นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าปี 73 ยอดขายจะเพิ่มเป็น 2.45 แสนล้านบาท จากในปี 67 ที่ราว 1.36 แสนล้านบาท และเพิ่มกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้น 100% เป็น 24,500-28,000 ล้านบาท จากปี 67 ประมาณ 14,000 ล้านบาท
เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพจากท้องทะเล ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีและท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ของไทยยูเนี่ยน กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 ของบริษัทแบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก โดยมุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญเพื่อผลักดันการเติบโตของรายได้ กำไรขั้นต้น และ EBITDA
โดยการเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ รวมถึงการควบรวมกิจการ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 ใน 3 แกนหลัก ประกอบด้วย
ส่วนเงินลงทุนนั้น บริษัทได้เตรียมงบลงทุนไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาท/ปี เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและการซื้อกิจการ (M&A) ในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ภายใต้ บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะมีการทำดีลควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อสร้างยอดขายแตะ 500 ล้านดอลลาร์ รวมถึงในในกลุ่มธุรกิจ TU ก็มองหาโอกาสการซื้อกิจการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่แผนธุรกิจในปี 68 คาดว่าน่าจะไปในทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับปี 67 นี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องและภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งจะหนุนให้กำลังซื้อของผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมา รวมถึงบริษัทยังได้ปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของโลกที่ยังมีอยู่
"แนวโน้มผลประกอบการในช่วงไตรมาส 4/67 เราว่ายอดขายจะยังเติบโตได้ประมาณ 3-4% และอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) จะอยู่ที่ระดับ 18.5-19% มองว่ายังคงมีการขยายตัวได้ค่อนข้างดี และเชื่อว่าจากความต้องการบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจะหนุนในปี 68 มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนการขึ้นมานั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ มองว่าบริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษี เนื่องจากเรามีการจัดตั้งโรงงานผลิตในสหรัฐฯ"
นายพอล เฮอร์โฮลซ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และทรานส์ฟอร์เมชั่น บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 ที่ประกอบด้วย 3 แกนหลัก เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยโอกาสการเติบโตทั้งจากธุรกิจในปัจจุบัน และธุรกิจใหม่ๆ
รวมถึงการควบรวมกิจการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จในอีกหกปีข้างหน้า เราต้องวางรากฐานที่แข็งแกร่ง โดยจะดำเนินงานผ่าน 2 โปรเจกต์ทรานส์ฟอร์เมชั่นที่มีแผนงานที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ดังกล่าวและผลักดันให้ความมุ่งมั่นของบริษัทประสบความสำเร็จ
โดยบริษัทได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติสำคัญ 6 ประการ ที่จะเป็นรากฐานและเตรียมองค์กรให้พร้อมตามกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 ประกอบด้วย
ด้านโปรเจกต์ทรานส์ฟอร์เมชั่นภายใต้กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 ประกอบ 2 ด้วย โปรเจกต์สำคัญ ได้แก่
ซึ่งเป็นโครงการทรานส์ฟอร์เมชั่นของกลุ่มบริษัท มุ่งวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในระยะยาว บริษัทตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนเฉลี่ยต่อปีได้ 2,625 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 69 เป็นต้นไป ทั้งนี้ประมาณ 40% ของเงินส่วนนี้จะถูกนำกลับมาลงทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายธุรกิจต่อไป
โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างรูปแบบการดำเนินงานที่แข็งแกร่งสอดคล้องกับกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 สร้างขีดความสามารถด้านการจัดซื้อและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงยกระดับขีดความสามารถทางดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจ และเตรียมพร้อมสำหรับการเดินหน้าโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นอย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งมุ่งเน้นที่การเร่งการเติบโตในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก เป็นแผนการทรานส์ฟอร์มเมชั่นของกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ประมาณ 1,750 ล้านบาทต่อปี
สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ปี 70 เป็นต้นไป ซึ่งกุญแจสู่สำเร็จ คือ ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อตลาด รู้ลึก รู้จริงถึงความต้องการของลูกค้า ควบคู่กับการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและกระบวนการผลิต
ทั้งนี้ โปรเจกต์เทลวินด์จะมุ่งเน้นไปที่การเร่งขับเคลื่อนการเติบโตจากการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในปัจจุบัน บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะมุ่งสร้างการเติบโตจากการควบรวมกิจการ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้สามเท่าอยู่ที่ประมาณ 52,500 ล้านบาท ภายในปี 73
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โปรเจกต์ข้างต้น จะดำเนินการควบคู่ และสอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 และส่งเสริมการรวมแผนงานเป็นหนึ่งเดียวกันในอนาคต
"TU ได้เริ่มต้นดำเนินการต่างๆเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 73 รวมถึงโครงการทรานส์ฟอร์มเมชั่นทั้งสองโครงการ โดยมีการดำเนินการสำคัญๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมแห่งใหม่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การเพิ่มการลงทุนด้านการส่งเสริมการตลาดเพื่อคงความเป็นผู้นำแบรนด์อาหารทะเลแปรรูปชั้นนำของโลกหลากหลายแบรนด์ของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการผลิต การขยายทีมและยกระดับขีดความสามารถทางดิจิทัลของกลุ่มบริษัททั่วโลก เป็นต้น" นายพอล กล่าว
บล.พาย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ภาพรวมช่วงไตรมาส 4/67 คาดว่าจะเห็นรายได้กลับมาจากโตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงแต่ด้วยผลกระทบของค่าเงินบาทและปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าทำให้ทางบริษัทมีการปรับลดเป้าการเติบโตจาก 4-5% เป็น 3-4%
และเพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้เป็น 12.5-13% จากการมีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างบริษัท (รายละเอียดจะมีการให้ข้อมูลเพิ่มในวันจันทร์ที่ 11 พ.ย.) แต่ปรับกำไรขั้นต้นขึ้นเป็น 18.5-19% จาก 18-18.5% ทางฝ่ายจึงมีการปรับประมาณการกำไรปี 67 เล็กน้อยมาอยู่ที่ 5,208 ล้านบาท
สำหรับความเสี่ยงจากการที่บริษัทลูกของ TU ถูกฟ้องกรณีทำสัญญาค้ำประกันให้ Red Lobster มูลค่ากว่า 65 ล้านเหรียญฯ ทางผู้บริหารมองว่าจะต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี จึงจะได้ข้อสรุป ทำให้ระยะสั้นอาจจะเป็นปัจจัยกดดันได้
ทั้งนี้ TU มีกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ที่ 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และเติบโต 15% จากไตรมาสก่อน แต่ถ้าไม่รวมรายการพิเศษที่เป็นผลขาดทุนประมาณ 75 ล้านบาทจะมีกำไรปกติที่ระดับ 1,476 ล้านบาท ลดลง 2%จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 2%จากไตรมาสก่อน
รายได้ที่ 34,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ลดลง 1% จากไตรมาสก่อน ต่ำกว่าคาดเล็กน้อยเพราะธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตน้อยกว่าที่คาด (แต่ยังโตดีเมื่อเทียบกับปีก่อน) ส่วนธุรกิจอาหารแปรรูป (Ambient Seafood) ที่มีคำสั่งซื้อจากตลาดตะวันออกกลางเข้ามา แต่ธุรกิจอาหารแช่แข็ง (Frozen Seafood) ลดลงทั้งเมื่อเทียบกับปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้าจากผลกระทบของความต้องการที่ลดลงในตลาดสหรัฐฯ แม้รายได้จากธุรกิจอาหารสัตว์ (กุ้ง) จะเพิ่มขึ้นก็ตาม
กำไรขั้นต้นที่ 19.5% ดีขึ้นจาก 18.4% ในไตรมาส 3/67 และ 18.5% ในไตรมาส 2/67 ได้รับผลดีจากต้นทุนปลาทูน่าที่อ่อนตัวลง และการกลับรายการสินค้าคงเหลือ แต่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ 4,693 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และเติบโต 2% จากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นมากจากค่าใช้จ่ายในการตลาดและที่ปรึกษาในการปรับโครงสร้าง ทั้งนี้ การกลับรายการสินค้าคงเหลือและค่าที่ปรึกษามีมูลค่าใกล้เคียงกันที่ระดับ 200 ล้านบาท จึงทำให้ไม่กระทบกับกำไรจากการดำเนินงานแต่อย่างใด
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ 275 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54%จากไตรมาสก่อน และพลิกจากที่รับรู้ขาดทุน 179 ล้านบาทในไตรมาส 3/66 หลังไม่ต้องรวมส่วนแบ่งจาก Red Lobster เข้ามา (ไตรมาส 3/66 รับรู้ 490 ล้านบาท) ส่วนภาษีจ่ายที่ 208 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 54% จากไตรมาสก่อน แต่พลิกจากที่รับรู้รายได้ภาษี 140 ล้านบาทในปีก่อน
จากผลประกอบการที่ออกมา รวมถึงแนวโน้มในช่วงไตรมาส 4/67 คาดว่าจะเห็นรายได้กลับมาโตจากไตรมาสก่อน ทางฝ่ายจึงยังคงคำแนะนำซื้อ เช่นเดิมแต่ประเมินมูลค่าพื้นฐานได้ใหม่ที่ 17.6 บาท