“กมลศักดิ์” แฉรฟท.ไม่ฟ้อง “ศักดิ์สยาม” รุกที่ดินเขาเขากระโดง

02 ก.ย. 2564 | 16:29 น.

“ประชาชาติ” เปิดข้อเท็จจริง “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รุกที่ดินเขากระโดง เผยรฟท.ซุ่มยื่นหนังสือกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ 2 แปลง กระทบประเทศชาติเสียหาย ซัดใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน พบ 4 ชุมชนกทม.โดนฟ้องหลังบุกรุกที่ดินสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจต่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีที่ดินเขากระโดง ว่า ภายหลังพันตำรวจเอกทวี สอดส่องได้อภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงที่ผ่านมานั้น ล่าสุดมีข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าที่ดินเขากระโดงเป็นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามพ.ร.บ.จัดวางรางรถไฟฯ พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) มีเนื้อที่ 5,083 ไร่ ระบุว่า 1.เมื่อวันที่ 17 มี.ค.41 คณะกรรมการกฤษฎีกามีมติยืนยันว่าที่ดินนั้นเป็นที่ของรฟท. 2.เมื่อวันที่ 15 ก.ย.54 ปปช.มีหนังสือถึงผู้ว่ารฟท.ให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของโฉนดที่ดิน เลขที่ 3466 เนื้อที่ 7 ไร่ และโฉนดที่ดิน เลขที่ 8564 เนื้อที่ 37 ไร่ ซึ่งเป็นที่พักของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเครือญาติ 3.คำพิพากษาศาลฎีกาปี 60พิพากษาขับไล่รื้อถอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย กับผู้บุกรุกจำนวน 35 ราย 4.คำพิพากษาศาลฎีกาปี 61 พิพากษาขับไล่รื้อถอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ 5.คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ โดยราษฎรขอออกเอกสารสิทธิโดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่ของรฟท.

 

 

“ที่ดินรมว.คมนาคมและเครือญาติกำลังทำธุรกิจบนที่ดินเขากระโดงเป็นพื้นที่ของรฟท.รวมทั้งจากคำพิพากษาทั้ง 2 คดีชัดเจนแล้วว่าบริเวณใกล้เคียงเป็นพื้นที่ของรฟท.ผมได้ติดตามมาตลอดว่ารมว.คมนาคมจะดำเนินการตามภายใต้รัฐธรรมนูญภายใต้ประมวลจริยธรรมอย่างไรบ้าง แต่พบว่า 2-3 เดือนที่ผ่ามายังไม่มีความคืบหน้า ถึงแม้ว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ตาม”

 

“กมลศักดิ์” แฉรฟท.ไม่ฟ้อง “ศักดิ์สยาม” รุกที่ดินเขาเขากระโดง

นายกมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.64 รฟท.มีหนังสือถึงกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินเขากระโดง โดยหนังสือฉบับนี้ระบุว่า ข้อ3.อ้างคำสั่งของปปช.ที่มีมติเมื่อปี 54 ว่าที่ดิน 8564 ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของรมว.คมนาคม ให้รฟท.ดำเนินการฟ้องขับไล่ที่ดิน 8564 โดยรฟท.ยอมรับว่าให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเพื่อหาเหตุผลให้กรมที่ดินถอนเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 เท่ากับว่ารมว.คมนาคมยอมรับข้อเท็จจริงว่าที่ที่ตนอาศัยอยู่เป็นที่ของรฟท.และเชื่อว่าทราบเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 27 ก.ค.64 กรมที่ดินมีหนังสือตอบกลับรฟท. ระบุว่าการเพิกถอนเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 กับเอกสารสิทธิทีมีอยู่บนที่ดินของประชาชนและรมว.คมนาคมที่ครอบครอง โดยกรมที่ดินขอเอกสารเพิ่มเติมเพราะไม่สามารถดำเนินการได้ เบื้องต้นให้รฟท.ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมและรายชื่อของผู้ที่ครอบครองที่ดินฯ

ทั้งนี้แนบท้ายในหนังสือของกรมที่ดินระบุอีกว่า “กรณีสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยให้รฟท.ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเพิกถอนโฉนดที่ดิน 3466 และที่ดิน 8564 จ.บุรีรัมย์ กรมที่ดินขอทราบเหตุผลที่รฟท.ไม่ดำเนินการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นไปตามตามความเห็นของอัยการสูงสุดก่อนที่จะพิจารณาเพิกถอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61”

 

 

“กรมที่ดินต้อการทราบเหตุผลที่ดินทั้ง 2 แปลง ว่าทำไมถึงไม่ฟ้องคดีบุกรุกอีกทั้งมีการระบุชัดเจนว่าที่ดิน 8564 ซึ่งเป็นที่ดินของรมว.คมนาคม ครอบครอง เพราะที่ผ่านมาสำนักงานอัยการมีความเห็นเสนอต่อรฟท.ว่าที่ดินทั้ง 2 แปลง ตามมติปปช.ให้ฟ้องบุกรุกขับไล่ แต่ปัจจุบันรฟท.ไม่ดำเนินการ เหตุใดรมว.คมนาคมถึงไม่ฟ้องคนอื่นๆและเครือญาติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ของรฟท.คืน ทั้งนี้ผมไม่ได้มีเจตนาขับไล่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว”

 


นายกมลศักดิ์  กล่าวต่อว่า  นายกรัฐมนตรีทราบหรือไม่การที่ให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิเป็นส่วนหนึ่งที่รมว.คมนาคมที่กำกับรฟท.ดำเนินการ แต่ยังไม่เพียงพอกับการบริหารราชการแผ่นดินและเพียงพอต่อมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีอยู่ เพราะละเลยละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันการมีหนังสือเพิกถอนเอกสารสิทธิคือแนวทางที่ 1 ซึ่งยังไม่จบแต่ยังมีคดีที่ศาลฎีกาพิพากษา 2 คดี โดยศาลฎีกาพิพากษาให้มีการบังคับคดีโดยให้โจทย์หรือจำเลย (รฟท.) ฟ้องแย้งออกไปจากที่ดินและกำหนดค่าเสียหายเป็นรายเดือน ในปี 60 ได้กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าเช่ากับจำเลย 35 คนต่างกัน รวมระยะเวลาฟ้องคดีตั้งแต่ปี 58 มีค่าเสียหายคิดเป็นรายเดือนทั้ง 5 ปี ค่าเสียหาย600-60,000 บาทต่อเดือน จนปัจจุบันมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 20 ล้านบาทและไม่ได้มีการบังคับคดีแต่อย่างใด
“กมลศักดิ์” แฉรฟท.ไม่ฟ้อง “ศักดิ์สยาม” รุกที่ดินเขาเขากระโดง

“ขณะเดียวกันมีหนังสือสั่งการให้ฝ่ายกฎหมายของรฟท.ดำเนินการเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ดำเนินการในชั้นบังคับคดี ส่งผลให้ประเทศชาติเสียหาย ไม่ทราบว่าท่านมีส่วนได้เสียอย่างไรกับที่ดินแปลงนี้หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างไร ซึ่งศาลพิพากษาให้ขับไล่และชำระค่าเสียหายไว้อย่างชัดเจน ผมคิดคำนวณค่าเสียหายค่าเช่าที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในปี 60 ราว  20 กว่าล้านบาท หากเกรงว่าประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัยควรไปคุยกับรฟท.เพื่อทำสัญญาเช่า หลังจากศาลฎีกามีคำสั่งแล้ว ไม่ใช่ปล่อยปะละเลยแบบนี้ ขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในปี 61 ให้ชำระค่าเช่าต่อเดือน 36,000 บาท รวม 6 ปี เป็นเงิน 2 ล้านบาทและให้จำเลยออกจากพื้นที่ดังกล่าว ยังพบว่าจำเลยศาลฎีกาในปี 61 เป็นผู้ที่รับโอนหุ้นมาจากรมว.คมนาคม รวมทั้งรมว.คมนาคมเคยชี้แจงต่อปปช.ว่าได้รับรายได้เงินที่ปรึกษาในช่วงปี 60-61 อีกทั้งจำเลยดังกล่าวได้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างรับเหมากับกระทรวงคมนาคมช่วงที่รมว.คมนาคมดำรงตำแหน่งอยู่หลายสัญญา เพราะแบบนี้ถึงไม่สั่งการขับไล่ออกจากที่ดินเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิที่ดินของรัฐ สาธารณะประโยชน์ ของรฟท.กลับมายังรฟท.”

 


ล่าสุดหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจพบว่ามี 4 ชุมชนในกทม.ได้รับผลกระทบจากการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ  อู่ตะเภา) ถูกรฟท.ฟ้อง เนื่องจากอาศัยอยู่ริมทางรถไฟ แต่กลับมีการสั่งฟ้องเพื่อต้องการเร่งรัดสร้างทางรถไฟเพราะสัมปทานที่ดินโครงการฯนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ได้สัมปทาน ถือเป็นความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีการฟ้องเมื่อเดือนเม.ย.64

 


อย่างไรก็ตามจากการที่รมว.คมนาคมใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญบังคับใช้กฎหมายไม่เท่าทียมกันขัดจริยธรรมก่อให้เกิดความเสียต่อรัฐร้ายแรงยิ่งช้าประทศชาติยิ่งเสียหาย รมว.คมนาคมยิ่งเพิกเฉย รฟท.ยิ่งเสียผลประโยชน์ โดยประเมินราคาที่ดินของกรมธนารักษ์พบว่าทีดิน 3466 ราคาประเมินอยู่ที่ 4000 บาทต่อตารางวา รวมเนื้อที่ 7 ไร่ ราคาประเมินอยู่ที่ 11 ล้านบาท ส่วนที่ดิน 8564 เนื้อที่ 37 ไร่ ราคาอยู่ที่ 1,400 บาทต่อตารางวา คิดเป็นราคารวม 20 ล้านบาท หากมีการซื้อขายที่ดิน เชื่อว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ถ้ารวมพื้นที่เขากระโดงราว 5,080 ไร่ มูลค่าทรัพย์สินรฟท.อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท รมว.คมนาคมควรรีบดำเนินการให้รฟท.ได้ประโยชน์มีรายได้ต่อปีมากขึ้น