กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

29 ธ.ค. 2564 | 11:41 น.

การตระหนักถึงความยั่งยืน ทั้งในแง่ของธุรกิจและการตอบแทนคืนกลับสู่สังคม ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โดยมูลนิธิกรุงศรี  ได้ปรับปลี่ยนและเพิ่มเติมรูปแบบการเติมเต็มความรู้ พัฒนาทักษะเยาวชน ผ่านโครงการ “กรุงศรีอุดมศึกษาอาสาพัฒนา”

โดยให้นักศึกษาได้นำเสนอโปรเจ็กต์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับภาควิชาที่ตัวเองเรียน และเป็นโครงการที่สร้างให้ประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม

กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

ล่าสุด “พูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย” ผู้ช่วยเลขานุการ มูลนิธิกรุงศรี กล่าวว่า กลุ่มนักศึกษา จากสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในปี 2563 กับการอนุรักษ์อาชีพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

พร้อมทำ “บันทึกข้าวหลามหินรุ่ย” เพื่ออนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำข้าวหลามของคนชุมชนหินรุ่ย กับอาชีพเก่าแก่ที่เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต ที่สืบทอดมานานกว่า 100 ปี 

กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

“อารุณ ภาคสมบูรณ์” ผู้แทนคณะทำงานโครงการ “บันทึกข้าวหลามหินรุ่ย” จากสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เล่าว่า การเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดจากการที่เขาและเพื่อนได้ลงพื้นที่

อารุณ ภาคสมบูรณ์

และพบว่า ข้าวหลามหินรุ่ย เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และต้องการช่วยผลักดัน ด้วยการเข้ามาส่งเสริมด้านการตลาด การทำแพ็กเกจจิ้ง ต่างๆ ให้สินค้าน่าสนใจและน่าซื้อมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อลงพื้นที่จริง กลับพบปัญหาว่า ข้าวหลามหินรุ่นกำลังจะสูญหายไป เพราะขาดผู้สานต่อ 
  กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

พวกเขาจึงเปลี่ยนแนวคิด มาเป็น การอนุรักษ์และส่งเสริม พร้อมจัดทำเรื่องราวสร้างเป็น “บันทึกข้าวหลามหินรุ่ย” ซึ่งมีทั้งในรูปพ็อกเก็ตบุ๊ก และอี-บุ๊ก รวมทั้งจัดทำอินโฟร์กราฟิคที่ช่วยให้ผู้สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้การทำข้าวหลามหินรุ่ยได้ง่ายๆ ในรูปแบบของมินิมิวเซียม ที่บ้านของ “ลุงสุภาพ ศรีเพชรพูล” ผู้ประกอบอาชีพผลิต “ข้าวหลามหินรุ่ย” ในชุมชนหินรุ่ย หมู่ 1 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

“ลุงสภาพและภรรยา” เล่าว่า เขาทำอาชีพนี้มานานหลายสิบปี สมัยก่อนมีครอบครัวที่ทำข้าวหลามหินรุ่ยกว่า 30 ครัวเรือน แต่ตอนนี้เหลืออยู่เพียง 4-5 ครัวเรือน และอาชีพนี้กำลังจะค่อยๆ หายไป เพราะการทำมีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลาทำกว่า 10 ชั่วโมง คนรุ่นหลังจึงไม่สนใจที่จะสานต่อ
 

ลุงสุภาพ และภรรยา ต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งครึ่ง เพื่อขึ้นมาเตรียมของและทำข้าวหลาม เริ่มตั้งแต่การแช่ข้าวเหนียวนาน 2-3 ชั่วโมง การทำน้ำกะทิ การนำข้าวเหนียวใส่กระบอกไม้ไผ่ และการเผาจนกระทั่งถึงการริดกระบอกไม้ไผ่ให้บาง เพื่อให้ข้าวหลามมีน้ำหนักเบา และง่ายต่อลูกค้าในการแกะกิน 


วันหนึ่งๆ ลุงใช้ข้าวเหนียวถึง 12-15 กิโลกรัม คนช่วยกันทำ 4-5 คน กว่าจะได้ข้าวหลามหินรุ่ยออกมาขาย ซึ่งตอนนี้ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้น จากเมื่อก่อนลงทุน 3,000 บาท ได้กำไร 4,000-5,000 บาท แต่สมัยนี้ลงทุน 4,000-5,000 บาท ได้กำไร 2,000-3,000 บาท เพราะต้นทุนที่แพงมากก็คือ ไม้ไผ่ ราคาสูงถึงลำละ 100 บาท โดยราคาขายอยู่ที่ 3 กระบอก 100 หรือ 4 กระบอก 100 กระบอกใหญ่หน่อยก็กระบอกละ 50-60 บาท  
  กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

“ลุงสภาพ” บอกว่า การที่เด็กๆ มาช่วยกันทำ “บันทึกข้าวหลามหินรุ่ย” ทำให้การทำข้ามหลามหินรุ่ยได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่า จะมีเด็กรุ่นหลังที่สนใจมาสานต่อธุรกิจนี้หรือเปล่า เพราะมันเหนื่อย และใช้เวลานาน...แต่ที่แน่ๆ ข้าวหลามของลุงและป้า บ้านหินรุ่ยนี้ ก็สร้างรายได้ให้ครอบครัว ส่งเสียลูกเรียนจนจบการศึกษามีงานทำ   

กรุงศรีฯ เปิด บันทึกข้าวหลาม ‘หินรุ่ย’ 

ความต่างและความโดดเด่นของข้าวหลามหินรุ่ย คือ เนื้อไม่หวานมาก กลมกล่อม และไม่แฉะ ต่างจากข้าวหลามในจังหวัดอื่นๆ ถือเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นอกจากเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ยังอร่อยอีกด้วย ใครไปภูเก็ตต้องแวะชิม 

 

หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,743 วันที่ 26 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564