ทางออกนอกตำรา : ปิดฉาก “ค่าต๋ง” แบงก์เลิกเป็นเสือนอนกิน?

02 เม.ย. 2561 | 11:44 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

585484
section3-row-2 ต้องปรบมือดังๆให้กับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ที่กล้าออกมาประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากประชาชนผู้ใช้บริการและเจ้าของบัญชี โดยเฉพาะบรรดาผู้นำ ทั้งธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารทหารไทย (TMB) ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ ที่กล้าตัดรายได้ “ค่าต๋ง” ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเสือนอนกินมาตลอดออกไปจากงบการเงินของตัวเอง

ความกล้าหาญในการตัดสินใจเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่คนในวงการ “ธนราชันย์” จะคิด จะลงมือทำการทำให้ การโอน จ่ายบิล เติมเงิน กดเงินไม่ใช้บัตรและข้ามธนาคาร ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอีกต่อไป เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของเราๆท่านๆที่เผชิญชะตากรรมที่ถูกสั่งให้จ่าย

เดิมคนไทยหลายคนอาจชินชา ไม่เคยรู้ ว่าคนที่มีเงินผ่านบัญชีไม่ว่าธนาคารไหนจะจ่ายตั้งแต่ 5-15,000 บาท โดยไม่มีทางเลือก มีแต่ปฏิบัติตามเท่านั้น
open_bank_mobile บัดนี้ แบงก์ใหญ่ออกมาประกาศยอมกลืนเลือดเฉือนรายได้ในส่วนนี้เพื่อหวังผลประโยชน์ที่ใหญ่กว่าในอนาคต ทั้งฐานลูกค้ารายใหม่ จำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น ฐานข้อมูลที่ทำให้แบงก์รู้ว่าไลฟ์สไตล์ของลูกค้าคืออะไร

ฟ้าใหม่ในวงการธนาคารได้เปิดขึ้นมาแล้ว ผมขอคารวะด้วยใจ...

ในฐานะที่เป็นคนทำข่าวด้านเศรษฐกิจ ผมต่อสู้เรียกร้องเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมจิปาถะบันเทิงของระบบธนาคารมาตั้งแต่เป็นวัยหนุ่ม จนแก่ หลายคราถูก”นายธนาคาร”ที่เป็นแหล่งข่าวดุ ด่า ว่าไม่เข้าใจระบบการเงิน และการลงทุนทางธุรกิจการเงิน ที่ต้องมีต้นทุนการดำเนินการ จิปาถะอ จะไปฟรี หรือไม่คิดเงินไม่ได้

แม้กระทั่งผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ด่าผมมาตลอดว่า ต่อสู้ เรียกร้อง เขียนข่าวในเรื่องนี้ อย่างไม่เข้าใจองค์รวมของระบบการทำธุรกิจธนาคาร อ้ายบากบั่น มันเป็นคนขวางคน...
แต่ผมยืนยันมาตลอดว่า ต้องลดค่าธรรมเนียมต่างๆที่คิดหยุมหยิมแฝงเร้นในเงื่อนไขมากมายลงมา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการชำระเงินที่ลงทุนกันมา 10-20 ปี จะมีต้นทุนเท่าเดิม ต้องลดลงแน่นอน เมื่อต้นทุนลดลงก็ต้องลดค่าบริการ ค่าต๋งให้ประชาชนผู้ฝากเงิน ผู้โอนเงินของเขา
Difference between capital market and money market and what are the main main institution or sources of capital market ผมและบรรดานักข่าวสายการเงินการธนาคารและสื่อเศรษฐกิจ ต่อสู้มาได้ถึงขนาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องออกมากำหนดให้ธนาคารต้องประกาศอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆให้ลุกค้าทราบ แต่ให้คิดได้โดยมีการแข่งขัน แต่ระบบการเงินเมืองไทยถึงแข่งขันก็บังคับทางอ้อม เพราะเงินเราอยู่ในมือเขา

ยุคหนึ่งผมจำได้ว่า ผมต่อสู้กับแบงก์ชาติ และสมาคมธนาคารไทยในเรื่อง “การสั่งจ่ายเช็ค” ที่มีระยะเวลาในการขึ้นเงิน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดต้องนานนับสัปดาห์ แต่รายการเงินมาทบกันทุกวัน เงินนั้นควรเป็นของผู้รับ มิใช่ปล่อยให้ ”นายธนาคาร” นำเงินก้อนดังกล่าวไปหารายได้ใน “มันนี่มาร์เก็ต” กินดอกเบี้ยกันสบายพุง แต่คนรับกว่าจะได้ต้องใช้เวลา 7-15 วัน

