ข้าพระบาท ทาสประชาชน : GPSC ซื้อ GLOW ใครได้ใครเสีย? ผูกขาดหรือแข่งขัน (1)

07 ก.ค. 2561 | 20:31 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

256645965 GPSC หรือ บริษัท โกล บอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ ยี่ จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 โดยบริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครือ เพื่อให้ GPSC เป็นเครื่องมือในกลุ่มของบริษัทในเครือ ปตท.สําหรับการประกอบธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าแข่งขันกับเอกชนในรูปแบบต่างๆ โดยปตท.มีสัดส่วนการลงทุนใน GPSC ทั้งในทางตรงและทางอ้อมรวมกันถึง 75% ดังนี้

บริษัท ปตท.ฯถือหุ้น 22.58%, PTTGC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) 22.73%, บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จํากัด 20.79%, และบริษัท ไทย ออยล์ จํากัด (มหาชน) 8.91% ด้วยเหตุนี้้จึงทําให้ บริษัท ปตท.ฯ มีอํานาจควบคุมและครอบงํากิจการของ GSPC อย่างเบ็ดเสร็จตามนัยของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 247 ที่บัญญัติว่า “บุุคคลใดซื้อหรือได้มาไม่ว่าด้วย ตนเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือกระทําการอื่นใด อันเป็นผลหรือจะเป็นผลให้ตนหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ในกิจการรวมกันถึง 25% ขึ้นไปของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น ให้ถือว่าเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ....”
TP6-3380-A การมีสัดส่วนการลงทุนเพียง 25% ก็ถือเป็นผู้มีอํานาจควบคุมและครอบงํากิจการแล้วตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว นอกจาก ปตท. และกลุ่มบริษัทในเครือจะเป็นผ้ถูือหุ้นใหญ่ที่สดุใน GPSC ดังกล่าวแล้ว ปตท.ยังได้ส่งผู้บริหารของตนมานั่งเป็นผ้บูริหารระดับสูงของ PTTGC, Thaioil, Thaioil Power ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ GPSC และยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารระดับสูงของ GPSC ในขณะเดียวกันก็ดํารงตําแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ปตท.ฯด้วย อันสะท้อนภาพให้เห็นชัดเจนว่า ปตท.ครอบงํากิจการของ GPSC เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างไร ทั้งนี้ดังปรากฏตามผังภาพที่แสดงให้เห็น ประกอบบทความนี้

GPSC ในการประกอบธุรกิจด้านไฟฟ้า กลับมิได้ดําเนินกิจการด้วยตนเอง หากแต่ทยอยเข้าซื้อหุ้นกิจการโรงไฟฟ้าจากบริษัทอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าราชบรุี, โรงไฟฟ้า IRPC, โรงไฟฟ้านวนคร, โรงไฟฟ้าบางปะอิน เป็นต้น โดยมิได้ดําเนินกิจการเพื่อพัฒนากิจการของตนแต่อย่างใด จนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน)หรือ GPSC ก็ได้มีมติให้ GPSC เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน) หรือ GLOW ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ รวมจํานวนทั้งสิ้น 1,010,976,033 หุ้น คิดเป็น 69.11% ของหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของGLOW ในราคาซื้อขายหุ้นละ 96.50 บาท คิดเป็นเงิน 97,559 ล้านบาท เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจแข่งขันด้านการผลิตไฟฟ้ากับเอกชนรายอื่นๆ ที่ดําเนินกิจการอยู่ก่อนตามนโยบายรัฐ

[caption id="attachment_296205" align="aligncenter" width="503"] นายเติมชัย บุนนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC นายเติมชัย บุนนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC[/caption]

นอกจากนี้ยังมีมติให้ทําคําเสนอเข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดใน GLOW เป็นจํานวนทั้งสิ้น 451,889,002 หุ้น คิดเป็น 30.89% ของหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GLOW ในราคาเดียวกัน เรียกว่าเข้าซื้อหุ้น GLOW 100%

การเข้าเทกโอเวอร์บริษัท โกลว์ฯ ครั้งนี้ของ GPSC ภายใต้การครอบงํากิจการโดย ปตท. จึงเป็นกรณีที่น่าศึกษาอย่างยิ่งว่าการกระทําการดังกล่าวของ ปตท.เป็นการดําเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปตท.หรือไม่, เป็นการควบรวมกิจการที่ทําให้ ปตท.เป็นผู้ผูกขาดและมีอํานาจเหนือตลาดและครอบงํากิจการไฟฟ้าด้วยหรือไม่
shutterstock_10842496280fd นอกจากที่ผูกขาดกิจการก๊าซธรรมชาติและนํ้ามันอยู่แต่เดิม และการควบรวมกิจการดังกล่าว ถือเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับกิจการพลังงาน และรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 หรือไม่ กรณีนี้จึงเป็นกรณีที่น่าศึกษาและมีข้อพิจารณาในหลายประเด็นสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนโดยทั่วไป ในที่สุดหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กํากับดูแลกิจการด้านพลังงาน คือ คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่มีอํานาจ หน้าที่ ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2560 จะมีแนวทางและวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างไร จะอนุญาตให้ ปตท. ดําเนินการดังกล่าวได้หรือไม่

ในมุมมองของผู้เขียนและในฐานะนักกฎหมายที่สนใจศึกษาเรื่องการผูกขาด การใช้อํานาจเหนือตลาด ที่ทําลายการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม จึงขอเสนอมุมมองและประเด็นข้อพิจารณาต่อผู้อ่านและสังคมธุรกิจทั้งหลาย รวมถึงหน่วยงานรัฐและองค์กรผู้กำกับกิจการด้านนี้ ได้ร่วมกันโปรดพิจารณาเพื่อหลักการที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม อันจะเกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และต่อประเทศชาติประชาชนโดยรวมต่อไป

| คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน
| โดย : ประพันธุ์ คูณมี
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3380 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ค.2561
e-book-1-503x62