แบงก์ชาติ ชี้ พิษโควิด-19ฉุดเศรษฐกิจเดือนก.ค.หดตัว “ส่งออก บริโภค ลงทุน”

31 ส.ค. 2564 | 10:51 น.

ธปท.เตรียมทบทวนตัวเลขประมาณการจีดีพีใหม่สิ้นเดือนก.ย. ระบุต้องประเมินปัจจัยเสี่ยง “เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า-การระบาดในต่างประเทศ-ซัพพลายดิสรับชั่น”

นางสาวชญาวดี  ชัยอนันต์   ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แถลงเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม 2564 โดยระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนก.คได้รับผลกระทบกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดต่อเนื่องและรุนแรงกว่าเดือนมิ.ย. โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก หดตัว 5.3% เทียบเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 1.9%ซึ่งเป็นการปรับลดตามกำลังซื้อที่อ่อนแอและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น

แบงก์ชาติ ชี้ พิษโควิด-19ฉุดเศรษฐกิจเดือนก.ค.หดตัว  “ส่งออก บริโภค ลงทุน”

การจับจ่ายใช้สอยทุกหมวด เช่น หมวดสินค้าคงทน เป็นผลกระทบจากยอดขายยานยนต์ทุกประเภทที่ปรับลดลง  สอดคล้องความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงต่อเนื่อง  ,หมวดสินค้าไม่คงทนเป็นการปรับลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์การใช้จ่ายบัตรเครดิตลดลงแม้จะมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของรัฐ

ด้านตลาดแรงงานก็ยังสะท้อนความเปราะบาง เห็นได้จากจำนวนผู้ลงทะเบียนมาตรา 39 และ40 เพิ่มขึ้นมากสะท้อนผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ   ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นของครัวเรือนนอกภาคเกษตรเดือนนี้ลดลงค่อนข้างมาก สะท้อนการจ้างงานนอกภาคเกษตรได้รับผลกระทบ (ดัชนีนี้จะดูตั้งแต่รายได้ การจ้างงาน ภาระหนี้สินและความสามารถในการชำระหนี้)  ซึ่งสะท้อนตลาดแรงงานเปราะบาง

ส่วนเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน -3.8% ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งลดลงทั้งหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้าง  สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อ่อนแอลง   แต่ยังเห็นการนำเข้าสินค้า

นางสาวชญาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเดือนก.ค. เริ่มเห็นเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าบางประเทศชะลอลง จากผลของการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเห็นได้จากการบริโภคโดยยอดค้าปลีกติดลบ โดยจีนและมาเลเซียปรับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดที่เข้มขึ้น จะเห็นยอดค้าปลีกของ 2 ประเทศนี้เริ่มติดลบจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการใช้จ่ายของประเทศคู่ค้า  และภาคการผลิต กลุ่มประเทศที่มีการฉีดวัคซีนในระดับสูง หรือจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเรื่อยๆดัชนีภาคการผลิตอยู่จะอยู่เหนือ 50   ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีอัตราฉีดวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ  โดยส่งผลการส่งออกไทยเริ่มแผ่วลงมูลค่าของการส่งออก ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่  0.8% หลักมาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง  หรือขาดแคลนเซมิคอลดักเตอร์ และการส่งออกอาหารแปรรูปที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรงงาน  แต่การส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรที่ยัง เพิ่มต่อเนื่อง(ข้าว ยางพารา)  เหล็กและอิเล็กทรอนิกส์

แบงก์ชาติ ชี้ พิษโควิด-19ฉุดเศรษฐกิจเดือนก.ค.หดตัว  “ส่งออก บริโภค ลงทุน”

 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลง ตามภาวะอุปสงค์ โดยการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจาก supply disruption ชัดเจนขึ้น เช่น ยายนต์  ฮาร์ดดิสไดฟ์  อาหารและเครื่องดื่ม  วัสดุก่อสร้าง  ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐที่รวมเงินโอนยังมีบทบาทในการพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รายจ่ายภาครัฐประจำของรัฐบาลกลาง(ไม่รวมเงินโอน) 11.1% รายจ่ายลงทุนหดตัว 27.2% และรายจ่ายรัฐวิสาหกิจ หดตัว 5.2%

แบงก์ชาติ ชี้ พิษโควิด-19ฉุดเศรษฐกิจเดือนก.ค.หดตัว  “ส่งออก บริโภค ลงทุน”

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ  ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลลดลงเล็กน้อย 0.7พันล้านดอลลาร์จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐนั้น เงินบาทอ่อนค่าลงมากเกือบจะอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค โดยมาจากดอลลาร์แข็งค่าและการระบาดของโควิดในประเทศ  สำหรับเดือนส.ค.ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องจากการภาครัฐมีมาตรการคุมเข้มขึ้นและนักลงทุนมองว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าหลังจากกนง.มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 

แต่ช่วงปลายเดือนถึง 2-3วันนี้เงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็ว หลังจากคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการใช้วัคซีนไฟเซอร์ได้อย่างเต็มรูปแบบทำให้ตลาดมองว่าการฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆจะเร็วขึ้น คนมีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับประธานเฟดส่งสัญญาณไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว

  ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.45%ปรับลดลงจาก 1.25% หลักๆมาจากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่ทยอยหมดลง และมาตรการลดค่าไฟฟ้า   เช่นเดียวกับเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.14% ปรับลดลงจาก 0.52%จากมาตรการช่วยลดน้ำประปา

นางสาวชญาวดีกล่าวว่า สำหรับเดือนส.ค.กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลง และข้อมูลจากผู้ประกอบการพบว่า ภาคการผลิตในประเทศทรงๆ แต่ด้านการส่งออกเริ่มมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ  ,ภาคการค้าได้รับผลกระทบมากขึ้นจากเดือนที่แล้ว สินค้าอุปโภคบริโภคยอดขายทั้งรายเล็กและรายใหญ่ได้รับผลกระทบแล้ว รวมถึงภาคอสังหากำลังซื้อยังอ่อนแรง

          “ ภาพรวมเศรษฐกิจในกรณีฐานที่ธปท.มองไว้ในระดับ 0.7%แต่ยังมีปัจจัยอื่นกดดันซึ่งต้องประเมินความเสี่ยงแต่ละตัวเช่น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ซัพพลายดิสรับชั่น การระบาดในต่างประเทศ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)สิ้นเดือนก.ย.นี้จะมีประมาณการเศรษฐกิจใหม่”