เงินฝากเพื่อคนสูงวัยและมั่นคง

17 ก.ค. 2562 | 10:40 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ดอกเบี้ยขาลง ราคาหุ้นผันผวน ถ้าจะลงทุนช่วงนี้ก็ต้องกล้าๆหน่อย  เพราะขึ้นชื่อว่า High risk ก็ย่อมจะ High Return ด้วย แต่นั่นคงจะเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน แต่ไม่ใช่กลุ่มผู้สูงอายุแน่ๆ 
    
สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประชากรอยู่ในขณะนี้  ถ้าจะให้สบายใจก็เลือกฝากเงินกับสถาบันการเงินที่มั่นคงไปเลย จะได้ไม่ต้องมานั่งกังวลกับเงินที่จะเตรียมไว้ใช้ในวันเกษียณ 
ช่วงนี้จะเห็นว่า ธนาคารรัฐหลายแห่งทยอยออกผลิตภัณฑ์เงินฝาก ที่มาเจาะกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพราะอย่างที่บอกว่า เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่  มีอำนาจซื้อสูง  มีเงินออมมาก และหลายคนวางแผนรองรับชีวิตวัยเกษียณ  ซึ่งแหล่งเงินฝากไม่ใช่ว่าจะให้ผลตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องมั่นคงด้วย 
    
ธนาคารออมสินเป็นธนาคารแรกๆที่ออกมาเปิดตัวโครงการ “ ธนาคารผู้สูงวัย “ ตั้งแต่ปี 2560  เป็นการเจาะกลุ่มผู้สูงอายุ  ออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเฉพาะสำหรับผู้สูงวัย ทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าจะเป็น เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษผู้สูงวัย  เงินฝากเผื่อเรียกประชารัฐผู้สูงวัย  ซึ่งจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากทั่วไป ล่าสุดเปิดตัวเว็บไซต์ gsbseniorwow.com และแอพพลิเคชั่น GSB Senior Wow แหล่งรวมข้อมูลและบริการ สำหรับผู้สูงวัย Smart Senior อีกด้วย
  

เงินฝากเพื่อคนสูงวัยและมั่นคง  

ขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์หรือ ธอส. มีเงินฝากพิเศษ ที่เปิดกว้างรับผู้ฝากบุคคลธรรมดาทั่วไปไม่จำกัดอายุ แต่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเงินฝากมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.857 % ต่อปี ข้อดีของเงินฝากพิเศษเหล่านี้คือ จะเป็นบัญชีบุคคลธรรมดา ไม่เสียภาษี ณ ที่จ่าย ที่สำคัญคือผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์แบบเผื่อเรียกทั่วๆไป  ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงวัยที่อยากออมเงิน แบบที่ไม่มีความเสี่ยง
    
ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ล่าสุดเปิดตัว senior savings เพื่อรองรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เปิดให้คนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี เปิดบัญชีนี้ได้ เทียบกับแบงก์อื่นที่จะกำหนดให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี เปิดบัญชีเงินฝากสูงวัยได้
    
ใครจะเลือกแบงก์ไหน ชอบสีอะไร ก็ลองหาข้อมูลเปรียบเทียบดูนะคะ