14 วิธีหลอก 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' โทร-ส่งข้อความ แบบนี้ อย่าหลงเชื่อ!

01 เม.ย. 2565 | 03:50 น.

ข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตำรวจอัพเดท 14 วิธีหลอกของ 'โจรออนไลน์' พบยังคงใช้มุกเดิมๆ โทรมาหลอก ส่งข้อความมาหา ว่าติดหนี้บัตรเครดิต , มีพัสดุมาส่ง DHL ,หลอกลงทุนคริปโตฯ,พัวพันคดีศุลกากร และเปิดรับสมัครงานรายได้สูง ขณะล่าสุดแอดมินเพจดัง เจอมิจฉาชีพสูญเกือบ 9 หมื่น

1 เมษายน 2565 - PCT หรือ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า  ประเทศไทยพบการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 270% จากปี 2563 และในไทยพบการส่งข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 57% ซึ่งทาง Whoscall เผยว่า จากสถิติที่รวบรวมจากผู้ใช้งาน Whoscall ทั่วโลก พบวิธีหลอกลวงที่นักต้มตุ๋นใช้ล่อลวง ดังนี้ 

ระวัง 14 วิธีการหลอกของ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และมิจฉาชีพออนไลน์ 

  1. หลอกปล่อยกู้
  2. หลอกว่ามีงานให้ทำ
  3. หลอกว่ามีพัสดุมาส่ง
  4. หลอกขายตั๋วชมกีฬาให้
  5. หลอกนัดเจอเพื่อออกเดท
  6. หลอกแจ้งเตือนการโอนเงิน
  7. หลอกให้ลงทุนในหุ้นหรือคริปโต
  8. หลอกว่าไฟท์ตั๋วเครื่องบินหมดอายุ
  9. หลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯ อันตราย
  10. หลอกว่าพัสดุค้างอยู่ในด่านศุลกากร
  11. หลอกว่ายอดค่าบริการมือถือเกินกำหนด
  12. หลอกว่าเป็นเพื่อน/ครอบครัว ยืมเงิน ขอเงิน
  13. หลอกเรื่องการใช้งานบัตรเครติดที่ไม่ได้อนุญาต
  14. หลอกว่าพัวพันในคดี เช่น ฟอกเงิน ค่าปรับจราจร

14 วิธีหลอก 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' โทร-ส่งข้อความ แบบนี้ อย่าหลงเชื่อ!

อย่างไรก็ตาม ตำรวจได้แนะนำวิธีการตรวจสอบเบอร์แปลกที่โทรเข้ามา ว่าเป็นมิจฉาชีพ หรือ คอลเซ็นเตอร์ หรือ ไม่ ผ่าน แอป Whoscall โดย จะทำให้เรารู้ ว่าใครโทรมา
ต่อให้เราไม่ได้บันทึกเบอร์เขาไว้ โดยแอปจะปรากฎถึงเบอร์โทรที่เคยไปหลอกลวงคนอื่น แล้วมีการรีพอร์ทเอาไว้

 

คลิปดูรายละเอียด แอป Whoscall ตรวจสอบเบอร์คอลเซ็นเตอร์ 

แอดมินเพจกระทู้เด็ดพันทิป เจอเอง มิจฉาชีพหลอกโอนเงินสูญเกือบ 9 หมื่น 

ขณะล่าสุด แอดมินเพจกระทู้เด็ดพันทิป ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 2.05 ล้านคน โพสต์บอกเล่าประสบการณ์ หลังเจอมิจฉาชีพหลอกโอนเงินยอดเกือบ 9 หมื่นบาท พร้อมแนะนำวิธีการปฎิบัติการรวบรวมหลักฐานแจ้งความตำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์และบทเรียนแก่คนทั่วไปว่า ....

14 วิธีหลอก 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' โทร-ส่งข้อความ แบบนี้ อย่าหลงเชื่อ!
ผมแอดมินลาเต้นะครับ จากเหตุการณ์มิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ยอดเกือบแสนบาท
ยอดเงินทั้งหมดที่โอนไปที่มิจฉาชีพ คือ 89,474.07 บาทครับเป็นเงินทั้งหมดที่มีจากทุกบัญชีครับ ผมโง่เองคือส่วนใหญ่เลยครับ  แต่ส่วนนึงก็ไม่รู้ว่าข้อมูลส่วนตัวของเราหลุดไปขนาดนี้ได้ยังไง (เดี๋ยวพูดตรงนี้อีกทีครับ)

ก่อนอื่น ขอบคุณแฟนเพจทุกท่านที่แนะนำ รวมถึงอินบ็อกซ์แจ้งเบาะแสและส่งกำลังใจ 
เต้ขอเล่าวิธีการขั้นตอนก่อน ว่าหากคุณเจอแบบนี้แล้ว เราจะทำยังไงเป็นวิธีที่ตำรวจแนะนำเต้มาครับ (ใครเคยทำแบบไหนแล้วดำเนินคดีได้เร็ว แชร์กันได้ครับ)

ขอเล่าตรงนี้ก่อน เพราะนาทีนี้ น่าจะมีคนที่”ไม่รู้”โดนไปอีกหลายคนแล้ว

 

  • 1.แจ้งความออนไลน์ให้ไปแจ้งความออนไลน์ให้เรียบร้อย(เพื่อที่จะไปถึงสน.แล้วทำคดีเราเลย คุณตำรวจแนะนำแบบนี้เมื่อคืนนี้ คือรอให้เค้าเรียกเราตามลำดับ) อยู่ๆไปสน.เลย จะได้แค่ลงบันทึกประจำวันครับ ส่งหลักฐาน แจ้งข้อมูลไปก่อนให้ครบ ชื่อบัญชี เลขบัญชี ของมิจฉาชีพ เบอร์ที่โทรมา จำนวนคนในขบวนการที่มาคุยกับเรา
  • 2.แจ้งธนาคารปลายทางที่เราโอนไปของเต้มิจฉาชีพใช้ธนาคารกรุงเทพ ตำรวจและธนาคาร แนะนำให้เริ่มที่ปลายทางที่โอนไปก่อน เพราะเงินมันโยกย้ายไปบัญชีอื่นแล้ว แจ้งทุกธนาคารที่เราใช้โอนไป

*ในกรณีที่สายไม่ว่างเลย ให้ทำอีกวิธี คือการส่งอีเมลไปที่ธนาคารนั้นๆ พร้อมหลักฐานการโอน ข้อมูลบัญชีมิจฉาชีพ ทุกอย่างจะเร็วขึ้น ไม่ต้องรอสายรอกด1,2,3,4,5,0

  • 3.รวบรวมหลักฐานไว้ ไม่ว่าจะเป็น เวลาที่เรารับสาย, จำนวนคนที่เราคุยด้วย กี่คน, ชายหรือหญิง, เบอร์โทร ภาพทุกอย่างที่แคปได้, ของเต้มี VDOขณะสนทนาด้วย พอดีแอบถ่ายไว้เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ ว่ามีคนใช้บัญชีเราฟอกเงิน