"โอมิครอน" แพร่เชื้อเร็ว-ลอยในอากาศได้นานกว่าเดลตา

11 ธ.ค. 2564 | 06:11 น.

โอมิครอนแพร่เชื้อเร็ว และฟุ้งลอยในอากาศได้นานกว่าเดลตา แนะอยู่ในที่โล่ง หมอธีระวัฒน์ยันให้ฉีดวัคซีนโควิดเข้าผิวสร้างภูมิคุ้มกัน

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
จาก ยูทูป ดร John Campbell
พูดถึงข้อมูลตรงไปตรงมาเกี่ยวกับโอมิครอน (Omicron)
แพร่กระจายได้เร็วกว่า และการฟุ้งลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดลตาแน่นอน อยู่ที่โล่งจะดี (จะเกี่ยวหรือไม่กับการที่มีโคโรนา ประจำถิ่นที่เหมือนหวัดเข้ามาควบรวมอยู่ด้วย) หนีวัคซีนได้หมด
เป็นเหตุผลให้มีการติดเชื้อจำนวนทวีคูณขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากกว่าเดลต้าและภายในเวลาเป็นสัปดาห์จะเข้าไปเคียงคู่หรือเบียดเดลตา
 

คำถามที่ยังไม่มีใครตอบได้คือถ้ามีติดเชื้อเดลตากับโอมิครอนในคนเดียวกันจะเกิดอะไรขึ้น หรือกับไวรัสในตระกูลอื่น?
การติดเชื้อลุกลามได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ข้อมูลมีมาในระยะเกือบหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลแต่ที่ต้องการออกซิเจนหรืออาการหนักจะดูไม่มาก แต่ถ้าติดเชื้อคนจำนวนเป็น 100,000 หรือล้าน สัดส่วนที่ต้องเข้าโรงพยาบาลจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

โอมิครอนแพร่เชื้อ-ลอยในอากาศได้นานกว่าเดลตา
การฉีดวัคซีนแม้ดูไม่ได้ผลนักในการป้องกันการติด ต่อโอมิครอน แต่ถ้าบวกกับติดเชื้อตามธรรมชาติด้วยโอมิครอน และวัคซีน “เป็นที่หวังว่า” จะสามารถข้ามกลุ่มต่างๆของโควิดที่จะเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บรรยายสรุปว่าต้องมีการเตรียมการสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (Prepare for the worst) จาก youtube Dr.John Campbell
ดังนั้นกลับมาถึงประเทศไทยอาจจะเป็นการพูดครั้งที่ 100 
 

ถ้าต้องฉีดวัคซีนและวัคซีนไม่เก่งมากนักกับโอมิครอนแต่ยังดีกับเดลตา และต้องให้ภูมิคุ้มกันดีสูงอยู่ตลอดจนกระทั่งถึงต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำซากและในการฉีดแต่ละครั้งจะพ่วงผลข้างเคียงในคนโชคร้ายมาด้วย ทำไมไม่ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
และถ้าวัคซีนไม่ค่อยได้ผลมากกับการรักษาไม่มีการติดเชื้อเพิ่มไม่ให้เข้าโรงพยาบาล เป็นเรื่องจำเป็นที่สุดและเร่งด่วน ฟ้าทะลายโจรกระชายขาว ไอเวอร์เมคติน ฟลูออกซิทีน ถูกอย่างเหลือเชื่อเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่สั่งเข้ามา
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 11 ธันวาคม 2564 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น  4,079 ราย  
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,135,996 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 39 ราย หายป่วยเพิ่ม 7,302 ราย กำลังรักษา 53,455 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,062,827 ราย