ผวา! โอมิครอนในไทยติดเชื้อพุ่ง 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิต 50 ราย

07 ก.พ. 2565 | 05:25 น.

ผวา โอมิครอนในไทยติดเชื้อพุ่ง 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิต 50 ราย เพราะอะไรอ่านครบจบที่นี่ หมอเฉลิมชัยรวบรวมสถิติจากทั่วโลกช่วงสองถึงสามเดือนเทียบ

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

วางใจจำนวนผู้ติดโควิดยังไม่ได้ แต่อาจจะพอเบาใจเรื่องจำนวนผู้เสียชีวิตได้ คาดติดเชื้อสูงสุดไม่น่าจะเกิน 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 รายต่อวัน ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น

 

คงต้องแยกสถานการณ์โควิด-19 (Covid-19) ออกเป็น 2 ประเด็นคือ เรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้ป่วยหนัก/เสียชีวิต

 

โดยเราทราบจากการเก็บข้อมูลสถิติต่างๆทั่วโลกในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีไวรัสโอมิครอน (Omicron) เป็นสายพันธุ์หลักว่า

 

  • โอมิครอนมีความสามารถในการแพร่ระบาดเร็วและง่ายกว่าเดลตา 4 เท่า จึงเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
     
  • โอมิครอนมีความรุนแรงในการก่อโรคและทำให้เสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา 3.5 เท่า จึงพบจำนวนผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตทั่วโลกในระลอกนี้น้อยกว่าในระลอกเดลตาที่ผ่านมา

 

  • เมื่อพิจารณาในระดับโลกจะพบว่า การติดเชื้อระลอกนี้ มีจำนวนที่สูงกว่าในระลอกของเดลต้าชัดเจน เช่น

 

สหรัฐอเมริกา

 

  • ติดเชื้อเฉลี่ย 800,000 รายต่อวัน 
  • ถ้าปรับจำนวนประชากรเทียบกับไทยแล้ว 
  • ไทยจะติด 1.7 แสนรายต่อวัน

 

อังกฤษ

 

  • ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 100,000 ราย
  • ปรับประชากรเทียบกับไทยแล้ว
  • ไทยจะติด 1 แสนรายต่อวัน

ญี่ปุ่น

 

  • ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 100,000 ราย
  • ปรับประชากรเทียบกับไทยแล้ว
  • ไทยจะติดเชื้อ 50,000 รายต่อวัน

 

  • สำหรับประเทศไทย จึงมีโอกาสที่จะพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่ 50,000 ราย ถึง 170,000 รายต่อวัน  แต่ตัวเลขน่าจะมาในทาง 50,000 รายของญี่ปุ่น

เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยใส่หน้ากากใกล้เคียงกัน ส่วนอังกฤษและสหรัฐฯใส่หน้ากากน้อยกว่า ส่วนอัตราความครอบคลุมฉีดวัคซีนถือว่าไม่ต่างกันมากนัก

 

  • 5) การเสียชีวิต

 

ญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิต 0.1% 
(92 ราย จากผู้ติดเชื้อ 94,431 ราย)
ส่วนไทยเสียชีวิต 0.2% 
(21 ราย จาก ผู้ติดเชื้อ 10,490 ราย)
ส่วนในระดับโลก เสียชีวิต 0.4% 
( 956 ราย จากผู้ติดเชื้อ 216,984 ราย)

 

  • พิจารณาสำหรับประเทศไทย อัตราผู้เสียชีวิตน้อยกว่าในระดับโลก แต่ยังสูงกว่าประเทศญี่ปุ่น

 

  • โดยขณะนี้ ไทยเสียชีวิตจากโอมิครอน น้อยกว่าเดลต้าประมาณ 5 เท่า (0.2% เทียบกับ 1.0%)

 

  • ระลอกที่ 3 ที่เกิดจากไวรัสเดลต้าเป็นหลัก ไทยพบว่า

 

ผู้ติดเชื้อสูงสุด จำนวน 23,418 ราย
(13สค.2564)

 

ผู้เสียชีวิตสูงสุด จำนวน 312 ราย
(18สค.2565)

 

สถานการณ์ขณะนั้น

 

ฉีดวัคซีน 22 ล้านโดส

 

เข็มหนึ่ง 17 ล้านโดส

 

เข็มสอง 5 ล้านโดส 

 

เข็มสาม 0.4 ล้านโดส

 

  • ระลอกที่ 4 จากไวรัสโอมิครอน เรามีอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงเป็นอย่างมากคือ

 

จำนวนสะสม  116 ล้านโดส

 

เข็มหนึ่ง 52 ล้านโดส

 

เข็มสอง 48 ล้านโดส

 

เข็มสาม 15 ล้านโดส

 

  • ดังนั้นตัวเลขคาดการณ์ (จะมีตัวแปรสำคัญ จากจำนวนวัคซีนที่เราฉีดเพิ่มขึ้นมาด้วย) โดยคำนวณจาก

 

ผู้ติดเชื้อสูงสุดต่อวัน 23,418 ราย ×4 เท่า จากความสามารถของโอมิครอน จะเป็น 93,672 ราย

 

ส่วนผู้เสียชีวิตสูงสุด 312 ราย หารด้วย 3.5 เท่า จะเหลือ 89 ราย

 

  • เมื่อประมวลตัวเลขดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด จึงพอจะสรุปได้ว่า

 

จำนวนผู้ติดเชื้อในระลอกที่สี่จากโอมิครอนของประเทศไทย เรายังไม่สามารถวางใจจำนวนผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งช่วงนี้ติดวันละ 10,000 ราย

 

เพราะเมื่อดูจากตัวเลขของวิชาการระดับโลก  ของประเทศหลักๆแล้ว ของเราน่าจะใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น เมื่อปรับจำนวนประชากรแล้ว คือติดเชื้อวันละไม่เกิน 50,000 ราย(ขณะนี้ญี่ปุ่นติดวันละ 100,000 ราย)

 

และจำนวนผู้เสียชีวิต ก็คงอยู่ในระดับ 0.1-0.2 % ของจำนวนผู้ติดเชื้อ ก็คือเสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 50 -100 ราย

 

ทั้งนี้มีตัวแปรที่สำคัญคือ

 

วินัยของประชาชนในการใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากเวลาอยู่ใกล้ชิดกัน

 

มาตรการผ่อนคลายของรัฐบาล ที่ไม่ผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไป

 

และการส่งสัญญาณต่อสาธารณะ ที่ต้องเหมาะสมถูกจังหวะเวลา เช่น โรคประจำถิ่น เป็นต้น

 

ก็จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้เสียชีวิต เป็นไปตามที่คาดการณ์นี้