“ภาวะเสียงแหบ” หลังติดโควิด-19 รุนแรงแค่ไหน รักษาอย่างไร

04 ก.ค. 2565 | 08:00 น.

“ภาวะเสียงแหบ” ที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื่้อโควิด-19 เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง มีความรุนแรงแค่ไหน ทำการรักษาอย่างไร

หลังหายจากการติดโควิด แน่นอนว่าสุขภาพของผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการผิดปกติของร่างกายในอวัยวะต่าง ๆ ได้  โดยหนึ่งในอาการที่แสดงคือ บางคนอาจมีเสียงพูดเปลี่ยนไป “ภาวะเสียงแหบ” เวลาเปล่งเสียงพูดจะเบากว่าก่อนป่วย  หรือเสียงพูดขาด ๆ หาย ๆ

เสียงพูดผิดปกติ เสียงแหบ หลังติดโควิด

  • การอักเสบรุนแรงของคอและกล่องเสียงในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19
  • ไอมาก ไอแรง ไอต่อเนื่องนาน ๆ
  • ขากเสมหะแรง  เค้นและขากเสมหะอยู่เรื่อยๆ
  • อาเจียน
  • อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
  • การทำงานของปอดที่ยังไม่ปกติ
  • ภาวะเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง

ความรุนแรงของภาวะเสียงแหบหลังหายจากโควิด

  • มีตั้งแต่เสียงพูดเปลี่ยนไปเล็กน้อยไปจนถึงแหบมากขนาดที่ทำให้คนรอบข้างฟังไม่เข้าใจ
  • ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยหรือหอบในขณะพูด

 

วิธีการรักษา

  • รักษาด้วยยา เช่น ยาแก้อักเสบ,  ยาลดบวม, ยาแก้ไอ, ยาละลายเสมหะ, ยาแก้อาเจียน, ยาขยายหลอดลม เป็นต้น
  • พักการใช้เสียง คือ ไม่พูดเยอะ ไม่พูดดัง ไม่พยายามเค้นเสียงพูด ไม่ร้องเพลง จนกว่าเสียงพูดจะกลับมาเป็นปกติ
  • กายภาพสายเสียง (Speech Therapy) ฝึกการออกเสียงที่ถูกต้องเพื่อช่วยพัฒนาความแข็งแรงของสายเสียง
  • กายภาพปอด เพื่อกระตุ้นการทำงานของปอด และช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น
  • การผ่าตัด ในกรณีที่มีเนื้องอกหรือแผลเป็นจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากบางกรณีเนื้องอกและแผลเป็นนั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา

 

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพ