รวมวิธี บัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ แต่ละธนาคาร รับเงินเยียวยาประกันสังคม

19 ก.ค. 2564 | 18:00 น.

รวมวิธี บัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ ของแต่ละธนาคาร เตรียมรับเงินเยียวยาประกันสังคม นายจ้างบุคคลธรรมดาและผู้ประกันตน"ประกันสังคม" ที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา แบบเข้าใจง่าย

กรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 เห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน"ประกันสังคม" รวมทั้งอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด โดยสำนักงานประกันสังคม จะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น 

รวมวิธี บัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ แต่ละธนาคาร รับเงินเยียวยาประกันสังคม

พร้อมเพย์ (PromptPay) คืออะไร

รวมวิธี บัตรประชาชนผูกพร้อมเพย์ แต่ละธนาคาร รับเงินเยียวยาประกันสังคม พร้อมเพย์ คือ บริการโอนเงินและรับเงินที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินสะดวกและง่ายขึ้น เพียงผูกบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีกับหมายเลขอ้างอิง (proxy ID) เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ

อยากลงทะเบียนพร้อมเพย์ ต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้ จะต้องมีบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขอ้างอิงใด เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน ในขณะที่หากต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีธนาคารอาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

การลงทะเบียนพร้อมเพย์ สามารถดำเนินการได้ที่ธนาคารทุกสาขา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารส่วนใหญ่ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาธนาคารด้วย เช่น ลงทะเบียนผ่าน mobile banking, internet banking, ตู้ ATM หรือ call center ซึ่งท่านสามารถศึกษาวิธีการและช่องทางการลงทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ขั้นตอนและช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของแต่ละธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพ(คลิกที่นี่)

ธนาคารกรุงไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารกสิกรไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(คลิกที่นี่)

ธนาคารทิสโก้(คลิกที่นี่)

ธนาคารไทยเครดิต(คลิกที่นี่)

ธนาคารไทยพาณิชย์(คลิกที่นี่)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(คลิกที่นี่)

ธนาคารยูโอบี(คลิกที่นี่)

ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(คลิกที่นี่)

ธนาคารออมสิน(คลิกที่นี่)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(คลิกที่นี่)

ธนาคารอิสลาม(คลิกที่นี่)

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาทั้งนายจ้างและผู้ประกันตนในครั้งนี้ เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล และตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 รวมถึงนายจ้างในกิจการเจ้าของคนเดียวที่มีชื่อระบุตามทะเบียนพาณิชย์

"ขอให้ท่านรีบดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนให้เรียบร้อย ส่วนนายจ้างที่มีสถานะนิติบุคคล สำนักประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลที่แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคมไว้"นางเธียรรัตน์ กล่าว

สำหรับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้ 

  • ลูกจ้างมาตรา 33 จ่าย 50% ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน ไม่เกิน 10,000 บาท 
  • นายจ้างมาตรา 33 จ่าย 3,000 บาทต่อคน ลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน 
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39,40 จ่ายรายละ 5,000 บาท 
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อจะได้รับ 5,000 บาท 
  • ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามการเยียวยาลูกจ้างมาตรา 33 และนายจ้างมาตรา 33 

ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ ที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท