พีบีไอซี จัดเลคเชอร์ซีรีส์ ดึงหน่วยงานระดับโลกถกปัญหาเกษตร

26 ก.ย. 2561 | 11:46 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พีบีไอซี)  จัดกิจกรรมเลคเชอร์ซีรีส์ ครั้งที่ 12 ในหัวข้อ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อถอดบทเรียนจากการร่วมแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวทางการรับมือปัญหาด้านเกษตรกรรม ความมั่นคงทางด้านอาหาร การจัดการน้ำ ด้วยวิธีการดั้งเดิมแบบภูมิปัญญาคนพื้นเมือง โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (HAII) พร้อมทั้งนักวิชาการด้านความมั่นคงทางอาหาร การจัดการทรัพยากรด้านเกษตรกรรม น้ำ และสิ่งแวดล้อม ทั้งจากไทยและอินเดีย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในปี 2562

บรรยากาศการประชุม (4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ วิศเวศวร คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในปัจจุบันการพัฒนาต่างๆ ล้วนอยู่ภายใต้กรอบของคำว่า “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (SDGs 17) ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ สำหรับสังคมไทยที่มีคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอยู่ในภาคเกษตรกรรม และมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นภาคส่วนที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชากร และสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ประสบภาวะความไม่มั่นคงของภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรการผลิต ทั้งเรื่องที่ดิน แรงงาน รวมถึงปัญหาด้านความแปรปรวนของสภาพอากาศซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำเกษตร ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างเป็นลูกโซ่ไปยังการผลิตอาหาร ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมและบริการ ดังนั้นการแก้ปัญหาภาคการเกษตร “อย่างยั่งยืน” จึงต้องมีการศึกษาที่มาของปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ เพื่อการรับมือกับปัญหาและวิธีการจัดการอย่างยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ สำหรับสังคมอินเดียที่เป็นประเทศที่มีภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง อีกทั้งอินเดียมีความได้เปรียบด้านความหลากหลายของสภาพอากาศและสภาพภูมิศาสตร์ จึงทําให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตามไปด้วยทั้งในด้านการเพาะปลูกพืชต่างๆ การปศุสัตว์ และการประมง ประกอบกับความสามารถด้านเทคโนโลยีในการผลิตและแปรรูปอาหารที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศได้อย่างพอเพียง และเป็นสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว คนอินเดียยังมีภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ใช้สำหรับการเพาะปลูก การจัดการน้ำ ที่ดิน และมีการพัฒนาองค์ความรู้เหล่านี้อย่างต่อเนื่องผ่านงานวิจัย การตั้งองค์กรเฉพาะทางที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ทำให้อินเดียเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และควรค่าอย่างยิ่งที่จะนำมาเป็นกรณีศึกษา สำหรับประเทศสังคมเกษตรกรรมเช่นเดียวกันอย่างไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ กล่าวเสริมว่า หนึ่งในประเทศที่มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสังคมเกษตรอย่างยั่งยืน และเป็นประเทศที่นำมาเป็นกรณีศึกษา และถอดบทเรียน ก็คือ ประเทศอินเดีย และด้วยพีบีไอซี ได้จัดการเรียนการสอนทั้ง 3 หลักสูตร ได้แก่ ไทยศึกษา จีนศึกษา และอินเดียศึกษา ที่มุ่งเน้นการศึกษาในบริเวณเฉพาะทั้งไทย จีน และอินเดีย ด้วยองค์ความรู้แบบบูรณาการทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เท่าทันกับบริบทสังคมในปัจจุบัน อีกทั้งในหลักสูตรอินเดียศึกษา มีความพยายามพัฒนาความร่วมมือต่างๆ ระหว่างไทยและอินเดียอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านการศึกษาผ่านการให้ทุนการศึกษาโดยนักธุรกิจอินเดีย เพื่อสนับสนุนให้คนไทยหันมาเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมอินเดียอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนผ่านการส่งบุคลากรชาวอินเดียมาเป็นผู้สอนภาษาและวัฒนธรรมของอินเดียโดยตรง เพื่อเติมเต็มการเรียนรู้ด้านอินเดียศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

บรรยากาศการประชุม (5) นอกจากนี้  พีบีไอซี ยังได้จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหาร ระดับระหว่างประเทศ โดยใช้แนวทางภูมิปัญญาชาวบ้านในประเทศอินเดีย อีกทั้งที่ปรึกษาสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (HAII) ร่วมแนะแนวทางการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ผ่านการพัฒนาสู่การเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้ผลในการพัฒนาด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดีย จากหลักสูตรอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย

ภาพประกอบ 06 ภาพประกอบ 05 ทั้งนี้ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พีบีไอซี) ได้จัดกิจกรรมเลคเชอร์ซีรีส์ ครั้งที่ 12 ในหัวข้อ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช ชั้น 9 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี  นักวิชาการ นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pbic.tu.ac.th เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/pbic.tu

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว