สจล.ร่วมมือนิด้าแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรฟินเทค

12 ก.ย. 2561 | 15:21 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

สจล. เร่งแก้ปัญหา ไทบขาดบุคลากรฟินเทค จับมือ นิด้า เตรียมเปิด “หลักสูตรร่วม KMITL-NIDA Double Degree Program in Financial Engineering” ปริญญาต่อเนื่อง หลักสูตรนานาชาติ เร่งปั้น “วิศวกรการเงิน” ป้อนสู่ตลาดแรงงาน คาดเปิดภาคเรียนได้ในเดือนสิงหาคม 2562

ภาพประกอบข่าว (1) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล.เร่งพัฒนาและขยายหลักสูตรการศึกษา ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด สจล. ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ริเริ่มโครงการความร่วมมือด้านวิชาการ เตรียมเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมการเงิน” ซึ่งผสานองค์ความรู้ด้านวิศวกรรม และองค์ความรู้ด้านการเงินการธนาคาร โดยนำจุดเด่น และศักยภาพของแต่ละสถาบัน มาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปัจจุบัน ประเทศไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านฟินเทค (FinTech : Financial Technology) หรือเทคโนโลยีทางการเงิน ในขณะที่ตลาดมีความต้องการสูง หลักสูตร “วิศวกรรมการเงิน” จะเป็นหลักสูตรที่เร่งปั้นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร และคาดว่าการที่ประเทศมีบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในฟินเทคเพิ่มมากขึ้น จะช่วยบรรเทาปัญหาในวงการการเงินและธนาคาร ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ให้ตอบสนองเท่าทันสถานการณ์โลกได้

ภาพประกอบข่าว (5) ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า โครงการหลักสูตรร่วม KMITL-NIDA Double Degree Program in Financial Engineering มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่สองสถาบันได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรใหม่ขึ้นมา ปัจจุบัน ทั้งสองสถาบันได้มีความร่วมมือในระดับสากล และเครือข่ายทางวิชาการ อันสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาที่มุ่งเน้นในเชิงคุณค่า กับมหาวิทยาลัยทั้งใน และต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยนิด้าคาดว่า จะสามารถผลิตมหาบัณฑิต ที่มีศักยภาพที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นการสร้างผู้นำที่ สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย และสังคมโลก

โครงสร้างหลักสูตรเป็นแบบตรี ควบโท 4+1 จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทั้งหมด ระยะเวลาศึกษา 5 ปี หรือ 10 ภาคการศึกษาในระบบทวิภาค แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลา 4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษา และ 2. การศึกษาระดับปริญญาโท ระยะเวลา 1ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา ซึ่งผู้เข้าเรียนจะได้ศึกษารายวิชาทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน คณิตศาสตร์การเงิน การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง และรายวิชาทางวิศวกรรมการเงินที่ผสมผสานความรู้ในศาสตร์ที่กล่าวมา โดยคณาจารย์จาก สจล. และ นิด้า ร่วมกันสอนตั้งแต่ปีแรก พร้อมยังมีการผนวกหลักสูตรควบคู่ ไปกับการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ โดยหลักสูตรดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ จากสภาสถาบันของทั้งสองสถาบัน คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในช่วงต้นปี ผ่านระบบรับสมัครของสจล. และเปิดภาคเรียนในเดือนสิงหาคม 2562

ภาพประกอบข่าว (4) หลักสูตรวิศวกรรมการเงิน ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่ วมระหว่างสองสถาบันนี้ เป็นหลักสูตรที่ผนวก 3 ศาสตร์การเรียนรู้ไว้ด้วยกัน ได้แก่ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน (Economic and Finance Theory) วิชาทางวิศวกรรมศาสตร์ (Methods of Engineering)  และ เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Tools of mathematics) รวมถึง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเป็ นมืออาชีพตรงความต้องการของตลาด ในภาคธุรกิจการเงินที่มีความซั บซ้อน และสามารถคิดนวัตกรรมทางการเงิน ที่ใช้ความรู้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ร่วมกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความรู้ในเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และการเงิน เพื่อพัฒนาแบบจำลองต่างๆ ที่จะสามารถพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางการเงินใหม่ เพื่อรองรับความต้องการระดมทุน การลงทุน และการบริหารความเสี่ยงของทุกภาคส่วนที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้ ในการจัดการระบบการซื้อขายอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์(Algorithmic Trading) และการบริหารจัดการกองทุนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในโลกเทคโนโลยีทางการเงิน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว