คลายล็อกดาวน์ ดันดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่ม

02 ต.ค. 2564 | 01:41 น.

ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นจากเกือบทุกองค์ประกอบ ตามการ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แนวโน้ม 3 เดือนข้างหนี้เพิ่มขึ้นเกือบทุกธุรกิจ โดยเฉพาะที่ไม่ใช่ภาคการผลิต ดัชนีแตะระดับ 50 ครั้งแรกรอบ 6 เดือน

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า  ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกันยายน 2564 ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นจาก 40.0 มาอยู่ที่ 42.6 จากการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้น ด้านต้นทุนที่ความเชื่อมั่นลดลงตามราคาน้ำมันและเหล็กที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน  

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ

ทั้งนี้ แม้ดัชนีฯรวม ยังต่ำกว่าระดับ 50 แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงและการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ บางส่วนตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 ส่งผลให้ดัชนีฯ ของเกือบทุกธุรกิจทั้งในภาค การผลิตและภาคที่มิใช่การผลิตปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มขนส่งสินค้าที่ดัชนีฯ กลับมาอยู่สูงกว่าระดับ 50 จากความเชื่อมั่นด้านการผลิตและบริการรวมทั้งด้านค้าสั่งซื้อที่ปรับดีขึ้นมาก

สำหรับแนวโน้มดัชนีฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าพบว่า  ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นจาก 46.8 มาอยู่ที่ 50.7 ตามการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบและเกือบทุกธุรกิจ โดยเฉพาะภาคที่มิใช่การผลิต ที่ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50 ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ซึ่งมาความเชื่อมั่นของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งผู้โดยสารและค้าปลีกที่ ปรับดีขึ้นมาก สอดรับแผนการเปิดประเทศในระยะข้างหน้า

องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของกลุ่มธุรกิจก่อสร้างและอสังหาฯ ยังอยู่ในระดับต่้า ส้าหรับธุรกิจส่วนใหญ่ในภาคการผลิต ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือหรือใกล้เคียงระดับ 50 น้าโดยกลุ่มการผลิตเคมี ปิโตรเลียม ยางและพลาสติก รวมถึงกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ความเชื่อมั่นดีขึ้นในทุกด้าน

 

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆพบว่า  ดัชนีความเชื่อมั่นด้านสภาพคล่องทั้งในปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงเผชิญกับภาวะสภาพคล่องตึงตัว สอดคล้องกับความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและต้นทุนในปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

องค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า

ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงเป็นข้อจ้ากัดอันดับแรกสำหรับรับการดำเนินธุรกิจในเดือนนี้ จากราคาน้ำมันและเหล็กที่กลับมาเพิ่มขึ้น ค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูงจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุนด้านสาธารณสุขตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นจาก  1.7%  ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ 1.8%