dIA แนะภาคอุตสาหกรรมโรงงานนำระบบ AI ฝ่าวิกฤตโควิด

22 ก.พ. 2565 | 07:43 น.

ไดนามิค อินเทลลิเจ็นซ์ เอเซีย แนะภาคอุตสาหกรรมโรงงานนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI มาปรับใช้ หวังพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19

ผลจากวิกฤตโควิด -19 ในช่วงที่ผ่านมาสร้างผลกระทบไปทุกๆภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ที่ต้องปิดโรงงานเนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิดภายในโรงงาน หรือ ส่วนของผู้บริโภคซึ่งไม่กล้าที่จะใช้จ่ายเนื่องจากกังวัลความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในอนาคต

 

ดังนั้นการปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคระบาด โควิด -19 จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆภาคส่วนโดยเฉพาะภาคส่วนอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน ทำอย่างไรภาคการผลิตจึงจะสามารถพลิก วิกฤตให้เป็นโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของโรงงานไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ

นาย อนุวัฒน์ ชำนาญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไดนามิค อินเทลลิเจ็นซ์ เอเซีย จำกัด (dIA) ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านวิศวกรรม และปัญญาประดิษฐ์ (AI Computer Vision)รวมไปถึงการพัฒนาการทำงานแบบอัตโนมัติ(Process Automation)ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  หนึ่งในแนวทางการปรับตัวคือการนำ เทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร 

 

ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่จะสามารถช่วยพัฒนาองค์กรหรือธุรกิจให้โตขึ้นได้ อย่างนวัตกรรม Computer Vision หรือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเปลี่ยนกล้องวงจรปิดทั่วไปให้ เป็น AI Camera  โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์กล้องวงจรปิด ซึ่งตัว AI นั้นสามารถทำให้กล้องวงจรปิดทั่วไปเข้าใจ จดจำ วิเคราะห์ แยกแยะและประมวลผลข้อมูล จากสถานการณ์ต่างๆที่เห็น

 

ทั้งยังสามารถสั่งงานให้อุปกรณ์ในโรงงานสามารถทำงานได้แบบอัตโนมิติ ยกตัวอย่างเช่น การจดจำลูกค้าคนสำคัญ จดจำคนที่มีโอกาสเกิดความเสี่ยง หรือแม้แต่การตรวจจับวัตถุ การมอนิเตอร์พื้นที่ (Zoning control) ไปจนถึงการมอนิเตอร์ กระบวนการในไลน์การผลิต ซึ่งสามารถนำข้อมูลจากกล้อง AI มาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจได้ทั้งสิ้น
 

dIA แนะภาคอุตสาหกรรมโรงงานนำระบบ AI ฝ่าวิกฤตโควิด

นาย อนุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเทรนด์ AI ในปี 2022 ที่น่าสนใจนี้ หนึ่งในนวัตกรรมที่หลายโรงงานอุตสาหกรรมนำมาประยุกต์ใช้เเล้วได้ประสิทธิภาพในระดับที่ดี คือ dIA Face Recognition Smart Series ที่ประยุกต์ระบบ AI กับการจดจำใบหน้า และการสั่งงานอุปกรณ์อื่นๆแบบอัตโนมัติ ที่สามารถช่วยงาน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ (HR Administrative and Security) ทั้งในสำนักงาน หรือ โรงงาน นั้นคือการตรวจสอบเวลาพนักงานเข้าออกงาน ได้อย่างรวดเร็วใน ระดับ 10 คนต่อ 1 วินาที 

 

นอกจากนี้ยังช่วยลดความแออัดจากการต่อแถวเพื่อเข้าโรงงานเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ช่วยในเรื่องการเพิ่ม ประสิทธิภาพให้กับโรงงาน การรักษาสุขอนามัยในองค์กร ไปจนถึงเรื่องการลดต้นทุนค่าดูแลรักษา บัตรประจำตัวพนักงาน

 


นอกจากนวัตกรรมที่กล่าวไปข้างต้นเเล้ว ในปัจจุบันยังมีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี Computer vision เฉพาะทางในการทำงานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอีกมากมาย เช่น ระบบควบคุมดูแลการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม 

 

dIA แนะภาคอุตสาหกรรมโรงงานนำระบบ AI ฝ่าวิกฤตโควิด

"กรณีเครื่องจักรเกิดการชำรุดเกิดขึ้น ก็ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กำไรน้อยลง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องจักรที่ชำรุดนั้น เกิดจากตัวเครื่องจักรเองหรือเป็นเพราะคนที่ควบคุมเครื่องจักรปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบ ดังนั้นขั้นตอนการทำงานของตัว AI คือ จะทำการเฝ้าสังเกตุพนักงานในไลน์การผลิตแบบเรียลไทม์ 

 

และสามารถแจ้งเตือนในกรณีที่ตรวจเจอการทำงานที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรืออาจทำให้เกิดของเสียในการผลิต รวมถึงสามารถสรุปผลข้อมูลเพื่อช่วยชี้ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรงงานเห็นถึงวิธีการ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดของเสียจากการทำงาน"

 

นาย อนุวัฒน์ กล่าวว่า  เทรนด์นวัตกรรมเหล่านี้ สามารถนำไปช่วยผู้ประกอบการได้ตั้งแต่วิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม(SME) ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ในการเพิ่ม ประสิทธิภาพ การลดต้นทุน ไปจนถึงการเพิ่มยอดขาย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยวิถีใหม่ (New normal) ทัดเทียมนานาชาติ

 

นาย อนุวัฒน์ ชำนาญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไดนามิค อินเทลลิเจ็นซ์ เอเซีย จำกัด (dIA)