“เกษตรปลอดภัย” ช่วยเกษตรกรรายได้เพิ่ม 14 ล้าน

28 พ.ย. 2561 | 07:48 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ปิดทองหลังพระ อุดรธานี เข้าร่วม “เกษตรปลอดภัย” ช่วยเกษตรกรรายได้เพิ่ม 14 ล้าน เตรียมขยายแบรนด์ “ภูธารา” จากข้าวไปสู่สินค้าเกษตรและแปรรูปอื่น

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า โครงการ “เกษตรปลอดภัย” ในจังหวัดมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันเกิดกลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรปลอดภัยแล้ว 15 กลุ่ม ในภาคอีสานตอนบนตามเป้าหมาย ครอบคลุมอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำพู เลยและบึงกาฬ

IMG0442 ภายใต้โครงการดังกล่าวที่มุ่งผลิตอาหารปลอดภัยให้ได้อย่างกว้างขวาง บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ก็ได้เข้าร่วมด้วย โดยการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาผลิตข้าวและปลูกผักปลอดภัยเพื่อป้อนตลาดที่มีความต้องการสูง

นางหม่วย ดอนศรีโคตร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูธารา กล่าวว่า บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการปิดทองหลังพระ ที่เข้ามาพัฒนาต่อยอดอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้สามารถทำการเกษตรได้ทั้งปี นอกจากนี้ยังประสานงานให้หน่วยงานราชการมาให้ความรู้ สอนอาชีพด้านต่างๆตามความสนใจของเกษตรกร

บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม มีวิสาหกิจกลุ่มโรงสีข้าวร่วมกันผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อจำหน่ายในตลาดนัดเกษตรปลอดภัยซึ่งต่อมา นายวัฒนา พุฒิชาติ ได้เปิดนโยบายให้โรงพยาบาลเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย ทำให้กลุ่มสามารถส่งข้าวปลอดภัยจำหน่ายในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นความต้องการของโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ตลอดจนหน่วยทหาร จนคาดว่าในปีหน้าจะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 14 ล้านบาท และรายได้จากผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “ภูธารา” อีกกว่า 6 ล้านบาท

IMG0656 ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ยังได้เข้ามาให้ความรู้ทางการตลาดและพัฒนาแบรนด์ของข้าวในชื่อ  “ภูธารา” ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบด้วยภูเขาและลำธาร และผลความสำเร็จของข้าว “ภูธารา” ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรอื่นภายใต้แบรนด์ที่มีอยู่ อาทิ การแปรรูป ผักและผลไม้อื่นๆ เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยเชื่อมโยงความรู้ด้านการแปรรูปและออกแบบบรรจุภัณฑ์

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มเกษตรปลอดภัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน

“การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมีความยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามและตั้งใจของเกษตรกร ดังนั้นก็จะต้องหาตลาดให้เพียงพอเพื่อไม่ให้เกษตรกรหมดกำลังใจ ที่ผ่านมานับว่าประสบความสำเร็จ ทำให้โรงพยาบาล 20 แห่งเข้าร่วมจนผักไม่พอจะขาย จังหวัดก็ต้องไปเร่งเสริมด้านการผลิต โดยจะสนับสนุนโรงเรือนให้เกษตรกร 50 หลัง”

1542091709315 ในขณะเดียวกันจังหวัดจะขยายตลาดสู่ผู้บริโภคให้ได้อาหารปลอดภัย โดยจะเพิ่มการจัดตลาดเกษตรปลอดภัย จากตลาดร่มเขียวที่มีอยู่ในขณะนี้ ด้วยการร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำเปิดตลาดจริงใจ เป็นทางเลือกเพิ่มเติม

ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีได้จับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเอกชนกับกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้มีการทำความตกลงการค้ากัน ของผู้ประกอบการค้าปลีกและโรงแรมรวมสิบแห่ง เพื่อรับซื้อสินค้าเกษตรปลอดภัยจากกลุ่มเกษตรกร

595959859