คุมยา-บริการการแพทย์ สกัดค้ากำไรเกินควร

22 ม.ค. 2562 | 13:17 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

 

ยายา  
หลังจากปล่อยให้ยื้อกันมาพอสมควร เพื่อรับฟังข้อมูลความเห็นจากทุกฝ่ายในที่สุดวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้เวชภัณฑ์ยาและบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล เป็นสินค้าและบริการควบคุม โดยให้ตั้งอนุกรรมการที่มาจากตัวแทนทุกฝ่าย ทั้งสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการกำหนดราคายาและบริการการแพทย์

ที่ผ่านมามีการร้องเรียนของประชาชนจำนวนมากไปที่รัฐบาล ในการคิดค่าบริการ ค่ายา ค่าแพทย์ และบางรายการไม่มีฐานในการคิดคำนวณราคาชัดเจน แต่รวมยอดการรักษาพยาบาล บางครั้งผู้ป่วยต้องจ่ายเงินสูงถึง 2-3 แสนบาท โดยไม่มีการแยกรายละเอียดให้เห็น ทั้งค่าโรงพยาบาลเท่าไร ค่ายา ค่าตรวจรักษา รวมทั้งการคิดคำนวณเกิดจากฐานต้นทุนอย่างไร ซึ่งเป็นความสงสัยและค้างคาใจต่อการจ่ายเงินจำนวนสูงมากของประชาชนผู้รับการรักษามานาน

ประเด็นการคิดราคา ตั้งราคา ยาและบริการการแพทย์ ยังพันไปถึงธุรกิจต่อเนื่องอย่างประกันชีวิต ประกันวินาศภัย ที่ต้องรับภาระในการซื้อประกันให้กับลูกค้า โดยที่คิดแพงขึ้นและลูกค้าจำเป็นต้องไปจ่าย และทำให้ผู้บริโภค ประชาชน ต้องไปตัดลดสวัสดิการคุ้มครองตัวเองลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงตาม

[caption id="attachment_377829" align="aligncenter" width="500"] คุมยา-บริการการแพทย์ สกัดค้ากำไรเกินควร เพิ่มเพื่อน [/caption]

ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ได้มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการ ต้องแสดงค่าบริการแต่เป็นการกำหนดแบบเหมาจ่าย ไม่ได้มีการแยกรายละเอียดออกมาว่าเป็นค่าอะไรบ้าง เมื่อมีการควบคุม ทางคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้าและบริการหรือกกร. สามารถเข้าไปกำหนดรายละเอียดได้ โดยอาจให้กำหนดฐานราคา แสดงที่มาของราคาต่อต้นทุน มาร์จิน ให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือก โดยไม่มีความจำเป็นในการกำหนดราคาควบคุมสูงสุด ซึ่งเป็นมาตรการที่ตายตัวและสร้างความอึดอัดให้กับโรงพยาบาลเอกชนมากจนเกินไป

หลังจากนี้ต้องเป็นหน้าที่ของอนุกรรมการ ภายใต้ คณะกรรมการกกร.ที่จะตั้งขึ้นมา โดยมีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าหารือและกำหนดมาตรการที่เหมาะสม ให้มีความยืดหยุ่นสามารถปฏิบัติได้และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภคและร.พ.เอกชน และนอกจากการกำหนดมาตรการด้านยาเพื่อความเป็นธรรมแล้ว รัฐบาลยังต้องหามาตรการเพิ่ม อย่างการเปิดช่องให้ซื้อยานอก ร.พ. ฯลฯ เพื่อสร้างทางเลือกให้ประชาชนในการเข้ารับการรักษาที่หลากหลายมากขึ้น ปกป้องไม่ให้ใครมาค้ากำไรเกินควร

| บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3438 หน้า 17 ระหว่างวันที่ 24-26 ม.ค.2562
595959859