24องค์กร"สบเมย-แม่สะเรียง" ลงนาม MOUร่วมมือขจัด"ไข้มาลาเรีย"ภายใน2567

21 เม.ย. 2566 | 07:57 น.

นายอำเภอสบเมย-แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นำ 24 องค์กร ลงนาม MOU ร่วมมือป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเซีย สู่เป้าหมายประเทศไทยปลอดมาลาเรียภายในปี 2567 

วันที่ 21 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมบัานไม้แดง อำเภอแม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน  นายศรัญญู  มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน การประชุมและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอสบเมย- อำเภอแม่สะเรียง) ขึ้น ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองอำเภอ รวม 24 องค์กร ประกอบด้วย

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน  โรงพยาบาล มีโรงพยาบาลสบเมย โรงพยาบาลแม่สะเรียง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสบเมย ที่ว่าการอำเภอสบเมย โดนายอัครพันธุ์ พลศิริ นายอำเภอสบเมย) กับที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง โดยนายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง 

24องค์กร\"สบเมย-แม่สะเรียง\" ลงนาม MOUร่วมมือขจัด\"ไข้มาลาเรีย\"ภายใน2567

24องค์กร\"สบเมย-แม่สะเรียง\" ลงนาม MOUร่วมมือขจัด\"ไข้มาลาเรีย\"ภายใน2567

นอกจากนี้ยังมี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยวม  องค์การบริหารสวนตำบล(อบต.)บ้านกาศ- อบต.แม่คง อบต.แม่เหาะ อบต.เสาหิน อบต.สบเมย อบต.แม่คะตวน อบต.แม่สวด อบต.แม่สามแลบ 

ตลอดจนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี  กรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง สถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง สถานีตำรวจภูธรสบเมย  มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย องค์การมัลติเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Malteser International) ประเทศไทย  

 

24องค์กร\"สบเมย-แม่สะเรียง\" ลงนาม MOUร่วมมือขจัด\"ไข้มาลาเรีย\"ภายใน2567

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ทำขึ้น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 ในการร่วมมือกันกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่   ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์  "ประเทศไทยปลอดจากโรค์ไข้มาลาเรีย (Malaria Elimination) ภายในปี พ.ศ. 2567" เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กับทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรมนลักษณะ "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมประเมินผล" 

โดยทุกหน่วยงานได้ตกลงความร่วม

1. ร่วมจัดทำแผนกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ ร่วมขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ติดตาม กำกับประเมินผล อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

2. ร่วมดำเนินงาน อำเภอต้นแบบการกำจัดไข้มาลาเรียอย่างยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2566-2569

3. สนับสนุนและร่วมดำเนินงาน การป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียตามมาตรการ 1-3-7 คือ การรายงานผู้ป่วย ที่ตรวจพบเชื้อมาลาเรียเข้าระบบมาลาเรียออนไลน์ ภายใน 1 วัน การสอบประวัติการติดเชื้อมาลาเรียภายใน 3 วัน และควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรียภายใน 7 วัน

ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะได้ยึดถือไว้ปฎิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน