ระบบแบบจีน ดูย้อนแย้ง-ซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ทำไมมีเสถียรภาพ?

27 ก.ค. 2564 | 14:35 น.

ระบบแบบจีน ย้อนแย้งหรือไม่ ? ยากที่คนนอกจะเข้าใจได้ง่าย เพราะการเอาข้อมูลและเหตุผลของตะวันตกที่ฝังรากลึกในความคิดไปวิเคราะห์ปรัชญาการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ที่แฝงด้วยภูมิปัญญายุคเก่าของจีนยากที่จะหาตรรกะทำให้คนทั่วไปจะเข้าใจได้

อย่างไรก็ดี

ดร.อักษรศรี อธิบายได้ค่อนข้างชัดเจนในบทวิเคราะห์ชิ้นนี้

 https://www.facebook.com/1037140385/posts/10223691668013191/ 

#ระบบแบบจีน คำถามที่ถูกถามบ่อยค่ะ หลายคนไม่เข้าใจระบบจีน เพราะมันดูซับซ้อนซ่อนเงื่อนและมีหลายอย่างค่อนข้างย้อนแย้ง ใช่ค่ะ #ระบบจีนย้อนแย้ง และยังคงมีปัญหาค้างคาหลายอย่าง ถ้าสนใจ และต้องการทำความเข้าใจ โปรดอ่านให้จบนะคะ

 

ระบบจีนไม่เหมือนใครและมีอัตลักษณ์ในแบบของจีนเองที่เรียกว่า Socialism with Chinese Characteristics #EC362 #EC363

#คำถาม ระบบเศรษฐกิจจีนยังเป็นแบบคอมมิวนิสต์ใช่ไหมคะ และธุรกิจจีนที่ชื่อ Huawei (กลุ่มมือถือ ฯ ) เป็น เอกชน หรือ รัฐวิสาหกิจคะ

#คำตอบ จีนซับซ้อนซ่อนเงื่อนและหลายอย่างอาจจะดูย้อนแย้งในตัวเอง ขอตอบทีละประเด็น ดังนี้ค่ะ

 

1) #ระบบการเมืองจีน เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีรัฐ หรือ state เป็นกลไกที่มีบทบาทหลัก ทำงานกำกับดูแล #ระบบเศรษฐกิจจีน ที่ใช้กลไกตลาด market (หรือที่เรามักเรียกง่ายๆ ว่า ระบบทุนนิยม )

ดังนั้น ระบบแบบจีนถ้าให้เข้าใจโดยง่าย ก็คือ #ระบบทุนนิยมโดยรัฐ มีทั้ง #มือที่มองไม่เห็น invisible hands ของกลไกตลาดทำงานภายใต้การกำกับดูแลของ #มือที่มองเห็น visible hands คือ กลไกรัฐที่ชี้นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน

เอิ่ม..ฟังดูย้อนแย้งใช่มั้ยค่ะ มีทั้ง State & Market แต่มันมีอยู่จริง และทำงานได้ผลมากสำหรับบริบทจีน

 

#จุดเด่น ด้วยระบบจีนเช่นนี้ State กลไกรัฐจะช่วยรักษา #เสถียรภาพ ไม่ให้เกิดความวุ่นวายในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีความหลากหลายสูง และช่วยรักษา #ความต่อเนื่องของนโยบาย ที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้า (ไม่วนอยู่ในอ่าง) ในขณะเดียวกันก็ใช้ Market กลไกตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจและเปิดให้มี #การแข่งขัน ทางธุรกิจอย่างเข้มข้นเพื่อดึง #ศักยภาพทางเศรษฐกิจ มาขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มที่

อักษรศรี  พานิชสาส์น

 

2) #ระบบNeoAuthoritarianism ระบบแบบจีนจึงเป็น Neo-Authoritarianism มีการรวมศูนย์อำนาจการปกครองโดยรัฐ (พรรคคอมมิวนิสต์จีน) เน้นการกำกับดูแล แต่ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจ และ disrupt ตัวเองอย่างต่อเนื่อง

 

#สีจิ้นผิง และมือขวา คือ #หลิวเฮ่อ มีท่าทีชัดเจนว่า “การเมืองต้องรวมศูนย์อำนาจ จึงจะผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจได้สำเร็จ !!” จึงไม่ต้องแปลกใจนะคะ จีนวันนี้จะมี #พรรคคอมมิวนิสต์แทรกตัวกำกับกลไกธุกิจ อย่างเข้มข้น ถ้าสนใจ 12 จุดเด่นและจุดอ่อนระบบคอมมิวนิสต์เวอร์ชั่นจีน คลิกอ่านบทความนี้นะคะ https://www.thansettakij.com/world/463174

 

3) #พรรคการเมืองในจีน หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า จีนเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค มีพรรคการเมืองอื่นในจีนอีก 8 พรรค แต่ก็บริหารประเทศด้วยพรรคการเมืองเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ที่มีอายุครบ 100 ปีแล้ว น่าสงสัยมั้ยค่ะ ทำไมพรรคการเมืองนี้จึงอยู่รอดมาได้นานขนาดนี้ ? คลิกชมคลิปนี้ได้เลยค่ะ https://youtu.be/HfsTxj7G9sU

MyView ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ แต่ระบบการเมืองแบบจีนเหมาะสมกับบริบทจีน มันอาจจะไม่เหมาะกับบริบทประเทศอื่น #บริบทจีนกับไทยแตกต่างกัน จึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบแบบฉาบฉวยนะคะ

 

สี จิ้นผิง ภาพจาก : unlockmen.com

 

4) #จีนไม่มีปัญหาวิกฤติศรัทธาในตัวผู้นำ จนถึงขณะนี้ ถือว่า (ยัง)โชคดีที่จีนมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และ #ความเป็นเอกภาพ ของกลไกรัฐที่มีทีมผู้บริหารมืออาชีพ ส่วนใหญ่ที่รักชาติและประชาชน และจีนยุคนี้มีความเฉียบขาดในการปราบคอร์รัปชั่น/และควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งวุ่นวาย/ปัญหากลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ที่สำคัญ #จีนสร้างเกราะป้องกันอิทธิพลต่างชาติ

 

การมีทิศทางประเทศชัดเจนด้วย #ยุทธศาสตร์จีน มุ่งมั่นทุ่มเทของภาครัฐและการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อปากท้องของประชาชน/ขจัดความยากจน/เพิ่มรายได้ในกระเป๋าของคนจีน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้ประชาชนชาวจีนส่วนใหญ่ให้การยอมรับระบบแบบจีนที่เป็นอยู่ ที่สำคัญ คนจีนภูมิใจในชาติ #จีนรักชาติยิ่งชีพ

 

5) ดังนั้น ด้วยจุดเด่นของระบบแบบจีน ทำให้มี #คนรุ่นใหม่จีน มาเป็นพลังขับเคลื่อนดึงศักยภาพของจีนมาใช้ได้เต็มที่และทำไมคนรุ่นใหม่จีน (ส่วนใหญ่) ไม่ต่อต้านรัฐบาล อ่านบทวิเคราะห์ชิ้นนี้ได้ค่ะ https://www.thansettakij.com/politics/445739

 

6) แน่นอนค่ะ #เหรียญมีสองด้าน ระบบจีนย่อมมีจุดอ่อน ในหลายเรื่องเช่นกัน โลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ หากสนใจเรียนรู้ #ปัญหาค้างคาและจุดอ่อนระบบจีน คลิกชมคลิปนี้ค่ะ https://youtu.be/3I27-9B3SQc

 

ตอบคำถามประเด็น Huawei คือ บริษัทเอกชน (แถมไม่ยอมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์) ก่อตั้งโดยนายเหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) อดีตทหารในกองทัพแดง และโดยพฤตินัยอาจจะทำให้ดูเสมือนเป็นรัฐวิสาหกิจค่ะ

เรื่อง Huawei มีความลึกลับซับซ้อนมากกว่านี้อีกเยอะค่ะ เช่น ทำไมHuawei ไม่ยอมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (หรือว่าจะเป็นเพราะไม่อยากเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ) หรือประเด็น Huawei ระดมทุนจำนวนมหาศาลมาจากไหน ในการพัฒนาเทคโนโลยีสุดล้ำ เช่น 5G (มีใครหนุนหลังหรือไม่) ฯลฯ

 

#จีนซับซ้อนซ่อนเงื่อน ถ้าสนใจ เดี๋ยวว่างๆ จะมาทยอยเล่าให้ฟังในแต่ละประเด็น อาจจะคลิกฟังคลิปสัมภาษณ์อ.ษรชิ้นนี้ เพื่อปูพื้นทำความเข้าใจไปก่อนนะคะ https://youtu.be/VSgEb8IhFwY