วิชัน 2020 เครือซีพีเดินหน้า สู่องค์กรยั่งยืน

11 พ.ย. 2560 | 07:17 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

หลังจาก “ศุภชัย เจียรวนนท์” รับตำแหน่ง ประธานคณะผู้บริหารหรือซีอีโอ เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) แทน “ธนินท์ เจียรวนนท์” ผู้พ่อ ที่ขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานอาวุโส สิ่งที่ซีอีโอหนุ่มคนนี้ขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และเพิ่งประกาศเป้าหมายอย่างชัดเจนไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็คือ “การพัฒนาองค์กรเครือซีพีอย่างยั่งยืน” หรือ “CP Group Sustainability Goals 2020”

MP28-3312-1A ซีอีโอเครือซีพี ได้ใช้โอกาสที่ธุรกิจหลักของเครือ ตั้งแต่พี่ใหญ่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI หรือ กลุ่มดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ Dow Jones Sustainability Indices และสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ World Business Council For Sustainable Development (WBCSD) ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจที่ยั่งยืน ยังได้รายงานผลคะแนนความยั่งยืน ของเครือเจริญโภคภัณฑ์สูงถึง 78-82% นอกจากนี้ ซีพีเอฟ และทรู ยังได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน FTSE4Good Emerging Index จัดอันดับโดยฟุตซี่ รัสเซลล์ (FTSE Russell) ตอกยํ้าแนวทางยั่งยืนของเครือ ล่าสุดโครงการ CGR 2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย IOD ที่ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังให้คะแนน 5 ดาวกับซีพีเอฟ และทรู และ 4 ดาวกับ แม็คโคร

“ศุภชัย” ประกาศเลยว่า ปี 2562 จะขยายการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนให้ครอบคลุมเครือของซีพีในเอเชีย และจะขยายต่อไปให้ครอบคลุมทุกประเทศที่ซีพีเข้าไปลงทุนในที่สุด ซึ่งขณะนี้เครือซีพีเข้าไปลงทุนแล้วใน 20 ประเทศ
นั่นคือ “Sustainability Goals” ของเครือซีพี แต่การจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้ ต้องเริ่มที่ผู้นำระดับสูงขององค์กรก่อน โดยกำหนดเป้าหมาย วางแผน พร้อมมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ถ้าเราจะวางเป้าหมายให้เป็นระดับโลก ให้เป็นเวิลด์คลาส และมีการขับเคลื่อนให้ทันระดับโลก เราจะต้องทำอย่างไร นี่คือ จุดเริ่มต้นที่สำคัญ”

[caption id="attachment_228853" align="aligncenter" width="307"] ศุภชัย เจียรวนนท์ ศุภชัย เจียรวนนท์[/caption]

เครือซีพีเริ่มก้าวแรกแล้วตั้งแต่ปี 2559 โดย “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประกาศนโยบายความยั่งยืนฉบับแรก พร้อมทั้งมีการทบทวนปรัชญา โดยมีการเชิญบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สฯ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาวางแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรม ภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ ซึ่งหลักใหญ่ๆ คือ ไม่ว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์จะไปลงทุนที่ไหน จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศนั้นๆ ประโยชน์ของประชาชน หลังจากนั้น ค่อยมาดูที่ประโยชน์ขององค์กร
CP Excellence หรือ ระบบการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM : Total Qulity Management) ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานสำคัญ คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่หล่อหลอมเป็นเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ใน 3 ด้าน คือ Heart (ด้านเศรษฐกิจ) Health (ด้านสังคม) และ Home (ด้านสิ่งแวดล้อม) ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 เป้าหมาย ที่สอดคล้องกับข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Global Compact 17 ข้อ ซึ่งทั้งหมดคือการดำเนินธุรกิจอยู่บนหลักธรรมาภิบาล (Corporate Governance) ต่อผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder Engagement) ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่เครือซีพีมุ่งเน้น ได้แก่ 1.“Inclusive Growth” การลดการ สร้างความเลื่อมลํ้า สร้างศักยภาพในพื้นที่ห่างไกล 2. เน้นเรื่องการศึกษา และ 3. ซัพพลายเชน

MP28-3312-2A “ศุภชัย” มีแนวคิดด้านการลงทุนทางสังคม ด้วยการจัดตั้งกองทุน Social Impact Fund ซึ่งจะลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) จากทุนเริ่มต้น 2,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยยกระดับการสร้างคุณค่าทางสังคม สร้างความตระหนักรู้ กระจายความรู้ ขยายต่อจากเรื่องที่ซีพีเคยทำ แล้วตั้งเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น ด้วยการคิดต่างใส่นวัตกรรมเข้าไป

“ในนิยามของความยั่งยืน คือ ต้องคำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ผมอยากลงไปอีกว่า ความยั่งยืนจะต้องเป็นโมเดลของการดำเนินการทางธุรกิจ ที่สามารถทำได้ต่อเนื่อง และต้อง innovate ได้ต่อเนื่อง”

ส่วน 3 ธุรกิจหลัก อย่างซีพีเอฟ จากคะแนนความยั่งยืนที่สูงอยู่แล้ว ก็ยังคงรักษามาตรฐานและจะทำให้ได้คะแนนสูงมากขึ้นไปอีก ส่วนซีพีออลล์ มีเป้าสู่ปี 2563 ที่จะดำเนินการอีก 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย 2. การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ถุงพลาสติกเลิกได้เลิก ลดได้ลด หรือรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด 3. กระบวนการจัดการบุคลากรตามกรอบของยูเอ็น การดูแลความสุขทุกคนในระบบ และ 4. การยกความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสีย สำหรับทรู เป้าหมายภายในปี 2563 มีเป้าในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ที่ดีต่อสุขภาพให้ได้ 10% ของรายได้ใหม่ ทางด้านสังคม ต้องไปมีส่วนร่วมช่วยประชากรที่เปราะบาง ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 1 หมื่นคน และด้านสิ่งแวดล้อม ต้องลดสภาวะโลกร้อนให้ได้ 10%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,312 วันที่ 9 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-34