แบงก์ชิงเค้กสินเชื่อบ้าน ดันตลาดสีรุ้ง 4,000 ล้าน

10 มิ.ย. 2566 | 05:01 น.

แบงก์รุกสินเชื่อบ้าน คาดกลุ่ม LGBTQ+ หนุนตลาดได้ 4,000 ล้านบาทจากยอดรวม 8 แสนล้านบาท เหตุมีกำลังซื้อสูง สศช. รับโครงสร้างประชากรเปลี่ยน LGBT ไทยสัดส่วน 5% แนวโน้มครัวเรือนไทยเป็นครอบครัวเล็ก เพศเดียวกันอยู่คนเดียว

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า กลุ่ม LGBTQ+ มีกำลังซื้อสูง มีการคาดการณ์ว่ากลุ่ม LGBTQ+ ทั่วโลกราว 500 ล้านคน อยู่ในแถบเอเชีย 288 ล้านคน และในไทยมีประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งนับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงิน มีความสามารถในการใช้จ่าย

ทั้งนี้ข้อมูลของเทอร์ร่า บีเคเคระบุว่า กลุ่ม LGBTQ+ มีรายได้มากกว่ากลุ่มสถานะชายหญิงเมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกัน โดยมีรายได้ 50,000-85,000 บาทต่อเดือน สัดส่วนมากกว่า 9% และมีรายได้มากกว่า 85,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป สัดส่วนมากกว่า 4% โดยมีรสนิยมเรียบหรูดูแพง เน้นแบรนด์และความน่าเชื่อถือเป็นหลักไม่เน้นตามเทรนด์เหมือนคนทั่วไป

ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า กลุ่ม LGBTQ+ เป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญสำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยธนาคารหลายแห่งเปิดรับพิจารณาการกู้ร่วมของ LGBTQ+ ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนตลาดอสังหาฯได้เป็นอย่างมาก

นายเอกสิทธิ์ พฤฒิพลากร ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT)เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กลุ่ม LGBTQ+ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งในสินเชื่อบ้านก็มีกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 5% หรือราว 4,000 ล้านบาทของยอดสินเชื่อบ้านรวมประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2566 สินเชื่อบ้านยังขยายตัวต่อเนื่อง

แบงก์ชิงเค้กสินเชื่อบ้าน ดันตลาดสีรุ้ง 4,000 ล้าน

ส่วนที่สำคัญพรรคก้าวไกลกำหนดที่จะพลักดันนโยบาย 100 วันแรกคือ “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ พ.ศ….หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่่งเป็นหนึ่งในหลายนโยบายของพรรคก้าวไกลได้กำหนดไทม์ไลน์ไว้

อย่างไรก็ตาม Pride Month ในเดือนมิถุนายนนี้ ก็มีส่วนส่งเสริมตลาดกลุ่ม LGBTQ+ เพราะเป็นกลุ่มมีกำลังซื้อ ดังนั้นตลาดสินเชื่อบ้านในครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ ขณะที่ผู้กู้ร่วมสามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งคู่ และยังเลือกขนาดบ้านที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้นและหลักประกันทางความรัก สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้นมีให้เลือกตามแต่ละสถาบันการเงิน ที่สำคัญต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันเดียวกัน

“กลุ่มนี้คาดหวังสินเชื่อ 1,600 ล้านบาทจากเป้าทั้งปีจะมียอดสินเชื่อคงค้างเป็น 1.2 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดสินเชื่ออยู่ที่ 1.08 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 11% จากปีก่อน”นายเอกสิทธิ์กล่าว

ขณะที่อีกหนึ่งธนาคารที่มาร่วมฉลอง Pride Month สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ คือ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัดภายใต้สินเชื่อบ้านกรุงศรีสำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันสามารถมาขอกู้ซื้อบ้านร่วมกัน เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หรือ มือสอง จากทุกโครงการอสังหาริมทรัพย์ ราคาตั้งแต่ 3 ล้านบาทได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม- 31 ธันวาคม 2566 หรือเมื่อวงเงินสินเชื่อในโครงการจะเต็ม 

สำหรับการขอกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันสำหรับคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันนั้นแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิมคือ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ แต่จะพิจารณาจากรายได้ ศักยภาพในการชำระคืนและเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 คนรวมถึงการตรวจสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์

