เปิดมุมมองกูรู 'ไอบีเอ็ม' บล็อกเชนเปลี่ยนโลก

17 ก.ย. 2561 | 07:06 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บล็อกเชน เทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรม ธุรกิจการค้า การลงทุน การเงิน บริการ ของโลกไปอย่างสิ้นเชิง โดยนอกจากจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำธุรกิจและบริการให้ดีขึ้น โปร่งใสมากขึ้นแล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปชันธุรกิจคนกลางที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไป ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "มีต้า ยาดาฟ" ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยไอบีเอ็มแห่งสิงคโปร์ และศูนย์นวัตกรรมบล็อกเชนไอบีเอ็ม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนถึงบทบาทไอบีเอ็มต่อบล็อกเชน และการพัฒนาการบล็อกเชนในไทย


'ไอบีเอ็ม' กับการพัฒนาบล็อกเชน

 

[caption id="attachment_317427" align="aligncenter" width="503"] มีต้า ยาดาฟ มีต้า ยาดาฟ[/caption]

เทคโนโลยีบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบิตคอยน์และคริปโตเคอร์เรนซีต่าง ๆ ไอบีเอ็มตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ต่าง ๆ ที่เทคโนโลยีบล็อกเชนจะนำมาสู่ธุรกิจ และได้เริ่มศึกษาการนำบล็อกเชนมาใช้ในธุรกิจในปี 2558 ต่อมาในปี 2559 ไอบีเอ็มได้ร่วมกับ Linux Foundation และองค์กรอื่น ๆ ในการพัฒนา Hyperledger ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันบล็อกเชนแบบ open development สำหรับองค์กรธุรกิจ และหลังจากนั้น 1 ปี ไอบีเอ็มจึงได้ก่อตั้งกลุ่มธุรกิจ "ไอบีเอ็ม บล็อกเชน" อย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน ไอบีเอ็มร่วมกับลูกค้าหลายร้อยรายในการพัฒนาโครงการบล็อกเชนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ภาครัฐ ซัพพลายเชน การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ไปจนถึงการค้าปลีก โดยไอบีเอ็มได้พัฒนาแพลตฟอร์มบล็อกเชนเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาโครงการด้านบล็อกเชนสู่การใช้งานจริงได้เร็วขึ้น ไอบีเอ็มถือเป็นบริษัทที่มีบล็อกเชนเน็ตเวิร์ก
ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและใช้งานจริงแล้วมากที่สุดในโลก


รูปแบบการนำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้
ปัจจุบัน ได้มีองค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมนำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การชำระเงินข้ามประเทศ (Cross-Border Payment) ซีแอลเอสกรุ๊ป (CLS) ผู้ให้บริการด้านการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติการเกี่ยวกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระดับโลก ได้ร่วมกับไอบีเอ็มในการพัฒนาบริการ Payment Netting Service ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ Maersk ผู้นำระดับโลกด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ได้จับมือกับไอบีเอ็มในการเปิดตัวแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่เชื่อมต่อระบบนิเวศของซัพพลายเชนของตน ล่าสุด ในปี 2561 ไอบีเอ็มยังได้ร่วมมือกับ Maersk ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม TradeLens เพื่อนำบล็อกเชนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยให้กับระบบซัพพลายเชนและชิปปิ้งทั่วโลก


CJNzydXG[19134]

ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) ในปี 2559 ห้าง Walmart ในประเทศจีน ได้ร่วมกับไอบีเอ็มในการนำบล็อกเชนมาใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น รายละเอียดของฟาร์มที่ผลิต อุณหภูมิการจัดเก็บ ข้อมูลขนส่ง วันหมดอายุ เป็นต้น เพื่อติดตามเนื้อหมูทั่วทั้งซัพพลายเชนจากฟาร์มสู่ผู้บริโภค และเพื่อให้สามารถติดตามที่มาของเนื้อหมูในกรณีที่เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร ต่อมาในปี 2560 บริษัทอาหารชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วย Dole, Driscoll’s, Golden State Foods, Kroger, McCormick and Company, McLane Company, Nestle, Tyson Foods, Unilever และ Walmart ยังได้ประกาศความร่วมมือกับไอบีเอ็มในการแสวงหาแนวทางใหม่ในการนำบล็อกเชนมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยของระบบซัพพลายเชนอาหาร โดยเฉพาะการตรวจสอบที่มาของอาหาร การระบุตัวตน (KYC) ธนาคารชั้นนำ 6 แห่งในแคนาดา ได้ร่วมมือกันสร้างบริการในการระบุตัวตน (Identity Service) ในโลกดิจิตอล ซึ่งลูกค้าของทางธนาคารสามารถใช้บริการนี้เพื่อเปิดบัญชีกับธุรกิจอื่น ๆ เช่น ผู้ให้บริการมือถือ หรือ ระบบสาธารณูปโภค ธนาคารต่าง ๆ ได้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่ออนุญาตให้ผู้อื่นสามารถใช้คีย์ในการระบุตัวตน (Identity Key)


ความพร้อมธุรกิจไทย
ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของอาเซียนในแง่ของการนำบล็อกเชนมาใช้กับธุรกิจ โดยในปี 2560 ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับไอบีเอ็มในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างระบบต้นแบบใช้รับรองเอกสารต้นฉบับ นอกจากนี้ ได้ทำการทดสอบบริการบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย และจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล และบจก.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง ร่วมพัฒนาบริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) เพื่อยกระดับการจัดการเอกสารหนังสือค้ำประกันแก่หน่วยงานผู้รับหนังสือค้ำประกัน และคู่ค้าผู้วางหนังสือค้ำประกัน


ibm-blockchain[19135]

ต่อมาในปี 2561 ธนาคารในไทย 14 แห่ง จับมือรัฐวิสาหกิจและองค์กรธุรกิจใหญ่ 7 แห่ง ภายใต้การนำของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมพัฒนา Thailand Blockchain Community Initiative ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมายกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์บนระบบบล็อกเชน สร้างโครงข่ายหนังสือค้ำประกันที่สะดวกปลอดภัยบนบล็อกเชนเป็นครั้งแรกของไทย นำระบบหนังสือค้ำประกันวงเงิน 1.35 ล้านล้านบาท สู่ยุคเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 100% ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างทดสอบภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (Regulatory Sandbox) เพื่อช่วยให้พัฒนาบริการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและภาคเศรษฐกิจของประเทศ และคาดว่าจะใช้ในปีนี้

ขณะที่ ในปี 2560 ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จของโครงการนำร่อง ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อบริหารกระบวนการจัดการเอกสารสัญญาต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัย การทำธุรกรรมมีความโปร่งใส ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยปัจจุบัน สถาบันการเงินและธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยยังได้ตระหนักถึงการนำบล็อกเชนเข้ามาเสริมศักยภาพระบบต่าง ๆ และได้เริ่มมีการทำ Proof of Value ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ และนำสู่การเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มเปิดระบบให้ใช้งานจริงได้ต่อไป


สัมภาษณ์ | หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,401 ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน 2561



e-book-1-503x62-7