสียชีวิตเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ต่างสถานที่ ผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งไม่ใช่ผู้ชุมนุม มีอาสาสมัครพยาบาลเสียชีวิตด้วยโดยคดีนี้ป.ป.ช.ได้พิจารณาแบบเหมารวมให้เป็นเหตุการณ์เดียว โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลที่มีขึ้นก่อนยุติการชุมนุมตั้ง 1 เดือน เราจึงได้ยื่นขอให้ป.ป.ช.พิจารณาโดยแยกเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ที่วัดปทุมฯ แยกบ่อนไก่ ถนนราชปรารภ เป็นต้น