ส่องงบฯ GLOCON ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ A&W ในไทย สาเหตุยุติกิจการ 

08 มี.ค. 2565 | 21:00 น.

เปิดข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์บริหารร้าน A&W ในประเทศไทย “โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน)” หรือ GLOCON ว่างบการเงินเป็นอย่างไร บอกได้ถึงสาเหตุว่าทำไมถึงเตรียมยุติการดำเนินกิจการ

จากกรณีที่ ฐานเศรษฐกิจ รายงานข่าว การเตรียมยุติการดำเนินกิจการ “เอแอนด์ดับบลิว” (A&W) ผู้ให้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่มบริการด่วนในไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 26 สาขา โดยมี บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOCON ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์บริหารร้านในประเทศไทย 

 

ซึ่งจากข้อมูล พบว่าประสบปัญหาผลประกอบการขาดทุน จากวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับการแข่งขันที่รุนแรง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป  ส่งผลให้ผลประกอบการธุรกิจร้านอาหาร A&W ในปี 2564 ขาดทุน 70 ล้านบาท 

 

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบข้อมูลที่น่าสนใจของ “โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ดังนี้ 

บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเมื่อ 30 กันยายน 2536 ด้วยทุนจดทะเบียน 3.64 พันล้านบาท มีคณะกรรมการ 9 คน ประกอบด้วย

  1. นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ
  2. นางทิพยสุดา ถาวรามร
  3. นางสาวศันสนีย์ วชิรพงศ์
  4. นายอิทธินันท์ สุวรรณจูฑะ
  5. นางสาวหลุยส์ เตชะอุบล
  6. นายชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน
  7. นางสาวอัจฉราวรรณ เจียรธนพร
  8. นางสุพร วัธนเวคิน
  9. นายนพพร ภัทรรุจี

 

และข้อมูลจาก www.settrade.com พบข้อมูลกรรมการ ชุดล่าสุดดังนี้ 

  1. นางทิพยสุดา ถาวรามร ประธานกรรมการ
  2. น.ส. หลุยส์ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร/กรรมการ
  3. นาย นพพร ภัทรรุจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร /กรรมการ
  4. นาง สุพร วัธนเวคิน รองประธานกรรมการ
  5. น.ส. อัจฉราวรรณ เจียรธนพร กรรมการ
  6. นางสาว ศันสนีย์ วชิรพงศ์ กรรมการ
  7. นาย อนันต์ สิริแสงทักษิณ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ
  8. นาย ชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ
  9. นาย อิทธินันท์ สุวรรณจูฑะ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ

 

สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ข้อมูล ณ 8 ธ.ค. 2564 มีดังนี้

  1. บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) (สํานักงานใหญ่) จำนวน 288,166,700 หุ้น (13.59%)
  2. .MAYBANK KIM ENG SECURITIES PTE. LTD. จำนวน 285,000,000 หุ้น (13.45%)
  3. นาย ภส วชิรพงศ์ จำนวน 173,727,900 หุ้น (8.20%)
  4. น.ส. วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม จำนวน 61,103,600  หุ้น (2.88%)
  5. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จํากัด จำนวน 33,010,175 หุ้น (1.56%)
  6. น.ส. หลุยส์ เตชะอุบล จำนวน 30,000,000 หุ้น (1.42%)
  7. นาย บูม เสริมสุวรรณ จำนวน 24,127,100 หุ้น (1.14%)
  8. นาย ปฏิญญา เทวอักษร จำนวน 23,144,408 หุ้น (1.09%)
  9. นาย วิบูลย์ รังนกใต้ จำนวน 21,855,700 หุ้น (1.03%)  
  10. นาย สุรินทร์ พลธนะวสิทธิ์ จำนวน 19,600,000 หุ้น (0.92%)

ส่วนงบสถานะทางการเงิน พบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค่าปีล่าสุดคือ 2563 พบว่าขาดทุน 13.8 ล้านบาท หลังจากที่ทำกำไรในปี 2562 จำนวน 15.6 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 2561 อย่างมาก ที่มีผลขาดทุนกว่า 314.6 ล้านบาท โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้ 

 

ปี 2561

  • สินทรัพย์รวม 1.46 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 130.4 ล้านบาท
  • รายได้รวม 439.2 ล้านบาท
  • รายจ่ายรวม 748.4 ล้านบาท
  • ขาดทุน 314.6 ล้านบาท 

 

ปี 2562

  • สินทรัพย์รวม 1.48 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 136.9 ล้านบาท
  • รายได้รวม 472.1 ล้านบาท
  • รายจ่ายรวม 454.5 ล้านบาท
  • กำไร 15.6 ล้านบาท

 

ปี 2563

  • สินทรัพย์รวม 1.48 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 146.3 ล้านบาท
  • รายได้รวม 484.4 ล้านบาท
  • รายจ่ายรวม 499.6 ล้านบาท
  • ขาดทุน13.8 ล้านบาท


ขณะที่ข้อมูลจากตลาด www.settrade.com พบข้อมูลงบการเงินปี 2561-2564 ดังนี้

 

ปี 2561

  • สินทรัพย์รวม 1.53 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 462.59 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1.18 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 280.9 ล้านบาท

 

ปี 2562

  • สินทรัพย์รวม 1.41 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 381.87 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1.19 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 59.73 ล้านบาท

 

ปี 2563

  • สินทรัพย์รวม 1.49 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 491.83 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1.56 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 58.71 ล้านบาท

 

ปี 2564

  • สินทรัพย์รวม 1.58 พันล้านบาท
  • หนี้สินรวม 698.7 ล้านบาท
  • รายได้รวม 1.93 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 152.43 ล้านบาท