"เงินฝากปลอดภาษี 2566" เทียบ 10 แบงก์ ใครจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุด

27 เม.ย. 2566 | 22:05 น.

อัพเดทดอกเบี้ย"เงินฝากประจำปลอดภาษี 2566" หลังแบงก์พาณิชย์พาเหรดขึ้นดอกเบี้ยล่าสุด ( เม.ย.66 ) เทียบ 10 ธนาคารพาณิชย์ แบงก์ไหนจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุด พร้อมเงื่อนไข ที่นี่

 

เงินฝากประจำปลอดภาษี :  เป็นการออมรูปแบบหนึ่งที่มีจุดเด่นคือ ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ดอกเบี้ยเงินฝาก (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของรายได้ดอกเบี้ย ) 

"ฐานเศรษฐกิจ" สำรวจบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 2566 หลังธนาคารพาณิชย์พาเหรดปรับขึ้นดอกเบี้ยล่าสุดในเดือนเมษายน 2566  โดยรวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ไทย 10 แห่ง ณ วันที่ 27 เมษายน 2566   พบว่าส่วนใหญ่จ่ายอัตราดอกเบี้ยระดับ 2.30-2.35% ต่อปี  

นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ่ายดอกเบี้ยสูงสุด 2.55% ต่อปี สำหรับฝากระยะเวลา 24 เดือน  เริ่มต้นฝากขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน  และระยะเวลาฝาก 36 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.35% ฝากสูงสุดไม่เกิน 16,000 บาทต่อเดือน  

ธนาคารไทยพาณิชย์ ระยะเวลาฝาก 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.20% (กรณีมีสมุดคู่ฝาก) และ 2.30% (กรณีไม่มีสมุดคู่ฝาก)  ส่วนระยะเวลาฝาก 36 เดือน  อัตราดอกเบี้ย 2.45% ( กรณีมีสมุดคู่ฝาก ) และดอกเบี้ย 2.55% (กรณีไม่มีสมุดคู่ฝาก )

ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ระยะเวลาฝาก 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.35% ต่อปี ส่วนระยะเวลาฝาก 36 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.45% ต่อปี ขณะที่ ธนาคารกรุงไทย ( KTB Zero Tax Max) จ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษี สำหรับระยะเวลาฝาก 24 เดือน และ  36 เดือน เท่ากันที่ 2.30% ต่อปี

รายละเอียดตามล่างนี้

"เงินฝากปลอดภาษี 2566" เทียบ 10 แบงก์ ใครจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุด

เงื่อนไข 

  • เปิดได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น ( รวมทุกธนาคาร ) 
  • ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท ( ยกเว้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ไทยพาณิชย์ , กสิกรไทย : ฝากขั้นต่ำ 500 บาท )
  • ต้องฝากสม่ำเสมอเท่ากันทุกเดือน  ( มีให้เลือก 24 เดือน , 36 เดือน ,48 เดือน และ  60 เดือน )
  • สูงสุดฝากที่ 25,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อรวมกันแล้วครบตามระยะการฝาก ต้องไม่เกิน 600,000 บาท 

 

  • ฝากไม่เกิน 3 เดือน ไม่ได้ดอกเบี้ย
  • ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ และหักภาษีดอกเบี้ย ณ ที่จ่าย
  • ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง ไม่สามารถฝากต่อได้ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ และหักภาษีดอกเบี้ย ณ ที่จ่าย