ทั้งนี้ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยอายุ 27-65 ปี พนักงานประจำ อายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว) ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเมื่อรวมรายได้ของผู้กู้ร่วมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน

ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน,บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน โปรโมชันพิเศษฉลอง Pride Month  รับฟรี Starbucks card มูลค่า 2,000 บาท เฉพาะลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ “คู่เพื่อน” ที่จดจำนองและเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2566 โดยสงวนสิทธิ์จำกัดลูกค้า 10 คู่แรกที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน

แบงก์ชิงเค้กสินเชื่อบ้าน ดันตลาดสีรุ้ง 4,000 ล้าน

 นอกจากนั้นยังฟรีค่าธรรมเนียมสำรวจและประเมินราคาหลักประกัน มูลค่า 3,210บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และหากจดจำนองและเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่ 3 -6.99 ล้านบาท รับฟรี Smart Watch ยี่ห้อ Garmin รุ่น Venu 2 Plus 2 เรือน รวมมูลค่า 30,780 บาท เลือก Model ได้ตามที่กำหนด (จำกัด 10 คู่แรก) และหากจดจำนองและเบิกรับเงินกู้ตั้งแต่ 7 ล้านบาทขึ้นไป รับฟรี Smart Watch ยี่ห้อ Garmin รุ่น Fenix 7/7s Sapphire Solar  2 เรือน รวมมูลค่า 60,780 บาท เลือก Model ได้ตามที่กำหนด (จำกัด 10 คู่แรก)

ส่วนแหล่งข่าวจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส.ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงได้ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถกู้ร่วมกันได้แล้วตั้งแต่กลางปี 2565 เป็นต้นมา ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เช่นเดียวกับกรณี กู้ร่วมกับคู่สมรส พี่-น้อง และบิดา-มารดา

“ที่ผ่านมาธอส.ได้มีการแก้ไขระเบียบและออกแคมเปญ My Prideเมื่อกลางปีที่แล้วโดยกำหนดให้ทำสัญญาภายในสิ้นปี แต่ไม่ได้หมายความว่าแคมเปญดังกล่าวจะหมดไป โดยปัจจุบันลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการสินเชื่อกับธอส.ที่ยังคงมีอยู่หรืออาจจะเลือกอัตราดอกเบี้ยที่พอใจก็ได้” แหล่งข่าว กล่าว

 รายงานข่าวจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุถึงแผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2580) ว่า ในอนาคตนั้นโครงสร้างประชากรของไทย จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยพบว่า ยังมีครอบครัวในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ ครอบครัวข้ามรุ่น ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวเพศเดียวกัน โดยจากข้อมูลของ LGBT CAPITAL ปี 2562 ระบุว่า กลุ่มเพศทางเลือกในประชากรไทยที่่อายุุมากกว่า 15 ปี มีจำนวน 3.6 ล้านคน หรือมีสัดส่วนประมาณ 5% ของประชากรไทย 

ครอบครัวที่ไม่มีบุตรและอยู่คนเดียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อการเพิ่มอัตราการเกิดของประชากร และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ ขณะที่ทัศนคติในการดำเนินชีวิต และค่านิยมสมัยใหม่ ทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและรูปแบบที่่หลากหลายมากขึ้นจากในอดีตที่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวพ่อแม่ลูกกลายเป็นครอบครัวที่มีขนาดเล็กลงหรืออาจเป็นครัวเรือนคนเดียวมากขึ้น

ทั้งนี้โครงสร้างประชากรของไทยจากในอดีตที่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวพ่อแม่ลูก จะกลายเป็นครอบครัวที่มีขนาดเล็กลงหรืออาจเป็นครัวเรือนคนเดียว โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสในการเพิ่มอัตราการเกิดของประชากรในประเทศไทย  

ขณะเดียวกัน ยังส่งผลให้มีผู้สูงอายุุที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศหญิง เนื่องจากเพศหญิงมีอายุุคาดเฉลี่ยสูงกว่าเพศชายประกอบกับผู้สูงอายุุเพศหญิงยังพึ่งพิงรายได้จากบุตรเป็นหลักขณะที่ผู้ชายมีรายได้มาจากการทำงาน แต่ในอนาคตการที่จะหวังพึ่งการดููแลจากบุตรจะเป็นไปได้ยากขึ้น แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุุเพศหญิงจะเผชิญความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากกว่าเพศชาย

หน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,894 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566