Bank-PNG-Picture ในที่สุดธนาคารชั้นนำของไทย ตอนนั้นคือ “กสิกรไทย-ไทยพาณิชย์-กรุงเทพ”ออกมาปฏิบัติระบบการสั่งจ่ายเช็กด้วย “เช็คควิก” สั่งจ่ายปุ๊บได้ปั๊บ และการตีเช็กต่างจังหวัด ข้ามเขตจะได้ใน 3-5 วัน
อีกครั้งที่เป็นข่าวดี เมื่อมีการประกาศลดค่าธรรมเนียมในการกดเงินของระบบธนาคารจากที่คิดทุกครั้ง ทุกบาท ทุกสตางค์ จากเจ้าของบัญชีที่มีการกดเงินของตัวเอง ครั้งละ 5 บาท ถ้าข้ามแบงก์ 25 บาทลงมาเป็น 5 ครั้งแรกฟรี หลังจากนั้นคิดเงิน

แต่ต่อไปจะฟรีถ้าหากมีการเบิกถอน โอนผ่านทางมือถือ หรือทางอิเลคทรอนิกส์...สาธุ...

หลายคนไม่เคยรู้ว่า ปฏิบัติการกินฟรีของระบบธนาคารที่อ้างว่าตัวเองลงทุนระบบคอมพิวเตอร์ มีต้นทุนการขนเงิน มีต้นทุนระบบตู้ ต้นทุนไฟฟ้า ต้นทุนออนไลน์นั้นมีจำนวนแค่ไหน เพราะตัวเองจ่ายโดยไม่รู้ตัวด้วยการตัดหรือหักจากบัญชีไป มิได้ควักเงินสดในกระเป๋า

ข้อมูลจากธปท.ระบุว่า รายได้ ค่าธรรมเนียมจากบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต และบริการอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในระบบธนาคารนั้นมีอยู่สูงถึง 16-17% ของรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมด รายได้ก้อนนี้คิดเป็น 15 % ของกำไร หรือตกประมาณปีละ 32,000 ล้านบาท

อ่านว่า สามหมื่นสองพันล้านบาท...เท่ากับว่า แต่ละวันธนาคารจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ผมเรียกว่าค่าต๋งนี่แหละวันละ 87.6 ล้านบาท เราทำอะไรที่จะมีรายได้ขนาดนี้บ้างครับ...

ผมจึงบอกว่าปฏิบัติการครั้งนี้เป็นความกล้าหาญ และต้องขอชื่นชมทุกฝ่ายที่ทำให้  “ภาระบนบ่าของประชาชน” จำนวนกว่า 70 ล้านคน ลดลง และแน่นนอนว่า นี่คือ “ประตูแรก” ของการเลิกคิดค่าธรรมเนียมชุดนี้ แต่จะยังมีอีกหลายระลอก
15-3353 กสิกรไทยบอกว่า การยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียม โอนเงิน จ่ายบิล และเติมเงิน ผ่อนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ จะส่งผลกระทบต่อกำไรระยะสั้น เพราะรายได้ค่าธรรมเนียมในปีนี้จะหายไป 9,000 ล้านบาท เมื่อคิดทอนเอาจากธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีกำไรสุทธิรวม 174,000 ล้านบาท มีรายได้ค่าธรรมเนียมสูงถึง 190,000 ล้านบาท เฉพาะค่าธรรมเนียมการโอนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และพร้อมเพย์ มีสัดส่วนอยู่ 7-10 % มีลูกค้าใช้บริการอยู่ประมาณ 30-40 ล้านราย คนเหล่านี้ต้องปรบมือให้นายธนาคารที่กล้าคิด กล้าทำ

หลายคนไม่เคยรู้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการคิดค่าธรรมเนียมจากผู้ฝากเงิน ผู้กู้เงินอยู่ 66-67 รายการ เก็บเงินจากเราไปในอัตราตั้งแต่ 5 บาท 10 บาท 100 บาท กระทั่งสูงสุดที่ 15,000 บาท

แม้แต่การรักษาบัญชีก็มีการเก็บเงินแถมถ้าไม่เคลื่อนไหวตั้งแต่ 1-2 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมด้วยการหักเงินจากบัญชีไปตั้งแต่ 40-100 บาท

ฟ้าใหม่ในวงการธนาคารพาณิชย์เปิดกว้างขึ้นมาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน...ไว้ฉบับหน้าผมจะพาไปดูว่ามีค่าอะไรที่เราต้องจ่ายบ้าง...โปรดรอคอยด้วยความระทึก...
..............
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว